วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การวิจัยชั้นเรียนแก้ไขปัญหานักศึกษาขาดความกระตือรือร้นในการเรียนแบบผสมผสาน (Blended Learning)

    การจัดการเรียนรู้หรือการเรียนการสอน แบบผสมผสาน (Blended Learning) มีรูปแบบและลักษณะของการผสมผสานได้หลากหลายลักษณะ เช่น ผสมผสานเทคนิคการสอน ผสมผสานช่วงระยะเวลาการสอน ผสมผสานรูปแบบเนื้อหา ผสมผสานเครื่องมือและช่องทางการเรียนรู้  ผสมผสานกิจกรรมการเรียนรู้  ผสมผสานแหล่งเรียนรู้  เป็นต้น

   อย่างไรก็ตาม การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานระหว่าง ชั้นเรียนปกติ (Traditional or Offline Classroom) และ ชั้นเรียนอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning or Online Classroom) ก็นับเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่มักนิยมใช้ในสถาบันระดับอุดมศึกษา ซึ่งหมายถึง มีกิจกรรมการเข้าชั้นเรียนตามตารางเรียนปกติ มีผู้สอนเข้าชั้นเรียนบรรยายสรุปเนื้อหา และมีกิจกรรมหรือเนื้อหาเสริมการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่งที่บริหารจัดการด้วย LMS ให้ผู้เรียนได้เรียนเสริม  แต่ปัญหาสำคัญที่ผู้สอนมักพบประการหนึ่ง (จากประสบการณ์การสอนโดยส่วนตัว) คือ ผู้เรียนมักขาดความกระตือรือร้นในการเรียน ไม่ศึกษาเนื้อหามาก่อนล่วงหน้า ไม่มีสมาธิในการเรียน นั่งฟังบรรยายโดยไม่กระตือรือร้นที่จะตอบคำถาม ไม่มีการโต้ตอบ ไม่กล้าแสดงออก  ไม่กล้าพูด ไม่กล้าสื่อสารในชั้นเรียน เป็นต้น
 
บรรยากาศขณะเรียนในชั้นเรียนปกติ (นักศึกษาตอบคำถาม)
    ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาพฤติกรรของผู้เรียนดังกล่าว ผู้สอนจึงได้ทดลองจัดกิจกรรมการเรียนรู้แนวใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการประยุกต์นำเอา Attendance Module หรือโมดูลกิจกรรมเช็คชื่อออนไลน์และให้คะแนน ซึ่งเป็น Module ที่ต้องติดตั้งเพิ่มให้กับ Moodle LMS

     โดยมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในขั้นเรียนปกติและชั้นเรียนอีเลิร์นนิ่ง ดังนี้
1. ผู้สอนกำหนดให้ผู้เรียนศึกษาหรืออ่านเนื้อหามาก่อนล่วงหน้าก่อนจะสอนในแต่ละบท
2. กำหนดกิจกรรมการเช็คชื่อและให้คะแนนในการตอบคำถาม ระหว่างเรียน ดังนี้ 


วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การประเมินพฤติกรรมด้านจิตพิสัย "มีวินัย มีจิตสาธารณะ และมีสัมมาคารวะ" ในระบบอีเลิร์นนิ่ง

 
     การจัดการการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่งที่บริหารจัดการด้วย Moodle LMS สามารถประยุกต์ใช้ในการสังเกตพฤติกรรมด้านจิตพิสัย โดยใช้กิจกรรม บันทึกความก้าวหน้า (Journal Module) สร้างกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้นักศึกษาแต่ละคนบันทึกพฤติกรรมที่แสดงออกซึ่งจิตพิสัยของตนเองที่ได้ปฏิบัติในแต่ละสัปดาห์ (ผู้สอนต้องเชื่อมั่นว่านักศึกษามีความซื่อสัตย์ในการบันทึก)  ตัวอย่างเช่น นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งคณะกำหนดให้มีพฤติกรรมที่ส่งเสริมด้านคุณธรรมจริยธรรม (เกณฑ์ สกอ. 2.8)  คือ "มีวินัย มีจิตสาธารณะ มีสัมมาคารวะ"

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

แนะนำเว็บไซต์: โครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย

     โครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย (One Tablet Per Child: OTPC) นับเป็นโครงการการในการส่งเสริมการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ เพื่อเป็นการลดช่องว่างทางการศึกษา โอกาสในการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้  โครงการดังกล่าวส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาผู้เรียนไปสู่ระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นจริงได้ ต้องอาศัยบทบาทของครูผู้สอน และผู้ปกครองที่จะต้องปรับตัวเป็นที่ปรึกษาในการเรียนรู้ให้แก่เด็กนักเรียน ดังนั้น ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะ (เทคนิคการสอน) ในการใช้เครื่อง Tablet สำหรับการเรียนการสอนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง อาจมากกว่าการมีอุปกรณ์แท็บเล็ตในโรงเรียน ซึ่งอาจไม่เกิดประโยชน์ใดๆ หากบุคลากรทางการศึกษา ขาดเจตคติที่ดี ขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดทักษะในการประยุกต์ใช้ Tablet อย่างถูกต้อง ผู้สนใจศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์  http://www.otpc.in.th

ThaiSmartEducation: เว็บไซต์จัดมหกรรมกิจกรรมปฏิรูปการศึกษาไทย



...เพื่อมุ่งให้เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอน เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ โดยนโยบายของรัฐมนตรีว่าการ (นายจาตุรนต์  ฉายแสง) จึงดำริให้มีการจัดมหกรรมการเรียนการสอนขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่วิธีการและแนวคิดใหม่ด้านการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เข้าประชุมสัมมนาและร่วมในกิจกรรมอื่นๆ ของมหกรรมได้แนวคิดและสามารถนำกลับไปปฏิบัติ ณ สถานศึกษา หรือหน่วยงานของตนได้ทันที  และสามารถสร้างเครือข่ายกับผู้เชี่ยวชาญที่นำเสนอวิธีการรวมทั้งกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมคนอื่นๆ เพื่อให้กลายเป็นประชาคมวิชาการที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ อันจะทำให้เกิดขึ้นได้อย่างถาวรและกว้างขวาง...
ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://www.thaismarteducation.com

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Facebook เครือข่ายสังคมออนไลน์อันดับ 1 ใน 10 กับการประยุกต์ใช้เพื่อการเรียนการสอน

 
 
       ปัจจุบันนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า "เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network)" เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้คนในยุคนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในวัยเด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนคนวัยทำงานทั่วไป ไม่เว้นแม้แต่ผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณอายุราชการแล้ว ที่หลายคนหันมาฝึกเล่น สมัครเป็นสมาชิกสังคมเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันต้องยกให้เว็บไซต์ Facebook (http://www.facebook.com) ที่เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผู้สมัครเป็นสมาชิกมากถึง 750 คน ครองตำแหน่งเครือข่ายสังคมออนไลน์อันดับ 1 มายาวนาน ตามมาด้วย Twitter (http://www.twitter.com) จำนวนสมาชิก 250 ล้านคน Linkedin (https://www.linkedin.com/) จำนวน 110 ล้านคน  ส่วน Google+ ก็กำลังไล่ตามมาติดๆ ขยับอันดับขึ้นมาเรื่อยๆ อยู่ในอันดับที่ 6 ด้วยยอดสมาชิก 65 ล้านคน

วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน: แนวทางการจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่งให้สำเร็จตามเป้าหมาย

      ผู้สอนที่มีประสบการณ์การจัดกาเรียนการสอนหรือการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่งหลายท่าน คงจะประสบปัญหาสำคัญประการหนึ่งคือ การที่ผู้เรียนไม่เข้าใช้ระบบอีเลิร์นนิ่ง มักใช้เวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิงหรือการสื่อสารส่วนบุคคลเป็นหลัก  เช่น การใช้ Facebook, Youtube เป็นต้น ซึ่งทำให้การลงทุนในการพัฒนารายวิชาสอนในระบบอีเลิร์นนิ่งไม่คุ้มค่า ส่งผลให้การลงทุนด้าน ICT ของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาไม่คุ้มทุน ไม่ส่งผลทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์แก่ผู้เรียนสูงขึ้น ผู้เรียนไม่เกิดทักษะการเรียนรู้หรือทักษะการสืบค้น 
     แนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหา คือ การใช้เทคนิคการใอนโดยเน้น  กิจกรรมการเรียนรู้เป็นฐาน (Activity-based Learning: ABL) มากกว่าการมุ่งสร้างหรือผลิตสื่อที่มีคุณสมบัติครบถ้วนด้านมัลติมีเดีย ซึ่งต้องใช้เวลาและความพยายามสูงในการพัฒนา และเมื่อพัฒนาจนประสบผลสำเร็จแล้ว ยังไม่สามารถควบคุมให้ผู้เรียนเข้าเรียนบทเรียนได้ ทำให้ไม่คุ้มทุนกับที่ลงมือลงแรงผลิตบทเรียน ทางเลือกในการจัดการเรียนการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่งก็คือ ผู้สอนค้นหาและเลือกสื่อจากอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสม โดยเฉพาะในสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Youtube  SlideShared   MIT Open Courseware เป็นต้น
        การเรียนโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน หรือ ABL เป็นการเรียนรู้ที่เน้นความสำคัญไปที่ ผู้เรียน เรียนผ่านประสบการณ์ ที่เรียกว่า Experiential Learning ซึ่งเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงมากในการส่งเสริมศักยภาพของบุคคล Individual Potential ที่จะพัฒนาไปได้ตลอดชีวิต..ผู้เรียนจะเรียนอย่างมีความสุข มีการพัฒนาไปด้วยความมั่นใจ และพึงพอใจ [ อ่านเพิ่มเติม...] ซึ่งนั่่นเป็นข้อดีของ ABL ที่สามารถนำมาใช้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เนื่องจากความสามารถของ LMS (Learning Management System) ซอฟต์แวร์บริหารจัดการระบบอีเลิร์นนิ่ง มีความสามารถในการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพอยู่แล้ว ดังภาพเป็นตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้มาตรฐานของ Moodle LMS


         ใน Moodle LMS มีกิจกรรมสำหรับจัดการเรียนรู้อยู่จำนวนมาก ตัวอย่างเช่น มอบหมายงานหรือการบ้าน (Assignment) บทเรียนมาตรฐาน SCORM แบบสำรวจ (Survey) กระดานเสวนา (Forum) อภิธานศัพท์ (Glossary)  แบบทดสอบ (Quiz)  เป็นต้น ซึ่งมากเพียงพอสำหรับผู้สอนในการนำมาใช้สร้างกิจกรรมการเรียนรู้  กำหนดเกณฑ์ประเมินผลและนำคะแนนจากการเข้าชั้นเรียนและทำกิจกรรมต่างๆ ที่ผู้สอนกำหนดขึ้นมาใช้ในการประเมินผลในรายวิชา ซึ่งผู้เรียนก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าทำกิจกรรมการเรียน แทนที่จะนำเวลาส่วนใหญ่ในการใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์มือถือไปกับเว็บสังคมเครือข่ายหรือสื่อสังคมออนไลน์ เป็นการบังคับกลายๆ ให้ผู้เรียนเข้าระบบอีเลิร์นนิ่ง ทำกิจกรรมการเรียน เพื่อที่จะได้มีคะแนนประเมินผลในรายวิชานั่นเอง อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่พึงต้องคำนึงถึงก็คือ ผู้สอนต้องประเมินกิจกรรม ให้ข้อเสนอแนะ (Comment) แก่ผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและทันเวลา จึงจะส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน
      นอกจากนั้น ผู้บริหารระบบ Moodle LMS ยังสามารถ Download Activities Module มาติดตั้งเสริม เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประเภทอื่นๆ ได้เพิ่มเติม โดย Download ได้จากลิงก์ https://moodle.org/plugins/browse.php?list=category&id=1  ซึ่งมีมากถึง 199 กิจกรรม

วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การสร้างแรงจูงใจผู้เรียนระบบอีเลิร์นนิ่งด้วยคะแนนจากการประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้

ภาพที่ 1 รายงานคะแนนในระบบอีเลิร์นนิ่งที่บริหารจัดการด้วย Moodle LMS
       การจัดการเรียนการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่งของหลายๆ สถาบันการศึกษาไม่ประสบความสำเร็จ เพราะสาเหตุหนึ่งที่สำคัญก็คือ ผู้เรียนไม่เข้าเรียนหรือทำกิจกรรมการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง (ไม่เข้าห้องเรียน) ซึ่งการจัดการเรียนการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่งโดยทั่วไปมักจะใช้ซอฟต์แวร์บริหารจัดการระบบการเรียนรู้ด้วยซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า LMS (Learning Management System)  เช่น Moodle,  Atutor,  Claroline, Sakai  และ อื่นๆ อีกมากมาย  ทั้งประเภทฟรีและเชิงพาณิชย์ ซึ่งมีความสามารถในการจัดการระบบสนับสนุนการเรียน เช่น จัดการรายวิชา ผู้สอน ผู้เรียน การลงทะเบียน  และมีความสามารถจัดการสร้างเนื้อหาบทเรียนและกิจกรรมการเรียนรู้ได้ เช่น สร้างเว็บเพจ  สร้างกิจกรรมการมอบหมายการบ้าน การสร้างแบบทดสอบ การสร้างกิจกรรมกระดานเสวนา (Forum) โดยแต่ละกิจกรรมสามารถกำหนดคะแนนเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ สามารถนำคะแนนมาใช้ร่วมกับการประเมินผลการเรียนในรายวิชาได้โดยสะดวก

วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การบูรณาการศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนรายวิชา การผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน

     การนำระบบประกันคุณภาพมาใช้ในวงการศึกษาปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้สอนในระดับอุดมศึกษามีหน้าที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การบูรณาการเนื้อหาด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ เข้ากับกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา จึงขอยกตัวอย่างกรณีศึกษาการบูรณาการดังกล่าวในรายวิชา 4112353 การผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน ซึ่งเป็นรายวิชาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (หลักสูตร ปี พ.ศ. 2551) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งจัดการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ที่ผ่าน โดยผู้สอนจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานในระบบชั้นเรียนปกติร่วมกับชั้นเรียนอีเลิร์นนิ่ง  จัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการกับเนื้อหาด้านศิลปวัฒนธรรมโดยการมอบหมายงาน (Assignment) ผ่านระบบอีเลิร์นนิ่ง

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

การใช้โมดูล Attendance เช็คชื่อออนไลน์ประเมินจิตพิสัยผู้เรียนในระบบอีเลิร์นนิ่ง

    การประเมินผลการเรียนรู้ นับเป็นองค์ประกอบสำคัญของการจัดการการเรียนรู้ ซึ่งในระบบอีเลิร์นนิ่งให้ความสำคัญถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งในด้านความสามารถของระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ หรือ LMS (Learning Management System)  โดยเฉพาะใน Moodle LMS (www.moodle.org) ซึ่งการประเมินผลในระบบอีเลิร์นนิ่งสามารถทำได้ทั้งการวัด ด้านสติปัญญา (Cognitive Domain) เช่น การใช้แบบทดสอบประเภทต่างๆ  ทั้งแบบตัวเลือก แบบถูกผิด แบบตอบคำถามออนไลน์ เป็นต้น  การวัดด้านทักษะ (Psychomotor Domain)  เช่น การวัดด้วยข้อสอบโดยการให้อธิบายขั้นตอนการปฏิบัติโดยละเอียด (อนุมานว่าผู้ตอบได้ ก็น่าจะสามารถปฏิบัติได้) การมอบหมายงานในลักษณะใบงานให้ปฏิบัติตามคำสั่ง แล้วประเมินความสำเร็จของชิ้นงานที่ได้ ซึ่งอาจมีข้อจำกัดอยู่บ้างในระบบอีเลิร์นนิ่งสำหรับการวัดทักษะ เนื่องจากผู้เรียนไม่ได้ปฏิบัติให้เห็น  ส่วน การวัดคะแนนจิตพิสัย (Affective Domain) ได้แก่การวัดลักษณะนิสัยของผู้เรียนในระบบอีเลิร์นนิ่ง ซึ่งควรเน้นพฤติกรรมที่แสดงออกอย่างชัดเจนซึ่งลักษณะนิสัยที่ดีของผู่้เรียน  เช่น  ความขยัน การตรงต่อเวลา การเอาใจใส่ในการเรียน ความรับผิดชอบทางการเรียน เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

การจัดสอบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Testing) ผ่านเครื่องมือในระบบแบบอีเลิร์นนิ่ง

การจัดการเรียนการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่งโดยใช้ LMS (Learning Management System) เช่น ซอฟต์แวร์  Moodle (www.moodle.org)  LMS เปิดเผยรหัส (Open Source) ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้ในสถาบันการศึกษาได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย มีข้อดีคือระบบได้จัดเตรียมโมดูลแบบทดสอบ (Quiz Module) เครื่องมือสำหรับการการบริหารจัดการข้อสอบและการจัดสอบ ตั้งแต่การสร้างคลังข้อสอบ (Item Bank) การสร้างแบบทดสอบประเภทต่างๆ การจัดสอบแบบออนไลน์ การตรวจข้อสอบอัตโนมัติ การรายงานผลการสอบ นอกจากนั้น โมดูลแบบทดสอบยังมีความสามารถในการวิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบได้อีกด้วย โดยเฉพาะแบบทดสอบประเภทหลายตัวเลือก (Choice)

ภาพที่ 1 ตัวอย่างข้อสอบที่สร้างในโมดูลแบบทดสอบ (Quiz Module)

 

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

e-Learning 3.0 การเรียนที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง (self-organised learning)

Evolution of the Web

      ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเว็บปัจจุบันในยุคเว็บ 3.0 (Semantic Web ช่วง ค.ศ. 2010-2020) ซึ่งเน้นการสื่อสาร 2 ทาง ผ่านความสะดวกบนเทคโนโลยีเว็บ การเสนอเนื้อเว็บเชิงความหมาย ค้นหาสารสนเทศในเว็บได้ตรงตามความต้องการอย่างรวดเร็วในทุกๆ สถานที่ สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และเสนอข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการคลิกหรือกดปุ่มเพียงไม่กี่ครั้งผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่
     จากความก้าวหน้าของเว็บในยุค 3.0 ดังกล่าว ส่งผลให้การจัดการเรียนรู้ในยุคนี้ ซึ่งเน้นการใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือและช่องทางการเรียนรู้ (ICT-based Learning :ICT-BL)  แนวโน้มการจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning System) ที่นำเสนอเนื้อหาสาระการเรียนรู้ในรูปแบบของสื่อมัลติมีเดียดิจิตอล  ใช้ซอฟต์แวร์ระบบจัดการการเรียนรู้ (Learning Management System: LMS) จึงจะต้องมีความสามารถผนวกรวมคุณลักษณะหรือสามารถเชื่อมโยงการจัดการเรียนรู้กับเครื่องมือของเว็บ 3.0 ได้อย่างลงตัว จึงจะสามารถสร้างความสนใจให้แก่ผู้เรียนให้จดจ่ออยู่ในระบบอีเลิร์นนิ่ง  สามารถสรุปลักษณะของอีเลิร์นนิ่งในยุคที่เรียกว่า e-Learning 3.0 ได้ดังนี้

วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ทรัพยากรการเรียนรู้ ICT-based for Learning จาก Thaicyberu: มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย

 
www.thaicyberu.go.th  มหาวิทยาลัยไชเบอร์ไทย กำกับดูแลโดย สกอ.  นับแหล่งเรียนรู้และติดตามความก้าวหน้าการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้และการจัดการศึกษา เผยแพร่ทั้งเอกสารประกอบการบรรยายและวิดีโอจากวิทยากรเชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากภายในประเทศไทยและต่างประเทศ  แหล่งเรียนรู้ในเว็บไซต์นี้ เหมาะสำหรับคณาจารย์ผู้สอนในยุคปัจจุบันและในอนาคต ที่จำเป็นต้องติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการเรียนรู้ เทคโนโลยีการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนในยุคใหม่ 
 
    นอกจากนั้น ใน Thaicyber ยังมีหลักสูตรและรายวิชาที่สามารถลงทะเบียนเรียนได้ เป็นการจัดการสอนในลักษณะหลักสูตรออนไลน์  ทั้งหลักสูตรระยะสั้น ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท รวมทั้งมีแหล่งเรียนรู้อื่นๆ สำหรับผู้สนใจการจัดการการเรียนรู้ในยุค ICT

วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ยูบิควิตัส เลิร์นนิ่ง (Ubiquituos Learing: u-Learning) การเรียนรู้ทุกแห่งหนในยุคเว็บ 3.0

      การเรียนรู้ทุกแห่งหน (Ubiquitous Learning) หรือ u-Learning หมายถึง การเรียนรู้มีทุกหนทุกแห่งตามที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลที่สามารถเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้ทั้งประเภทสายสัญญาณและไร้สายได้ในทุกหนทุกแห่ง โดยการเข้าถึงและแลกเปลี่ยนข้อมูลและเนื้อหาการเรียนรู้สามารถดำเนินการได้โดยใช้อุปกรณ์ประเภทเคลื่อนที่ สะดวกต่อการพกติดตามตัว เช่น Mobile Phone or Smart Phone, Tablet หรือ อาจเรียกว่าเป็นการเรียนรู้ได้ในสภาพแวดล้อมทุกแห่งหน (ubiquitous learning environment: ULE)  หรือเรียกว่า การเรียนรู้มีอยู่ทั่วไป (pervasive or omnipresent education or learning)  ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิด u-Learning ได้แก่ ความสะดวกของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่สามารถติดต่อสื่อสารได้ในทุกๆ ที่และทุกเวลา ทุกสถานการณ์ด้วยการเชื่อมต่อด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ติดตามตัวประสิทธิภาพสูง รวมทั้ง ความก้าวหน้าของเว็บในยุค 2.0 ที่สนับสนุนให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ 2 ทิศทางได้โดยสะดวก ไม่มีค่าใช้จ่าย ด้วยความก้าวหน้าของเว็บ 3.0  ที่เป็นเว็บที่ฉลาดมากยิ่งขึ้น สามารถนำเสนอสารสนเทศที่ตรงกับพฤติกรรมและความต้องการของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ภาระและเวลาของผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง

จากประสบการณ์การสอนและพัฒนาระบบอีเลิร์นนิ่งซึ่งบริหารจัดการการเรียนรู้ด้วย Moodle LMS (http://www.moodle.org) ที่เว็บไซต์ http://e-learning.yru.ac.th และเว็บไซต์ http://e-learning.yru.ac.th/eres  ซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และของคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา  (มหาวิทยาลัยฯ ได้นำระบบ Moodle มาทดลองใช้เป็นครั้งแรก และพัฒนามาจนถึงทุกวันนี้) รวมทั้งประสบการณ์ในการเป็นวิทยากรให้ความรู้และทักษะการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่ง พบว่า ผู้สอนที่ประสบความสำเร็จในระบบอีเลิร์นนิ่งจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการจัดการเรียนรู้ มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื้อง ที่สำคัญคือ ต้องมีเจตคติที่ดีและมีความรู้สึึกถึงความจำเป็น รู้สึกชอบที่จะปรับเปลี่ยนจากการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติ (Traditional Classroom) มาเป็นการจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง หรือ e-Learning Classroom or Virtual Learning Environment: VLE  และปัจจัยที่จำเป็นอย่างยิ่งก็คือ ผู้สอนต้องมีเวลาจัดการเรียนการสอนมากกว่าในชั้นเรียนปกติ

วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แนะนำวัตถุการเรียนรู้ (Learning Object: LO)

       วัตถุการเรียนรู้หรือบทเรียนการเรียนรู้ (Learning Object: LO) หมายถึง สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบสื่อดิจิตอลมัลติมีเดียที่ถูกสร้างขึ้นในลักษณะของวัตถุการเรียนรู้ที่มีองค์ประกอบครบถ้วนและสมบูรณ์สำหรับการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนโดยทั่วไปกำหนดไว้เพียง 1 วัตถุประสงค์การเรียนรู้ องค์ประกอบใน LO ได้แก่ รายการเนื้อหา (Content Items) แบบฝึกหัด (Practice Items) และแบบทดสอบสำหรับการประเมินผล (Assessment Items) ซึ่งคำว่า Learning Object เป็นคำที่กำหนดขึ้นโดยการให้เครดิตแก่ Wayne Hodgins [อ่านเพิ่มเติม...]
     สำหรับคำหรือ Technical Term อื่นๆ ที่ใช้เรียก Learning Object  ได้แก่  content objects, chunks, educational objects, information objects, intelligent objects, knowledge bits, knowledge objects, learning components, media objects, reusable curriculum components, nuggets, reusable information objects, reusable learning objects, testable reusable units of cognition, training components, and units of learning
    ประโยชน์ของการพัฒนา Learning Object คือ เพื่อสร้างมาตรฐานและเกิดความสะดวกในการแลกเปลี่ยนบทเรียนหรือวัตถุการเรียนรู้ในการเผยแพร่ใน LMS ต่างกันและการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reusable) การนำบทเรียนไปใช้อย่างอิสระที่มีองค์ประกอบพร้อมสำหรับการเรียนรู้ (Self-contained) นอกจากนั้น สะดวกในการผนวกรวมแต่ละ Learning Object ให้เป็นบทเรียน (Lesson) หรือเรียกว่า Aggregated และที่สำคัญแต่ละ Learning Object สามารถผนวกรวมสารสนเทศของบทเรียนที่เรียกว่า Metadata รวมไว้ใน Learning Object ทำให้สะดวกต่อการค้นหาและค้นคืนนำกลับมาใช้ได้ง่ายอีกด้วย



    ตัวอย่างของ Learning Object ของไทยที่มีผู้พัฒนาและเผยแพร่ไว้ ได้แก่

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ขอเชิญนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปเข้าร่วม "งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ปี 2556"


คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จะจัดงาน "มหกรรมวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2556" ส่วนภูมิภาพ ระหว่างวันที่ 18-20 สิงหาคม 2556 ณ บริเวณหอประชุมใหญ่และหอประชุมหลังเล็ก มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จ.ยะลา พบกับกิจกรรมนิทรรศการวิชาการจากหน่วยงานภายในและภายนอก ผลงานนักศึกษาและคณาจารย์ การแสดง Science Show และการประกวดแข่งขันด้านวิชาการหลากหลายประเภท โปรดติดตามรายละเอียดและกำหนดการได้ที่เว็บไซต์คณะวิทยาศาสตร์ฯ http://science.yru.ac.th

วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ขอเชิญผู้สนใจส่งผลงานและเข้าร่วมประชุมวิชาการ eLearn 2013


ขอเชิญผู้สนใจร่วมส่งผลงานประชุมวิชาการ  eLearn 2013 - The Tenth International Conference on eLearning for Knowledge-Based Society ในหัวข้อ "Theory and Pratice in eLearning, mLearning and Social Webs"  ระหว่างวันที่ 12-13 ธันวามคม 2556 นี้ ณ  Srisakdi Charmonman Institute of eLearning, Siam Technology College   อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://www.eLearningAP.com     และ
http://www.eLearn2013.com

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

20 อันดับแรกของ LMS ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุด


เว็บไซต์ http://www.edudemic.com/2012/10/the-20-best-learning-management-systems นำเสนอข้อมูลส่วนแบ่งทางการตลาดของระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ หรือ Learning Management System: LMS ไว้ โดย Moodle (http://www.moodle.org) ซึ่งเป็น LMS ประเภทซอฟต์แวร์เปิด (Open Source LMS) มีส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุด

วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การบริหารผู้บังคับบัญชาให้มีประสิทธิภาพ


เมื่อ วันที่ 10 กรกฎาคม 2556  เวลา 13.00-16.00 น. ได้มีโอกาสเข้าฟังการบรรยาย  เรื่อง  "ภาวะผู้นำกับการพัฒนาการศึกษาไทย"  ณ หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  จัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมีท่าน ศ.นพ.ดร. กระแส ชนะวงศ์  เป็นวิทยากรซึ่งมีชื่อเสียง (นายแพทย์รางวัลแมกไซไซ) เป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และเป็นผู้สร้างประโยชน์นานัปการแก่แผ่นดินไทย เป็นแบบอย่างที่ดีของผู้ประกอบวิชาชีพนายแพทย์ ผู้บริหาร นักการเมือง และที่สำคัญคือ เป็นแบบอย่างของครูที่ดีของศิษย์และเป็นต้นแบบของนักการศึกษาที่ดี 
        จากข้อคิดที่ได้มีประเด็นที่น่าสนใจนอกจากเรื่องของภาวะผู้นำ นอกจากภาวะผู้นำของผู้บริหารแล้ว ในฐานะที่เราเองเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ควรมีภาวะผู้นำในบทบาทของผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย เรียกว่า "การบริหารผู้บังคับบัญชา"  ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องเรียนรู้ พึงนำไปปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานในหน้าที่หรืออาชีพของเราประสบความสำเร็จ ผู้บริหารภาคภูมิใจ โดยท่านเสนอประเด็นการปฏิบัติตนของผุู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อเป็นผู้ชี้นำหรือบริหารจัดการผู้บังคับบัญชา ไว้หลายประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
    1. ฟังให้เป็น จับประเด็นให้ได้  หมายถึง การฟังผู้บังคับบัญชาอย่าฟังแค่ตามมารยาท แต่ฟังแล้วต้องจับประเด็นให้ได้ ไม่ว่าท่านจะพูดอ้อมค้อมอย่างไร สมมติผู้บังคับบัญชาเป็นผู้หญิง ซึ่งมีความละเอียดอ่อนมาก ท่านอาจจะกำลังแพ้ท้อง แต่อาจจะไม่พูดตรงว่าอยากให้เราไปซื้อมะขามหวานให้กิน แต่อาจจะพูดไปว่า “ที่เพชรบูรณ์ หรือที่ไหนนะที่มีมะขามอร่อย” .....คนเป็นผู้นำจะมีจินตนาการมากมาย อาจเหมือนคุนฟุ้งซ่านด้วยซ้ำ แต่ถ้าเราหัดฟังให้เป็น และสามารถจับประเด็นได้ เราจะสามารถเตรียมงานนำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาได้
    2.พูดให้เป็น มีประเด็นให้คิด  ต้องพูดให้สั้นและตรงประเด็นเพราะเราเป็นลูกน้อง ไม่มีสิทธิ์พูดยาวอ้อมค้อมไปมา วิธีพูดจะต้องเตรียมตัวให้ดี เพราะถ้าผู้บังคับบัญชาเตรียมตัวไม่ดีพอ อาจเป็นการสร้างความรำคาญใจ และทำให้บรรยากาศการทำงานเสีย

    3.ต้องมีศิลปะการทูต  หากนักการพูดพูด “Yes” ขอให้คิดว่าค่อนข้างดี แม้อาจจะไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าหากนักการฑูตคนนั้นพูด “N0” แสดงว่าคนๆ นั้นไม่ใช่นักการฑูตที่ดี
    ดังนั้น หากเราเป็นลูกน้อง ถึงแม้จะไม่เห็นด้วยกับเจ้านาย เพราะผู้บังคับบัญชาอาจมีเรื่องต้องคิดต้องทำมาก คิดอาจจะเกินบ้าง ขาดบ้าง เราต้องดูจังหวะแห่งการปฏิเสธให้เหมาะสม

    4.ต้องไม่เป็นคนมีปัญหา คนทุกคนล้วนมีประโยชน์ คำพังเพยบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า “รกคนดีกว่ารกหญ้า” เราต้องรู้จักหาทางทำในสิ่งที่บังเกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่ายเพราะทุกคนมีธรรมชาติที่เหมือนกันอย่างหนึ่งคือ หากได้รับการชมเชยจะทำให้ทำงานได้มากขึ้น

    5.ต้องรู้จักเสริมภาพพจน์ผู้บังคับบัญชา หากเราให้เครดิตยกย่องชมเชยแก่ผู้บังคับบัญชา อย่ากลัวว่าเราจะไม่ได้หน้า เพราะเครดิตทั้งหลายที่ให้แก่ผู้บังคับบัญชานั้น ย่อมล้นกลับมาหาเราเอง

    6.มองงานในแง่บวก มองโลกในแง่ดี  “There is always problem in every answer” ทุกคำตอบล้วนมีปัญหา งานทุกอย่างอาจมีปัญหาขัดข้อง แต่ขอให้เรามองโลกในแง่ดี มองในแง่บวก ถ้าได้ตัดสินใจร่วมกันแล้ว ต้องร่วมกันทำอย่างจริงจัง คนที่ไม่อยากทำงาน คือคนที่มีเค้าแห่งความไม่สำเร็จอยู่ในใจ

    7.ไม่ต้องทำงานเกินเวลาค่ำ แต่จงทำงานเช้าก่อนเวลา  การทำงานแต่เช้าก่อนเวลา แสดงถึงความกระตือรือร้นกระชุ่มกระชวย เสียสละ และร่างกายก็ยังสดชื่น แต่การทำงานเกินเวลาจนค่ำอาจแสดงถึงยังทำงานไม่เสร็จ หรือเรายังไม่ได้ทำอะไรอีกหลายอย่าง

    8.จงรักษาคำมั่นสัญญา หากได้ให้คำมั่นสัญญาไว้กับผู้บังคับบัญชาว่างานจะแล้วเสร็จภายใน 5 วันก็ต้องทำให้เสร็จ ถ้าไม่เสร็จ ต้องรีบบอกผู้บังคับบัญชาให้ทราบสาเหตุ มิฉะนั้นจะแสดงว่าเราไม่จริงจังกับงาน อย่าปล่อยให้งานค้างเติ่ง พอผู้บังคับบัญชาถามทีก็สะดุ้งที เพราะไม่มีคำตอบ ได้แต่ขอโทษ การขอโทษเรื่องเดิมบ่อยๆ ไม่ใช่สิ่งที่นำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าอย่างแน่นอน

    9.ต้องรู้จักจุดอ่อนผู้บังคับบัญชา  การศึกษาจุดอ่อนผู้บังคับบัญชา เพื่อไม่ให้จุดใต้ตำตอ ไปสร้างเรื่องให้เจ้านาย เกิดความรู้สึกเป็นปมด้อย อันจะกระทบถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างเรากับเจ้านาย 
    ท่านครับ ใครๆ ก็ชมท่าน แต่ถ้าหากท่านไปเรียนรามคำแหงเอาความรู้เพิ่มเติมเสียหน่อยก็จะดีนะครับ”“ท่านครับ ท่านดีไปทุกอย่างเลยครับ แต่ลูกชายคนเล็กท่านไม่ไหวเลย ถ้าท่านพัฒนาอบรมลูกท่านได้ ผมว่าท่านจะมีชื่อเสียงมากนะครับ”ก่อนที่เจ้านายจะมีชื่อเสียง ลูกน้องที่บังอาจนำเสนอ อาจจะได้ยินเสียงที่ไม่พึงปรารถนาจากเจ้านายเสียก่อน

    10.อย่าใกล้ชิดผู้บังคับบัญชาจนเกินไป มีคนขยายความว่า “ผู้บังคับบัญชาเหมือนดังพระอาทิตย์” เข้าใกล้เกินไปก็ถูกแผดเผาจนร้อน ห่างเกินไปก็ขาดแสงสว่างจนมือมิด
    อย่างไรก็ตาม ผู้ใต้บังคับบัญชาที่สามารถปฏิบัติงานและปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องได้ทั้ง 10 ข้อ  ก็น่าจะมีโอกาสถูกบริหารจากผู้ใต้บังคับบัญชาในอนาคตก็ได้ นั่นหมายถึง มีโอกาสเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้บริหารเนื่องจากมีความรู้ความสามารถในการบริหารคนและบริหารงานนั่นเอง
    อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://thethanika.blogspot.com/2010/09/10.html
http://www.yru.ac.th/web54/news/detail/1085/readnews-001085.html

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม

ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมประชุมวิชาการ "ครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 6" ระหว่างวันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2556 ณ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพฯ  หัวข้อการนำเสนอผลงานวิชาการครอบคลุมในสาขาต่างๆ ดังนี้
 
  สาขาวิชาครุศาสตร์เครื่องกล
  สาขาวิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า
  สาขาวิชาครุศาสตร์โยธา
  สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา
  สาขาวิชาบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา
  สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
  สาขาวิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม
  สาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

มาตรฐานอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning Standard)

การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง มีการกำหนดมาตรฐานไว้หลากหลายมาตรฐาน ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการนำมาใช้และแลกเปลี่ยนระหว่าง LMS (Learning Management System) มาตรฐานที่เผยแพร่และเป็นที่นิยมได้แก่ SCORM (Sharable Content Object Reference Model) ซึ่งสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=18851&Key=news15  ส่วนมาตรฐานอื่นๆ
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ดังต่อไปนี้

วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก http://ict-bl.blogspot.com

ดร.ศิริชัย นามบุรี
โทร. 084-1968099
       จากประสบการณ์การเรียนการสอนด้าน ICT ประสบการณ์วิจัยพัฒนาสื่่อการเรียนการสอน การวิจัยด้านการใช้ ICT เป็นฐานในการเรียนรู้ และความสนใจส่วนตัว ทำให้เกิดความคิดว่าน่าจะรวบรวมองค์ความรู้ สาระเรื่องราวต่างๆ นำเสนอผ่านเว็บบล็อก ซึ่งเป็นเครื่องมือในยุคเว็บ 2.0 เพื่อความสะดวกในการติดตามของผู้สนใจ ซี่งเดิมได้รวบรวมและเผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ http://www.e-learning108.info และ http://www.e-learing108.info/sirichai แต่ด้วยเวลาที่จำกัดและภารกิจการสอนที่เพิ่มขึ้น ทำให้ไม่มีเวลาในการดูแลและปรับปรุงเว็บไซต์ขนาดใหญ่ที่มีเนื้อหาและรายละเอียดจำนวนมาก (เดิมเน้นด้านอีเลิร์นนิ่งโดยเฉพาะ)
      สำหรับเครื่องมือในยุคเว็บ 2.0 ซึ่งมีอยู่หลากหลายประเภท และเว็บบล็อกก็เป็นเครื่องมือสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นทางการ มีช่วงเวลากำกับการนำเสนอและเผยแพร่ หากนำมาใช้กับเครื่องมือหรือบริการอื่นๆ ของ Google ก็น่าจะเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ ท่านที่สนใจนำเสนอเรื่องราวผ่านเว็บบล็อกนี้ สมัครสมาชิกมาได้ที่  sirichai.nbr@gmail.com  เพื่อเพิ่มเป็นผู้ร่วมเขียนบทความในเว็บบล็อกนี้ครับ ขอบคุณทุกท่านที่กรุณาติดตามผลงานมาโดยตลอด