วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ชมรมนักศึกษา: รูปแบบการบูรณาการการเรียนรู้ ประสบการณ์ในชั้นเรียนกับการบริการสังคม

 
ภาพเพิ่มเติม...
   บทบาทและหน้าที่ผู้สอนและหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนหรือการเรียนรู้ในปัจจุบัน นอกจาก มีหลักสูตรและผู้สอนดำเนินการสอนตามหลักสูตรเพื่อให้ได้ปริญญาบัตรแล้ว คำถามที่สำคัญก็คือ ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรแล้วทำอะไรได้บ้าง ทำอะไรเป็นบ้าง สามารถออกไปประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง ซึ่งในอนาคตบัณฑิตรุ่นใหม่ในยุค Thailand 4.0  มีทางเลือกที่จะประกอบอาชีพหลายๆ อย่างพร้อมกันได้ โดยอาศัยอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายในสังคมออนไลน์ต่างๆ รวมทั้งที่สำคัญที่สุดคือ ทักษะไอซีทีขั้นสูง ที่จะเลือกสร้างสรรค์และนำเสนอสาระหรือผลิตภัณฑ์ในโลกของอินเทอร์เน็ต ไม่ได้เป็นเพียงผู้ใช้เพียงฝ่ายเดียว แต่ควรเป็นผู้สร้างและสร้างมูลค่าจากโลกอินเทอร์เน็ตได้
    มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (http://www.yru.ac.th) ได้ปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ในทุกหลักสูตรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ปัจจุบัน โดยกำหนดลักษณะบัณฑิตต้องเป็นบัณฑิต "นักปฏิบัติมืออาชีพ" ที่ต้องแสดงพฤติกรรมการปฏิบัติได้ ผสมผสานทั้ง Soft Skill (ทักษะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 เช่น ภาษาอังกฤษ ทักษะไอซีที และ Hard Skill ในศาสตร์ที่เรียน) สำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาของสาขาคอมพิวเตอร์ (ค.บ. 5 ปี) ใช้กลไกการพัฒนาผ่านการดำเนินงานของทีมในลักษณะของการตั้งเป็นชมรม คือ "ชมรมคอมพิวเตอร์จิตอาสา" (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม http://yrucomputer.blogspot.com/?m=0 ) เพื่อให้นักศึกษาและสมาชิกในชมรม ได้ลงมือปฏิบัติจริง ให้ทุกคนมีโอกาสเรียนรู้ทักษะนุ่ม (Soft Skill) เพื่อสร้างโอกาสในการทำงานในอนาคต เช่น ทักษะการติดต่อสื่อสาร ทักษะการนำเสนอ ทักษะการใช้ไอซีทีประยุกต์การทำงานจริง ทักษะวิเคราะห์ สังเคราะห์ การสรุปความ ซึ่งเกิดจากการนำไปใช้ในสถานการณ์ชีวิตจริง
      ในระหว่างวันที่ 21-22 ธันวาคม 2559  สมาชิกและผู้นำชมรมส่วนหนึ่ง จำนวน 20 คน ให้นักศึกษามีโอกาสเข้าร่วม "งานมหกรรมการแสดงผลงานด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่อเสริมพลังเยาวชนที่เสี่ยงต่อการค้ามนุษย์ในประเทศไทย" จัดขึ้น ณ ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จัดโดย สภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชน ในพระราชูปถัมภ์ หรือ สอ.ดย. (http://www.dordek.org) ร่วมกับบริษัทไมโครซอฟท์ ประเทศไทย และภาคีเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน พะเยา ภูเก็ต ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ซี่งได้ร่วมกันดำเนินงานมาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2559 จัดกิจกรรมร่วมกันมาตามลำดับ ชมรมคอมพิวเตอร์จิตอาสา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้รับมอบหมายเป็นองค์กรขับเคลื่อนกิจกรรมในพื้นที่จังหวัดยะลา ตั้งแต่จัดอบรมปฏิบัติการการพัฒนาครูต้นแบบเพื่อถ่ายทอดความรู้การใช้ซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์สร้างสื่อรณรงค์การต่อต้านการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาวาระของชาติ การพัฒนานักเรียนและนักศึกษาในพื้นที่ รวมทั้งการนำผลงานที่ได้ร่วมมหกรรมพัฒนาผลงานด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในครั้งนี้ด้วย โดยนำผลงานโปสเตอร์และแผ่นพับรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์ที่ผ่านการคัดเลือก ร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลงาน ร่วมเสวนาถึงผลการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
รับโล่เกียรติยศในนามมหาวิทยาลัย
ราชภัฏยะลา ที่สนับสนุนการพัฒนา
เยาวชนร่วมกับ สอ.ดย. และไมโครซอฟท์
ประเทศไทย รวมทั้งร่วมกับเครือข่ายภาคีการ
การพัฒนาด้านไอซีทีให้แก่เยาวชน
จากทั่วประเทศ

    ผลการเข้าร่วมกิจกรรมนอกห้องเรียนในครั้งนี้ ทำให้นักศึกษาเกิดทักษะการทำงานในสถานการณ์จริง ได้รับประสบการณ์ตรง โดยการบูรณาการระหว่างความรู้และทักษะที่ได้จากการเรียนรู้ในใช้เรียน มาปรับประยุกต์ใช้ในการทำงานในระหว่างเรียน ที่สำคัญมากๆ คือการสร้างเครือข่ายการทำงาน ซึ่งเหล่านี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นของ การเรียนรู้ร่วมกับการทำงาน (Work Integrated Learning: WIL)  โดยใช้สถานการณ์ที่เป็นเหตุการณ์ (Event) เป็นกรณีศึกษา ฝึกให้นักศึกษาทำงานเป็นทีม ทำงานเชิงระบบ วางแผน (Plan: P) ลงมือปฏิบัติ (Do: D) ประเมินผล (Check: C) และนำไปปรับกระบวนการทำงาน (Action: A) ในโอกาสต่อไป
     อย่างไรก็ตาม บทบาทของอาจารย์ผู้สอนหรืออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ต้องนำนักศึกษาออกนอกห้องเรียนให้มากที่สุด จัดหรือสร้าง หรือหาโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมนอกชั้นเรียน ถอดบทเรียนโดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ นำไปประยุกต์ใช้ และประเมินผลคุณค่าของการเข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละครั้ง ผู้สอนควรเป็นผู้จัดสถานการณ์การเรียนรู้ มีบทบาทเป็นที่ปรึกษา ผู้ชี้แนะ ผู้ลงมือปฏิบัติควรเป็นนักศึกษา ผู้สอนหาเวทีหรือโอกาสให้ผู้เรียนได้นำเสนอ สร้างแรงบันดาลใจ ความภาคภูมิใจในชิ้นงานหรือผลงานของผู้เรียน ส่งเสริมให้เป็นผู้สร้างสรรค์ จึงจะสามารถสร้าง "บัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพ" ได้ในอนาคต






ภาพเพิ่มเติม...

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ชุมชนแลกเปลี่ยนนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู: สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา (ค.บ.5 ปี)

https://plus.google.com/u/0/communities/101767141028816696472 
      ในสถานการณ์ที่มีเวลาจำกัดและความไม่สะดวกในการเดินทางลงนิเทศนักศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จ.ยะลา ประมาณ 2 ชั่วโมง  คณะอาจารย์นิเทศจึงได้นำสื่อสังคมออนไลน์ Google+ ร่วมกับ Google App เช่น Google Slide, Google Doc, Google Drive, Google Blog (Blogger.com)  มาเป็นเครื่องมือจัดการกิจกรรมนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ. 5 ปี) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์ศึกษา) ซึ่งจัดการเรียนการสอนโดยสาขาคอมพิวเตอร์ โครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร   ร่วมกับคณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 
    โดยเฉพาะการใช้ Google+ สร้างชุมชน "ประสบการณ์วิชาชีพครูคอมพิวเตอร์ (https://plus.google.com/u/0/communities/101767141028816696472) ใช้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ และบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ของโรงเรียนหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
นอกจากนั้นยังเปิดให้นักศึกษาหรือผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมเป็นสมาชิกของชุมชน เพื่อให้ข้อเสนอแนะ
หรือแลกเปลี่ยนกับสมาชิกในชุมชนที่สร้างขึ้น
    ทั้งนี้ นักศึกษาได้ใช้ประสบการณ์จากชั้นเรียนและรายวิชา โดยเฉพาะทักษะไอซีที มาปรับประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การเตรียมความพร้อมสำหรับการนิเทศ เป้าหมายเพื่อสร้างครูคอมพิวเตอร์ ที่มีทักษะในการปรับประยุกต์ใช้ไอซีที เพื่อการประกอบวิชาชีพครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ


วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การสร้างสถานการณ์การเรียนรู้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21


บทบาทหน้าที่สำคัญของครูยุคใหม่ คือ การออกแบบสร้างสถานการณ์การเรียนรู้ในชีวิตจริง การประกอบอาชีพจริงในอนาคตให้แก่ผู้เรียน และเพื่อฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ มากกว่าการท่องจำและความเข้าใจเท่านั้น รวมทั้งเพื่อฝึกทักษะการใช้ไอซีทีสำหรับสร้างทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ได้แก่ ความรู้ด้านสารสนเทศ ความรู้เกี่ยวกับสื่อ ความรู้ด้านเทคโนโลยี 
    ตัวอย่างการจัดสถานการณ์การเรียนรู้สำหรับนักศึกษา สาขาคอมพิวเตอร์ (ค.บ.5 ปี) http://comedu.yru.ac.th  เปิดสอนในโครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (http://ict.yru.ac.th) ในรายวิชาการจัดการสารสนเทศทางการศึกษา ในกิจกรรมการเรียน บทที่ 2 ระบบสารสนเทศ ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นหลักการและข้อเท็จจริง (Fact) ผู้เรียนจึงสามารถศึกษาด้วยการอ่านด้วยตนเองได้เป็นส่วนใหญ่ เนื้อหาประกอบด้วย ความหมายของระบบสารสนเทศ องค์ประกอบระบบสารสนเทศ ประโยชน์ของสารสนเทศ ประเภทของระบบสารสนเทศและตัวอย่าง 
     การจัดการเรียนรู้ในรายวิชา เน้นการใช้ไอซีทีโดยใช้ ระบบอีเลิร์นนิ่ง (http://elearning.yru.ac.th) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นหลัก ร่วมกับซอฟต์แวร์ผ่านเทคโนโลยีคลาวน์คอมพิวเตอร์ เครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อฝึกทักษะการคิดวิเคราะและสังเคราะห์ และฝึกทักษะแห่งการเรียนในศตวรรษที่ 21 ด้วย มีขั้นตอนการสร้างสถานการณ์การเรียนรู้ ดังนี้
  1. สร้างบทเรียนใน ระบบอีเลิร์นนิ่ง ในลักษณะของ e-Book แบบง่ายๆ ด้วยเครื่องมือใน Moodle LMS แล้วเผยแพร่เป็นบทเรียนมาตรฐานเป็น SCORM Package 
    บทเรียน e-Book เป็น SCORM Package สำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้หลักในบทเรียน

  2. กำหนด งานมอบหมาย(Assignment) มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเองผ่าน e-Book ที่ผู้สอนจัดเตรียมเนื้อหาไว้ให้ หรือผู้เรียนสามารถสืบค้นจากแหล่งความรู้อื่นๆ ในอินเทอร์เน็ตเพิ่มเติมได้ โดยกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การส่งงาน และเกณฑ์การให้คะแนน
    งานมอบหมาย (Assignment) ผ่านระบบอีเลิร์นนิ่ง

  3. การบ้านกำหนดให้นักศึกษาศึกษาเนื้อหา แล้ววิเคราะห์และสังเคราะห์วาดเป็น ผังความคิด (Mind Map) ด้วยซอฟต์แวร์บนคลาวน์ คือ Cacoo ซึ่งผู้เรียนต้องติดตั้งเพิ่มใน Google Chrome เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสร้างผังความคิด (ใช้ Google Account ในการลงทะเบียน) โดยผังความคิดจะต้องมีความสัมพันธ์กันในหัวข้อหลัก หัวข้อรอง หัวข้อย่อย ( https://chrome.google.com/webstore/detail/cacoo-diagramming-real-ti/pcflmbddgcmomcfngehfhlajjapabojh?utm_source=chrome-ntp-icon)
    ติดตั้ง Cacoo ค้นหาจาก Chrome Web Store
    https://chrome.google.com/webstore/search/cacoo?utm_source=chrome-ntp-icon
  4. การบ้านกำหนดให้ผู้เรียน อธิบายสรุป "ผังความคิด" ที่ได้ ไม่เกิน 10 บรรทัด เพื่อฝึก ทักษะการอ่านและสรุปความ รวมทั้ง การเขียน (พิมพ์) โดยให้พิมพ์เป็นข้อสรุปไว้ต่อจาก "ผังความคิด" ของแต่ละคนในซอฟต์แวร์ Cacoo
    ตัวอย่างผลงานของนักศึกษาที่ส่งงาน
  5. การส่งการบ้าน ทำโดยให้ Copy ลิงก์ที่แชร์ไฟล์ "ผังความคิด" จากซอฟต์แวร์ Cacoo ส่งลิงก์ไว้ในระบบอีเลิร์นนิ่งในงานที่มอบหมาย เพื่อให้ผู้สอนสามารถตรวจงานได้สะดวก (ฝึกทักษะการแชร์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม)
    ตัวอย่างการส่งลิงก์ที่แชร์ผลงานที่นำเสนอไว้ในซอฟต์แวร์ Cacoo
  6. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มเรียน กำหนดให้ผู้เรียน Copy ลิงก์ที่แชร์ไฟล์ "ผังความคิด" จากซอฟต์แวร์ Cacoo ไปวางหรือแชร์ไว้ใน ชุมชน Google+ ของรายวิชา ซึ่งผู้สอนสร้างไว้และให้ผู้เรียนเป็นสมาชิกในชุมชนนี้ (https://plus.google.com/u/0/communities/107503200208618731454)
    การเผยแพร่ผลงานผ่าน Google+ "ชุมชนรายวิชาการจัดการการสารสนเทศด้านการศึกษา"

        ผลการจัดการเรียนรู้ จากการสังเกตของผู้สอน พบว่าการปฏิบัติงานในชั่วโมงปฏิบัติ 2 ชั่วโมง (มอบหมายให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหามาจากบ้าน) ของผู้เรียน เพื่อสร้างชิ้นงานส่งตามงานมอบหมาย พบว่า ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานได้และส่งงานได้ตามกำหนดทุกคน ผู้เรียนมีสมาธิจดจ่อและตั้งใจในการปฏิบัติงานส่งตามกำหนด ผู้เรียนมีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างปฏิบัติงาน โดยการปรึกษาหารือ การสอบถามกันในกลุ่มเรียนในขณะปฏิบัติงาน ห้องเรียนมีลักษณะเป็น ห้องเรียนที่มีชีวิตชีวาในการเรียนรู้ (Acitve Learning Classroom) ไม่เกิดความเบื่อหน่าย ผู้เรียนภูมิใจในผลงานที่สร้างได้ด้วยตนเอง
    นอกจากนั้น ที่สำคัญ คือประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียน จากสถานการณ์การเรียนรู้ที่ผู้สอนจัดให้ จะเป็นแนวทางหรือตัวอย่างในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของ "ครูคอมพิวเตอร์" ในอนาคตของนักศึกษากลุ่มนี้ ซึ่งเรียนในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิ์ (ค.บ.5 ปี) สาขาคอมพิวเตอร์/คอมพิวเตอร์ศึกษา (Computer Education) โดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและเป้าหมายของหลักสูตร มุ่งหวังให้เป็น "ครูคอมพิวเตอร์ต้นแบบ" ที่เก่งทั้งศาสตร์ในสาขาวิชา และเก่งเทคนิคการสอนในยุคศตวรรษที่ 21 เน้นไอซีทีเป็นฐาน

อ้างอิงเพิ่มเติม:

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

โครงการ Computer science and ICT to empower at-risk trafficking youths in Thailand :การประยุกต์ใช้ไอซีทีพัฒนาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 29 มกราคม 2559 ได้มีโอกาสเป็นตัวแทน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา‬ พร้อม อาจารย์นโรดม กิตติเดชานุภาพ อาจารย์สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้าร่วมประชุมเตรียมการดำเนินงาน "โครงการ Computer science and ICT to empower at-risk trafficking youths in Thailand ณ โรงแรมในทอนบุรี จ.ภูเก็ต ซึ่งในโครงการนี้ ผู้รับผิดชอบหลัก คือ สภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (http://www.dordek.org) ร่วมกับศูนย์ไอซีทีภูเก็ต สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ซึ่งมีประสบการณ์ดำเนินการในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ โดยมี คุณศรีศักดิ์ ไทยอารี ผู้อำนวยการสภาองค์การพัฒนาเด็กฯ ให้เกียรติเป็นประธานในที่ประชุม พร้อมคุณธีรพันธุ์ เพ็ญโรจน์ รองผู้อำนวยการฯ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ และกำหนดแผนการดำเนินงานร่วมกัน
คุณศรีศักดิ์ ไทยอารี 
    สำหรับเป้าหมายของโครงการนี้ คือ การพัฒนาความรู้ ทักษะไอซีทีเพื่อป้องกันความเสี่ยงของเยาวชนจากการค้ามนุษย์ หรือการย้ายถิ่นฐาน ตามหลักสูตรของบริษัทไมโครซอฟท์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ ได้แก่ นักศึกษา เยาวชน ในจังหวัดชายแดนใต้ 400 คน ครูหรือเยาวชน แกนนำ 30 คน ดำเนินการในช่วงเดือน ก.พ.-พ.ย.59 โดยใช้ฐานสถานที่และทรัพยากรด้านไอซีทีของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (มรย.) เป็นฐาน ซึ่งทั้งหมดจะดำเนินงานโดยอาศัยศักยภาพชมรมนักศึกษา มรย. ได้แก่ ชมรมคอมพิวเตอร์จิตอาสา เป็นองค์กรขับเคลื่อน เพื่อสร้างประสบการณ์การทำงานให้แก่บัณฑิตก่อนออกไปทำงาน และในอนาคตอาจมีความร่วมมือระหว่างไมโครซอฟท์ และ มรย. นับเป็นประโยชน์กับพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ต่อไป โดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ที่จะรองรับการพัฒนาประเทศไทยไปสู่สังคมเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy) 

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

แนวทางการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ (Active Learning) : ส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21

     ปัญหาสำคัญที่ทำให้การจัดการเรียนรู้ (ใช้แทนคำว่าการเรียนการสอน) ในยุคไอซีทีของผู้สอนที่สำคัญที่สุดคือ สอนมาก แต่เรียนรู้ได้น้อย (Teach More, Learn Less) แทนที่จะเป็นการ สอนน้อย เรียนรู้ได้มาก หรือ Teach Less Learn More (พิจารณ์ พานิช, 2554)  ทำให้นักเรียน นักศึกษา เกิดความเบื่อหน่าย ไม่กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ ไม่ท้าทาย ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์จริงที่จะออกไปทำงานหรือประกอบอาชีพ ซึ่งความรู้ ข้อเท็จจริงต่างๆ ผู้เรียนสามารถสืบค้นและหาได้จากอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาจารย์ Goo (Google) จัดเตรียมไว้ให้แล้วอย่างดีเป็นส่วนใหญ่  แต่ผู้สอนยังใช้วิธีการสอนแบบดั้งเดิม คือ การใช้  Presentation and Talk หรือ Chalk and Talk (ใช้สไลด์ PowerPoint และบรรยาย/อ่าน แล้วก็นัดสอบ บางครั้งหนักมากถึงกับใช้สไลด์สอนแทนผู้สอนเลยก็มี)  ผู้สอนยังหวงแหนในมีบทบาทเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้  (Teacher Center) ยังเป็นผู้มีอำนาจมากที่สุดในชั้นเรียน เป็นผู้นำการเรียนรู้ แทนที่จะเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning) และปรับบทบาทเป็นผู้จัดสถานการณ์การเรียนรู้ ผู้แนะนำให้คำปรึกษา (Coach) ทั้งนี้ เนื่องจากการทำหน้าที่บทบาทดังกล่าว ผู้สอนจะต้องเตรียมการ และวางแผนการจัดการเรียนการสอนมาเป็นอย่างดี นอกจากการมีแผนการสอนหรือรายละเอียดในรายวิชา (มคอ. 3) เท่านั้น
      สำหรับปัญหาของนักศึกษาใน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งก็น่าจะคล้ายๆ กับหลายสถาบันการศึกษา ก็คือ นักศึกษาขาดทักษะในการคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ และทักษะการประยุกต์ใช้งานจากความรู้ในห้องเรียนสู่การปฏิบัติจริง สำคัญที่สุด คือขาดความกระตือรือร้น กระหายใฝ่รู้ ปัญหาอีกประเด็นหนึ่งก็คือ นักเรียน นักศึกษาในสามจังหวัดชายแดนใต้ยังมีปัญหาเฉพาะพื้นที่ ได้แก่ ทักษะการใช้และการสื่อสารด้วยภาษาไทยที่ไม่คล่องนัก ทั้งการเขียน การอ่าน ทั้งนี้ ด้วยวิถีชีวิตใช้ภาษามลายูถิ่นมาตั้งแต่กำเนิดและใช้ในสื่อสารจริงในวิถีชีวิตมาตลอด ทำให้ภาษาเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ และการสร้างความมั่นใจในการสื่อสาร รวมทั้ง การใช้ชีวิตในสังคมนอกพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงนับเป็นการจำกัดโอกาสไปด้วย
       ดังนั้น การจัดการเรียนรู้ในรายวิชาของแต่ละหลักสูตรของมหาวิทยาลัยฯ  จึงต้องร่วมกันจัดการเรียนรู้เพื่อบูรณาการส่งเสริมเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาหรือลดความรุนแรงของปัญหา โดยการพยายามส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้เรียนกระตือรือร้น
      ตัวอย่างแนวทางการเรียนการสอนในรายวิชา เว็บช่วยสอน (Web-based Instruction: WBI) ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะต้องสำเร็จการศึกษาออกไปเป็นบัณฑิตและเป็นครูสอนคอมพิวเตอร์ จึงพยายามใช้เทคนิคการเรียนรู้ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะ การใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ ทักษะการนำเสนอและการสื่อสาร และทักษะการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ โดยผ่านเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทิศ (Flipped Classroom) ผลปรากฎว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจและสร้างความกระตือรือร้นในการฝึกปฏิบัติ จนสามารถทำงานสำเร็จในภาคเรียนได้

เว็บบล็อก: เครื่องมือง่ายๆ ส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาตนเองและแหล่งรวบรวมประวัติของนักศึกษา


   เว็บบล็อก หรือ บล็อก (Weblog / Web Blog หรือ Blog) นับเป็นเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ที่นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ หรือผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ทั่วไปในปัจจุบัน สามารถสร้าง ออกแบบ และเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร เรื่องราวต่างๆ ของตนเองได้โดยสะดวก นำเสนอได้ทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว การสร้างลิงก์เชื่อมโยง โดยเผยแพร่เรื่องราว เรื่องเล่า บทความทั่วไปต่างๆ ตามลำดับเหตุการณ์วันและเวลาที่เขียนและเผยแพร่ สามารถกำหนดคำสำคัญ (Tag) เพื่อความสะดวกในการสืบค้นหรือค้นคืนย้อนหลังได้ สามารถนับสถิติผู้เข้าชมเว็บบล็อกได้ รวมทั้งอนุญาตให้ผู้ใช้บริการแสดงความคิดเห็น (Comment) และแลกเปลี่ยน (Shared) ไปยังเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น Facebook  Twitter หรืออีเมลได้โดยสะดวก และยังสามารถเชิญชวนและอนุญาตให้สมาชิกเว็บบล็อกร่วมเป็นผู้เรียนหรือผู้จัดการเว็บบล็อกร่วมกับผู้สร้างเว็บบล็อกได้อีกด้วย
http://waneesara.blogspot.com

     ในปัจจุบันมีบริษัทผู้เชี่ยวชาญขนาดใหญ่จำนวนมาก ที่ให้บริการพื้นที่และเครื่องมือสำหรับสร้างเว็บบล็อกส่วนบุคคล หรือ เว็บบล็อกขององค์กร ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่มีชื่อส่วนหนึ่งของเว็บไซต์ผู้ให้บริการ ชื่อเว็บไซต์อยู่ภายใต้โดเมนที่เว็บไซต์ผู้ให้บริการกำหนดให้ เช่น http://ict-bl.blogspot.com  เว็บไซต์ผู้ให้บริการ คือ www.Blogger.com ของ Google เว็บไซต์ที่มีผู้นิยมใช้บริการสร้างเว็บบล็อก ได้แก่ Blogger (http://www.blogger.com หรือ http://www.blogspot.com) ของบริษัท Google Wordpress (http://www.wordpress.com) ของบริษัท WordPress และ อื่นๆ อีกมากมาย 
     ด้วยคุณลักษณะเด่นของเว็บบล็อก ที่สามารถสร้างขึ้นโดยสะดวก ใช้งานง่าย ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้และทักษะด้านการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ ดำเนินการเพียงไม่กี่ขั้นตอน ก็สามารถสร้างเว็บบล็อกได้ เช่น การสร้างเว็บบล็อกด้วย http://www.blogger.com ใน 3 ขั้นตอน และให้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย มีรูปแบบ (Template) เครื่องมือการตกแต่ง (Gadget) ให้เลือกตามความชอบส่วนบุคคล และยังมีซอฟต์แวร์หรือ Application เสริมความสามารถของเว็บบล็อก และสามารถแลกเปลี่ยน (Shared) เรื่องราวกับเครือข่ายสังคมออไลน์อื่นๆ ได้โดยสะดวก
      จากความสามารถและคุณลักษณะเด่นของเว็บบล็อกดังกล่าว ผู้สอนจึงทดลองได้นำเว็บบล็อกมาใช้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาเว็บช่วยสอน (Web-based Instruction: WBI) นักศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น (Active Learning) ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการพัฒนาและจะเขียนเรื่องราวต่างๆ รวมทั้งสรุปเนื้อหาจากการเรียนรู้ในชั้นเรียนไว้ในเว็บบล็อกของตนเอง โดยผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำ (Commentator) หรือที่ปรึกษา (Consultant) ผลการใช้กิจกรรมดังกล่าว ผู้เรียนสามารถสร้างเว็บบล็อกและพัฒนาทักษะการใช้ไอซีทีในการพัฒนาเนื้อหาเว็บบล็อกได้อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นให้ผู้เรียนเขียนเรื่องราวที่ใช้ภาษาอย่างเป็นทางการหรือกึ่งทางการมากกว่าการใช้ภาษาพูด คำสแลง หรือคำไม่สุภาพดังเช่นในเครือข่ายสังคมออนไลน์อื่นๆ เพื่อฝึกทักษะการเขียนให้แก่นักศึกษา ซึ่งนับเป็นการแสดงออกซึ่งทักษะขั้นสูงของผู้เรียน ฝึกนิสัยรักการเขียน ซึ่งในปัจจุบันนักศึกษายังมีปัญหาในเรื่องทักษะการเขียนอยู่มาก
     ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชา การสอนผ่านเว็บ ผู้สอนได้กำหนดงานมอบหมาย "การพัฒนาเว็บบล็อกเพื่อการเรียนรู้" ให้นักศึกษาทุกคนสร้างและพัฒนาเว็บบล็อกของตนเองด้วยเครื่องมือของ Google คือ www.Blogger.com ซึ่งมี ขั้นตอนการสร้างง่ายมากเพียง 3 ขั้นตอน และมีคู่มือ แหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการเว็บบล็อกเผยแพร่ในโลกออนไลน์อยู่มากมาย ทั้งนี้ เพื่อฝึกทักษะความรับผิดชอบ ทักษะการเขียน ทักษะการสื่อสาร และที่สำคัญคือเป็นแหล่งรวบรวมเรื่องราว ผลงาน หรืออื่นๆ ที่เป็นประวัติส่วนตัว (Profile) ของนักศึกษาเอง ซึ่งผลการกำหนดให้ผู้เรียนทำกิจกรรมดังกล่าว พบว่า ผู้เรียนทุกคนสามารถสร้างเว็บบล็อก พัฒนาต่อยอด และรวบรวมเรื่องราวต่างๆ ของตนได้อย่างต่อเนื่อง เป็นการสร้างทักษะและลักษณะนิสัย "รักการเขียน" ซึ่งถือเป็นทักษะขั้นสูงของบัณฑิตไทย ที่ปัจจุบันมักจะพบว่าบัณฑิตส่วนใหญ่อ่านไม่เป็นและเขียนไม่เป็น ปัจจุบันบัณฑิตส่วนใหญ่เน้น "การดูสื่อมัลติมีเดีย" อย่างลวกๆ และเร็วๆ มากกว่าการอ่าน ส่วนทักษะการเขียนก็ค่อนข้างมีปัญหา ใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้อง เขียนแล้วอ่านไม่รู้เรื่อง ขาดทักษะการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปความ
     ตัวอย่างผลงานของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (รุ่นที่ 1 หลังจากปรับปรังปรุงหลักสูตร) ที่จะสำเร็จการศึกษาออกไปเป็นครูมืออาชีพ "เก่งสอนด้วยไอซีที เก่งศาสตร์ และปฏิบัติตนดี"  ดังลิงก์ต่อไปนี้ ลองศึกษาดูเว็บบล็อกของผู้เรียน ดังต่อไปนี้
  1. http://hakimah100.blogspot.com
  2. http://latipahsarased.blogspot.com/
  3. http://mameesulongku.blogspot.com/
  4. http://krm-learning.blogspot.com/
  5. http://rosidah-computer.blogspot.com/
  6. http://saowanee-ny.blogspot.com/
  7. http://sainah-computer.blogspot.com/
  8. http://leehah-computer.blogspot.com/
  9. http://mustorfa.blogspot.com/
  10. http://imrancom-ed.blogspot.com/
  11. http://sunita-computer.blogspot.com/
  12. http://ict-learingyru.blogspot.com
  13. http://hakimah100.blogspot.com/
  14. http://sarinauma.blogspot.com/
  15. http://ardeeman017.blogspot.com/
  16. http://karimah-mu.blogspot.com/
  17. http://waheedah006.blogspot.com
  18. http://nop021.blogspot.com/
  19. http://waneesara.blogspot.com/
  20. http://subaidahhawae.blogspot.com
  21. http://rusminee019.blogspot.com/
  22. http://nan161136.blogspot.com/
  23. http://nuresakah.blogspot.com/
  24. http://anisa035.blogspot.com/
  25. http://wardah-chemah.blogspot.com/
  26. http://happykt2.blogspot.com/
  27. http://safwani1028.blogspot.com/
  28. http://habiecomed.blogspot.com/
  29. http://zulkiflee1.blogspot.com/
  30. http://patimoh011.blogspot.com/
  31. http://naseebahsa-a.blogspot.com/
  32. http://slm-elearning.blogspot.com/
  33. http://nidee004.blogspot.com/
  34. http://wapa-maming.blogspot.com/
  35. http://fairosecomedu.blogspot.com/
  36. http://abizi034.blogspot.com/
  37. http://hayarolasawad012computer.blogspot.com