วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ความสำเร็จกระบวนการให้คำปรึกษาโครงการวิจัยผ่านเครื่องมือบนคลาวน์คอมพิวติ้ง


Google Mail ในการติดต่อสื่อสารและค้นคืนเรื่องเดิม
Google Mail สำหรับการติดตามและการสื่อสารอย่างเป็นทางการ สะดวกในการค้นคืน
  
      ยุคปัจจุบัน ดังที่ได้เรารับรู้รับทราบความสำคัญของเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ทีี่เชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างเข้าด้วยกันอย่างไร้ข้อจำกัดด้านระยะทาง เวลา และสถานที่ มีผลทำให้วิถีการดำเนินชีวิต การเรียนรู้ การทำงานของเราเปลี่ยนไป จากแบบเดิมๆ ในอดีตอย่างมากมาย ซึ่งหากเราเองใม่เรียนรู้ที่จะปรับตัว เราอาจอยู่ในสังคมโดยขาดโอกาสในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะในเรื่องที่ได้ปรับเปลี่ยนไปใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือแทนวิถีแบบเดิมๆ 
    สำหรับการจัดการเรียนรู้หรือการศึกษาของหลักสูตรก็เช่นกัน ทั้งโครงสร้าง รายวิชาเนื้อหาและระยะเวลาที่ใช้ในหลักสูตรอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนกันอย่างขนานใหญ่ รวมถึงบทบาทของผู้สอนที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนให้ทันต่อวิถีชีวิตของผู้เรีียนในศตวรรษที่ 21  ในที่นี้ ขอยกตัวอย่างกรณีศึกษาการสอนในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ. 5 ปี) สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา  คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ซึ่งนักศึกษาต้องออกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา (โรงเรียน) เป็นระยะเวลา 1 ปีการศึกษา นักศึกษาจะเลือกสถานศึกษาในเขตจังหวัดยะลา นราธิวาส และปัตตานี เป็นส่วนใหญ่ โดยในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่สอนในสถานศึกษา นักศึกษาต้องมีหน้าที่ปฏิบัติการสอน และมีกิจกรรมเสริมจำนวนมาก ได้แก่ มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทุกประเภทในโรงเรียน นักศึกษาต้องพัฒนาโครงการ (Project) เพื่อการพัฒนานักเรียน ครูผู้สอน หรือพัฒนาโรงเรียน ที่สำคัญนักศึกษาแต่ละคนจะต้องทำ "โครงการวิจัยพัฒนาการเรียนรู้หรือวิจัยชั้นเรียน" เป็นรายบุคคล คนละ 1 เรื่อง โดยใช้องค์ความรู้จากหลักสูตรและปัญหาที่พบในโรงเรียนหรือห้องเรียนในการทำวิจัย และดำเนินการวิจัย จัดทำรายงานการวิจัยให้เสร็จสิ้นในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา โดยมีครูพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศก็ประจำโรงเรียน และอาจารย์นิเทศก์ประจำหลักสูตรให้คำปรึกษา

วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560

การเรียนรู้นอกห้องเรียน: สร้างบรรยากาศและแรงจูงใจให้แก่นักศึกษา

การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนสี่เหลี่ยม ประกอบด้วยอาจารย์ผู้สอนยืนอยู่หน้าชั้นเรียน นักเรียนหรือนักศึกษานั่งประจำโต๊ะ (ถึงแม้จะเป็นห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์) เป็นอย่างนี้ทุกครั้งในชั่วโมงสอน ก็อาจสร้างบรรยากาศที่น่าเบื่อหน่าย ขาดแรงจูงใจ ไม่สะดวกในการทำกิจกรรมกลุ่ม ไม่เป็นบรรยากาศที่สนองตอบวิถีชีวิตแบบ Life Stye ของนักศึกษาในยุค Gen Y ทำให้เกิดสถานการณ์ "สอนมาก เรียนน้อย" ซึ่งอาจจะไม่เกิดการเรียนรู้ในการสอนครั้งนั้นเลยก็ได้ เพราะผู้เรียนไม่ได้มีโอกาสการลงมือทำในกิจกรรมที่ผู้สอนมอบหมาย
      การจัดการเรียนรู้ในรายวิชาเว็บช่วยสอน (Web-based Instruction: WBI) ของสาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา (http://science.yru.ac.th/computer) ซึ่งเนื้อหาสำคัญของวิชาส่วนใหญ่เป็นทฤษฎี ข้อมูล ข้อและเท็จจริง (Fact)  ที่ผู้เรียนสามารถสืบค้นได้ทั้งหมดด้วย Google ดังนั้น ผู้สอนจึงจะต้องออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ (Learning by Doing) และเลือกใช้โดยใช้แนวคิดของการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) ร่วมกับการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team-based Learning: TBL) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สนับสนุนการสอนแบบ Active Learning  โดยผู้เรียนจะต้องมีชิ้นงานหรือผลงาน ที่เกิดจากการทำกิจกรรมของทีมหรือกลุ่ม ผู้สอนจะให้โอกาสได้ทำกิจกรรมนอกห้องเรียน นอกห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ เช่น การใช้ห้องเสริมการเรียนรู้ (ห้องติว) ซึ่งมหาวิทยาลัยจัดเตรียมไว้ให้ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ สำนักวิทยบริการฯ เป็นสถานที่ที่สนับสนุนการเรียนรู้ตามสไตล์ของนักศึกษา Gen Y ที่เน้นความสะดวกสบาย ความเป็นส่วนตัว มีอุปกรณ์สนับสนุนในการทำกิจกรรม มี Wifi ความเร็วสูง เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ทุกเวลา นับเป็นการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เสริมแรงจูงใจ
    จากนั้น ผู้เรียนสรุปผลการเรียนรู้เผยแพร่ในชุมชนรายวิชา (Google+) และสรุปสาระการเรียนรู้ในเว็บบล็อกของตนเอง เพื่อทบทวนสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ ผู้สอนติดตามให้ข้อเสนอแนะ ทำหน้าที่เป็น Coach ให้ข้อคิดเห็นในการปรับปรุง เอกสารทุกอย่างแชร์และทำงานร่วมกันใน Google Drive ทำให้การเรียนรู้ของรายวิชาไม่มีรายงาน ทุกอย่างไร้กระดาษ Paperless สร้างทักษะดิจิทัลให้แก่ผู้เรียนไปพร้อมๆ กับการเรียนรู้



วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560

การเรียนรู้จากผลงานวิจัย: การออกแบบกิจกรรมนำเสนอผลการเรียนรู้ผ่านคลิปวิดีทัศน์สร้าง Active Learner


ทักษะการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21 นับเป็นทักษะสำคัญของผู้สอนในยุคนี้ ที่จะต้องเน้นทักษะการออกแบบสถานการณ์การเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับชีวิตจริง เนื่องจากผู้เรียนโดยเฉพาะในระดับปริญญาตรี เป็นผู้เรียนในยุค "Gen Y"  [อ่านเพิ่มเติม ...] ที่มีบุคลิก ลักษณะนิสัย วิธีการเรียนรู้ที่เขาเกิดมาพร้อมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต การสื่อสารข้อมูล  ต่างจากในยุคอดีตที่ผู้สอนส่วนใหญ่อาจเกิดในยุค "Gen X" หรือก่อนหน้านั้น "Baby Boomer" และหากผู้สอนยังไม่ปรับตัว ปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีสอน ยังหลงอยู่ในยุค Gen X อีก ก็อาจจะไม่สามารถสอนนักศึกษาในยุคปัจจุบันได้ หรือสอนได้แต่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์การการเรียนรู้ (ห้องเรียน) ได้ อาจจะเป็นการกักขังผู้เรียนให้อยู่ในห้องเรียนแบบดั้งเดิม (Traditional Classroom) ที่น่าเบื่อ มีผู้สอนเป็นผู้ควบคุม เป็นศูนย์กลางการสอน แต่ไม่ใช้การเรียนรู้
   การจัดการเรีียนรู้ในระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา ซึ่งบัณฑิตสาขานี้ จะสำเร็จการศึกษาออกไปเป็นครูพันธุ์ใหม่ใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือออกแบบการเรียนรู้ มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบการเรียนรู้ สถานการณ์การเรียนรู้ที่ใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือ เข้าใจนักเรียนในยุค Gen Y สามารถประยุกต์ใช้ความก้าวหน้าของไอซีที ให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างนักเรียนพันธุ์ใหม่ ที่จะเป็นผู้สร้างสรรค์มากกว่าการเป็นผู้ใช้อย่างเดียว เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของคนในการนำพาประเทศไปสู่ "ประเทศไทย 4.0" ตามวิสัยทัศน์ชาติ "มั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมและมูลค่าเพิ่ม เพื่อการพึงพาตนเองได้ในอนาคต
   จากประสบการณ์การสอนรายวิชา เว็บช่วยสอน (Web-based Instruction) ในการสอนเนื้อหาตามคำอธิบายรายวิชาในประเด็น "ศึกษาเอกสารผลงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บ" ผู้สอนกำหนดเป็นงานมอบหมาย (Assignment) ในระบบอีเลิร์นนิ่ง โดยการแบ่งนักศึกษาทำงานเป็นทีม (เน้นสร้างทักษะการทำงานเป็นทีม การสร้างสรรค์ผลงาน การคิดวิเคราะห์ในการวางแผนร่วมกัน) โดยกำหนดให้แต่ละทีม ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากฐานข้อมูล Thailis (http://www.thailis.or.th/tdc) โดยศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์สาระสำคัญของงานวิจัย ออกแบบการนำเสนอ (presentation) โดยใช้คลิปวิดีโอเผยแพร่ใน Youtube โดยใช้ความรู้และทักษะจากรายวิชาที่ผ่านมา จากนั้นให้แต่ละทีมนำเสนอและแชร์ผ่านชุมชนรายวิชาใน Google+ โดยกระบวนการเรียนรู้ในหัวข้อนี้ เน้นการเรียนรู้นอกคาบ เรียน ใช้สถานที่นอกห้องเรียน เช่น ห้องกิจกรรมเสริมการเรียนรู้กลุ่ม ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ สำนักวิทยบริการฯ จัดให้บริการ หลังจากนั้น ให้ผู้เรียนทุกคนสรุปผลการเรียนรู้ของตนเองและทีมในกิจกรรมนี้ เผยแพร่ในเว็บบล็อกของตนเอง (กิจกรรมหนึ่งในรายวิชา)


    ผลการจัดการเรียนรู้ พบว่า แต่ละทีมสามารถสร้างผลงานนำเสนอได้เสร็จทันตามกำหนดเวลา และสร้างความตื่นเต้น สนุกสนานในการเรียนรู้ ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง เกิดทักษะการทำงานเป็นทีม รวมถึงทำให้ผู้สอนเอง มีเวลาในการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล จากการแสดงพฤติกรรมของผู้เรียนผ่านการบันทึกวิดีโอคลิป นักศึกษาสามารถนำทักษะและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ ไปปรับประยุกต์ใช้เมื่อออกไปประกอบวิชาชีพครูในอนาคต
    ตัวอย่างผลงานของนักศึกษาแต่ละทีม ซึ่่งผู้สอนมีหน้าที่ในการให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงของแต่ละทีม หรือแต่ละบุคคลผ่านชุมชนการเรียนรู้ Google+


วันอังคารที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2560

การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม: กิจกรรมนอกห้องเรียนแบบเดิม เน้นกิจกรรมการเรียนรู้นอกกรอบ

การจัดการเรียนรู้ในรายวิชา WBI ผู้สอนออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเป้าประสงค์ของรายวิชา จัดสถานการณ์การเรียนรู้ในสภาพชีวิตจริง (ทำงาน) โดยจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง ร่วมกับการใช้เครื่องมือจัดการเรียนรู้ใน Google App for Education และเน้นกิจกรรมเป็น Team-based Learning: TBL ให้อิสระผู้เรียนได้ทำกิจกรรมกลุ่มด้วยทักษะการสร้างทีม เน้นการส่งเสริมทักษะการคิด วิเคราะห์ และนำเสนอ สามารถทำกิจกรรมการเรียนรู้ ณ สถานที่ใดๆ ก็ได้ ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ทำให้ผู้เรียนทุกคนซึ่งเป็นสมาชิกในทีมได้มีโอกาสลงมือทำ ร่วมกันรับผิดชอบในการทำกิจกรรมของทีม สร้างชิ้นงานได้ ไม่เบื่อหน่ายกับสภาพห้องเรียนสี่เหลี่ยมแบบดั้งเดิมที่เคยเรียนมา โดยมีผู้สอนเป็นผู้ควบคุมชั้นเรียน ผู้เรียนเป็นผู้ตาม (หลับ)



     ยิ่งกว่านั้น กิจกรรมการเรียนรู้แบบนี้ ยังส่งเสริมให้เกิด Active Learning เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสนำเสนอด้วยวาจาทุกคน ฝึกฝนทักษะการใช้ภาษาไทย  (ผู้สอนทำหน้าที่เป็น Commentator) และเมื่อเสร็จสิ้นการเรียนรู้แต่ละครั้ง ผู้เรียนทุกคนต้องสรุปผลการเรียนในเว็บบล็อก (เขียน) ของแต่ละคน เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของการประเมินผลแบบสภาพจริง ที่เน้นการประเมินผลงานหรือชิ้นงาน (ทักษะ) มากกว่าการประเมินความรู้ ความจำ (ทดสอบ) ทำให้สามารถส่งเสริมบัณฑิตให้เกิดทักษะปฏิบัติจากการลงมือทำจริง ทักษะการเขียน ซึ่งเป็นการเสริมสร้างอัตลักษณ์นักศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา (ค.บ. 5 ปี) คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ให้โดดเด่นตามวิสัยทัศน์ของหลักสูตรได้ "เก่งศาสตร์ เก่งจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และเน้นประยุกต์ใช้ไอซีทีเป็นฐาน" (http://science.yru.ac.th/computer)


วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การส่งเสริมสู่ครูมืออาชีพหรือครูพันธุ์ใหม่ สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

กล่าวได้ว่า ครู คือ ปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษาแห่งชาติ เพื่อพัฒนาการศึกษาไปสู่การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ ปัจจุบันมีหลายมหาวิทยาลัยมีหลักสูตรผลิตครู 5 ปี โดยกำหนดให้เรียนตามหลักสูตร 4 ปี และออกฝึกปฏิบัติการสอนจริงในโรงเรียนหรือสถานศึกษาอีก 1 ปี ซึ่งคาดว่าจะเป็นระบบการผลิตครูที่ได้ประสิทธิภาพ ประสบการณ์ตรงที่นักศึกษาครูได้รับ จะส่งเสริมให้บัณฑิตเหล่านี้เป็นครูพันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพ "เก่งทักษะการจัดการเรียนรู้" ออกไปเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ๆ ให้มีคุณภาพ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปลูกฝังการเป็นนักคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ เก่งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ การใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือการเรียนรู้และสร้างชิ้นงาน  เป็นการส่งเสริมการผลิตกำลังคนของชาติในอนาคตให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ของชาติในระยะ 20 ปี ที่รู้จักในชื่อ "ประเทศไทย 4.0" หรือ "Thailand 4.0" ซึ่งคุณภาพของคนในชาติ เป็นปัจจัยความสำเร็จการก้าวไปสู่วิสัยทัศน์ดังกล่าวที่สำคัญมากที่สุด

 

 
   ดังนั้น การปฐมนิเทศนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษาก่อนไป
ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา ปีการศึกษา 2560 จึงได้นำประสบการณ์การออกไปนิเทศนักศึกษารุ่นพี่ปีการศึกษา 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งยังพบข้อสังเกตหลายๆ ประการ ที่นักศึกษาในรุ่นต่อไปจำเป็นต้องนำมาปรับปรุง ได้แก่

  • นักศึกษายังไม่สามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีการจัดการเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างชัดเจน กระบวนการจัดการเรียนรู้ ยังไม่ต่างจากสภาพการเรียนการสอนของนักเรียน หรือของครูพี่เลี้ยงที่ผ่านมา 
  • นักศึกษายังใช้เวลาในการทำกิจกรรมเสริม กิจกรรมพิเศษของโรงเรียนมาก (อาจเป็นนโยบายของผู้บริหาร) ทำให้มีเวลาในการคิดวิเคราะห์เพื่อการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับทักษะในชีวิตจริง ซึ่งนักเรียนจำเป็นต้องใช้ในอนาคต เช่น การใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ กระบวนการทำงานเป็นทีม การสร้างลักษณะนิสัยกระหายใคร่รู้ ความรับผิดชอบ ยังเน้น ให้นักเรียนเห็นความสำคัญของคะแนนจากการทดสอบเป็นด้วยแบบทดสอบเป็นสำคัญ มากกว่าการประเมินพฤติกรรมหรือผลสำเร็จของการเรียนรู้ หรือจากชิ้นงานอย่างหลากหลาย ยังไม่สามารถให้ข้อเสนอแนะนักเรียนเป็นรายบุคคลได้
  • การวิจัยพัฒนาการเรียนรู้ ยังไม่ค่อยเชื่อมโยงกับปัญหาที่เกิดจริงๆ ในห้องเรียนหรือในโรงเรียน ผลการวิจัยยังไม่สามารถพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างเด่นชัด

กิจกรรมนิเทศนักศึกษาที่อยู่ในความดูแลในวันนี้ (2 พฤษภาคม 2560) จึงเป็นกิจกรรมสำคัญ เพื่อช่วยแนะนำให้นักศึกษาที่จะออกไปปฏิบัติหน้าที่ครูผู้สอนในโรงเรียน ได้รับรู้และเตรียมปรับตัวให้การลงพื้นที่ปฏิบัติการสอนให้มีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิ์ผลตามที่หลักสูตรครุศาตรบัณฑิต (ค.บ.5 ปี) สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษาตั้งเป้าหมายไว้ต่อไป ทั้งนี้ จะได้มีโอกาสติดตามผลงานของนักศึกษากลุ่มดังกล่าวผ่านเว็บบล็อกของนักศึกษาเอง และการเผยแพร่ในชุมชนของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

อ่านเพิ่มเติม:

วันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2560

แลกเปลี่ยนประสบการณ์การเข้าร่วมงาน Education ICT forum 2017

ระหว่างวันที่ 26-27 เมษายน 2560 ที่ผ่านมา มีโอกาสได้เข้าร่วมงาน Education ICT Forum 2017 (http://educationictforum.com) ซึ่งในปีนี้กำหนด Theme ของการจัดงานคือ How To Reform Education System to Accelerate Thailand 4.0 งานจัดขึ้น ณ ห้องวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ถ.แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ซึ่งงานดังกล่าวจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยเจ้าภาพหลัก คือกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศประเทศไทย โดยความร่วมมือและสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่ประชุมอธิการบดี
แห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิยาลัยเทคโนโลยีมหานคร มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิยาลัยราชภัฏจันทรเกษฒ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นต้น
     ในพิธีเปิดงานได้รับเกียรติจาก ดร.พิเชษฐ์ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งให้ประเด็นคิดที่สำคัญหลายๆ ประการ โดยเฉพาะการดำเนินงานของรัฐบาลในการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศสู่ ประเทศไทย 4.0 ในระยะ 20 ปีข้างหน้าตามยุทธศาสตร์ พ.ศ. 2560-2579 แต่ที่สำคัญคือ การพัฒนาศักยภาพของคนให้สามารถรองรับการพัฒนาในอนาคตที่เน้นการใช้เทคโนโลยี ซึ่งภาคการศึกษาโดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานรับผิดชอบการจัดการศึกษาทุกระดับของชาติ รวมทั้งการดูแลกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งจะเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่สำคัญในสังคมในอนาคตด้วย

 

 



  ประเด็นและสาระสำคัญที่ได้จากการเข้าร่วมสัมมนาที่นำมาแลกเปลี่ยนกันที่น่าสนใจ มีดังนี้
  • การปรับตัวของอุดมศึกษาไทย ทำอย่างไรที่จะรองรับการพัฒนาวิสัยทัศน์ชาติ "มั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" สู่ "ประเทศไทย 4.0" ด้วยวิกฤติคุณภาพการศึกษา คุณภาพบัณฑิตไทยที่ยังไม่ตอบสนองและสนับสนุนการพัฒนาไปสู่ประเทศไทย 4.0 หรือประเทศไทย 4.0 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดประดิษฐ์นวัตกรรม การสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยใช้บริบทของเทคโนโลยีของโลกที่ปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว 
  • การจัดการศึกษาที่เป็นแนวทางสนับสนุน Thailand 4.0 ที่สำคัญคือ ต้องปฏิรูปกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เน้น Active Learning ตัวอย่างเช่น การใช้ STEM (Science, Technology, Engineer, Mathematic) เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้  การพัฒนาโรงเรียนไปสู่  Innovative School ซึ่งจะเป็นรูปแบบที่ต่างปัจจุบัน เป็นต้น
  • ผลกระทบด้านการศึกษาของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้เรียนเป็นผู้เลือกในสิ่งที่สนใจและอยาก
    เรียนรู้ เช่น เทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้แบบเปิดสำหรับผู้สนใจเรียนกลุ่มใหญ่แบบออนไลน์
    ที่สามารถสมัครเข้าเรียนได้จากทั่วโลก เรียนกับผู้สอนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขา/วิชานั้นๆ จากอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับโลก หรือ จากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ เมื่อเรียนเสร็จได้ในใบรับรองคุณวุฒิ ที่เรียกว่าระบบการเรียนการสอนแบบ MOOC (Massive Open Online Course) เช่น Edx (https://www.edx.org) Saylor (https://www.saylor.org) Coursera (https://www.coursera.org) Khan Academy (https://www.khanacademy.org) เป็นต้น ซึ่งนวัตกรรมการเรียนรู้เหล่านี้ จะตอบสนองกับผู้เรียนยุค Gen Y หรือ Gen i ที่ต้องการเรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการรู้และนำไปใช้ได้จริงๆ เรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ มีชื่อเสียงระดับโลก ทำให้การจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยในรูปแบบปกติ ต้องนำไปพิจารณาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้กับระบบการเรียนการสอนในหลักสูตรปกติของมหาวิทยาลัย

   จากสาระสำคัญที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมสัมมนาครั้งนี้ ลองสืบค้นในอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับแนวคิดที่นักการศึกษาไทยนำเสนอเกี่ยวกับ Education 4.0 ที่จะรองรับแนวคิด Thailand 4.0 ก็พบว่าท่าน ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ได้นำเสนอสไลด์บรรยายเรื่อง การเรียนรู้สู่อนาคต: ความท้าทายในศตวรรษที่ 21 ไว้ อย่างน่าสนใจ  ท่านที่สนใจลองศึกษาเพิ่มเติมดู เพื่อเป็นแนวทางในการปรับตัวของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการศึกษาโดยตรง ทั้งเป็นผู้สอนและผู้กำหนดนโยบายขององค์กรด้านการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยไทย ที่นวัตกรรมเหล่านี้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยไทยอย่างแน่นอนในอนาคตอันใกล้นี้

เอกสารอ่านเพิ่มเติม:

วันพฤหัสบดีที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2560

การพัฒนาทักษะการสื่อสาร ทักษะการเขียน ทักษะการสรุปความด้วยเว็บบล็อก

[ชุมชนการเรียนรู้ใน Google+]
บทบาทของผู้สอนสำหรับผู้เรียนยุค Gen i (Internet Generation) ในปัจจุบันนี้และในอนาคตข้างหน้า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนเป็นศูนย์กลางการให้ความรู้ การสอน (Instruction) มาเป็นผู้ที่ออกแบบและสร้างสถานการณ์การเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในโลกความเป็นจริง มีบทบาทเป็นที่ปรึกษา เป็นผู้เสนอแนะข้อมูลและสารสนเทศที่ผู้เรียนนำไปช่วยในการตัดสินใจ นำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ให้เหมาะสม สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของตนเอง แต่ที่สำคัญจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้จากการลงมือทำ (Learning by Doing) ให้มากที่สุด โดยเฉพาะการสร้างทักษะการสรรค์สร้างผลงาน การสื่อสารและนำเสนอผ่านโลกอินเทอร์เน็ต ที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง ผู้สร้างสรรค์ มากกว่าการให้ผู้เรียนเป็นผู้เสพฝ่ายเดียว ผู้สอนควรสร้างแรงบันดาลใจ ด้วยโจทย์หรืองานที่ท้าทายแก่ผู้เรียน ที่สำคัญไม่ดูแคลนความสามารถของลูกศิษย์หรือผู้เรียน เพราะแหล่งเรียนรู้ ความรู้ ทุกสิ่งทุกอย่างในปัจจุบัน ผู้เรียนสามารถค้นหาและพบได้ในโลกอินเทอร์เน็ต หรือกล่าวได้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในโลกอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า Internet of Things: IoTs ได้ทั้งสิ้น (โปรดอ่านเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ http://oho.ipst.ac.th/internet-of-things)


    จากประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ในรายวิชาการจัดการสารสนเทศด้านการศึกษา ในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ. 5 ปี) สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หรือ มรย. (http://www.yru.ac.th) ในรายละเอียดวิชา (มคอ.3) ได้มีการกำหนดผลการเรียนรู้ในด้านที่ 5 ไว้ คือด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไว้ ได้แก่ (1) วิเคราะห์สรุปความคิดรวบยอด เกี่ยวกับศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์ (2) ความสามารถใน
 การสื่อสาร มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการแสวงหาความรู้ และการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม ซึ่งผู้สอนได้กำหนดวิธีการประเมินผลจากการพัฒนาเว็บบล็อกจัดการความรู้ สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้แต่ละครั้งจากทั้งผู้สอนและเพื่อนร่วมกลุ่ม เพื่อนร่วมชั้นเรียน นำเสนอผ่านเว็บบล็อกของผู้เรียนเอง ซึ่งพัฒนาด้วย Blogger (http://www.blogger.com) โดยมหาวิทยาลัยฯ ทำ MoU กับบริษัท Google ในการใช้ Google App for Education เป็นเครื่องมือจัดการเรียนรู้ ผลงานที่นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา จำนวน 30 คน ได้พัฒนาเว็บบล็อก นำเสนอผลการเรียนรู้ที่ได้จากการเรียนรู้แต่ละครั้ง รวมทั้งนำเสนอกิจกรรมของการทำงานมอบหมายการทำโครงการ (Project) ของทีม ซึ่งใช้ Project-based Learning: PjBl เป็นกิจกรรมสำคัญของการเรียนรู้ในรายวิชา ซึ่งข้อสังเกตของผู้สอนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้น แต่ละคนสามารถสร้างผลงานเว็บบล็อก ตกแต่งและสรรค์สร้างวิธีการนำเสนอ รวมทั้งการแชร์เว็บบล็อกของตนเองให้แก่ผู้สอนและผู้เรียนคนอื่นๆ ในชุมชน Google+ ซึ่งมีรุ่นพี่ที่เคยลงทะเบียนเรียนในรายวิชานี้เป็นสมาชิกชุมชนด้วย ที่สำคัญการสะสมองค์ความรู้ รวมทั้งประวัติของผู้เรียนในเว็บบล็อกตนเอง จะเป็นประโยชน์ต่อการนำกลับมาใช้ในอนาคน
    ต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างผลการพัฒนาเว็บบล็อกของผู้เรียน ซึ่งอาจเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาอื่นๆ (หรืออาจใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาผู้เรียนในหลักสูตรตลอดระยะเวลา 4-5 ปี ทั้งนี้ ผู้สอนจะต้องตกลงกันในหลักสูตร) ซึ่งเห็นว่าการใช้เว็บบล็อกในการจัดการเรียนรู้ร่วมกับระบบอีเลิร์นนิ่ง ร่วมกับเครื่องมือ Socail Media หรือการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนปกติ สามารถสร้างทักษะต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการลงมือทำของผู้เรียนได้ เช่น ทักษะการสื่อสาร การนำเสนอ ทักษะการใช้ไอซีทีในฐานะเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงาน ที่สำคัญคือทักษะการสรุปสาระการเรียนรู้จากการฟัง การอ่านเอกสารประกอบการสอนในแต่ละครั้ง สามารถนำเสนอในเว็บบล็อกของตนเอง เป็นการสร้างทักษะการฟัง การคิด การวิเคราะห์ การเขียน การนำเสนอในสื่อสังคมออนไลน์อย่างเป็นระบบ ที่สำคัญอย่างยิ่ง เป็นการสร้างลักษณะนิสัยสำคัญคือ ความรับผิดชอบต่อตนเอง การฝึกลักษณะนิสัยการตรงต่อเวลา ความขยันหมั่นเพียร ได้อีกด้วย ดังนั้น จึงขอยกตัวอย่างผลการพัฒนาเว็บบล็อกของผู้เรียนในรายวิชา ดังนี้

  1. รหัส 405709001 นายสุไฮมิง เจ๊ะหลง http://ict405709001.blogspot.com 
  2. รหัส 405709002 นางสาวอัฟรีมา ลาแห http://afreema002.blogspot.com 
  3. รหัส 405709003 นางสาวสอลีห๊ะ สุและเลาะ http://sol003.blogspot.com
  4. รหัส 405709004 นายอับดุลการีม มะดีเยาะ http://am-ka.blogspot.com
  5. รหัส 405709005 นางสาวไอนี สะหะเม๊าะ http://ainee-s.blogspot.com/
  6. รหัส 405709006 นายมูฮัมมัดอณุวาห์ เจ๊ะมะ http://annur006.blogspot.com
  7. รหัส 405709007 นายอิมรอน สุหลง http://405709007.blogspot.com
  8. รหัส 405709008 นางสาวอาตีกะห์ เตาวตู http://at09008.blogspot.com
  9. รหัส 405709009 นางสาวซูไบดะห์ ลาเต๊ะ http://sl009.blogspot.com/
  10. รหัส รหัส 405709010 นางสาวนัสริน โซ๊ะสะอิ http://rin10.blogspot.com
  11. รหัส 405709011 นางสาวเบญจวรรณ พุทธฤทธิ์ http://benjavan09011.blogspot.com
  12. รหัส 405709012 นางสาวโซฟียา เปาะจิ http://sofeeyapohji.blogspot.com
  13. รหัส 405709014 นางสาวตอยีบะห์ ซากา http://toyibah405709014.blogspot.com
  14. รหัส 405709017 นางสาวยามีลา อาแซ http://yamila017.blogspot.com
  15. รหัส 405709018 นางสาวฟิตรี โตะกือจิ http://ft09018.blogspot.com
  16. รหัส 405709019 นายอากรัน อาแด http://aa09019.blogspot.com
  17. รหัส 405709020 นางสาวสนธเยศ นามสกุล ขำนุรักษ์ http://sontayat.blogspot.com
  18. รหัส 405709021 นายซอลาฮุดดีน อาแวกะจิ http://sa09021.blogspot.com
  19. รหัส 405709022 นายมุฮตาซีดีน เดียได http://muhtasideenict.blogspot.com
  20. รหัส 405709023 นางสาวพาอีซะห์ สะแม http://ps09023.blogspot.com
  21. รหัส 405709024 นางสาวนูรีซา เจ๊ะมามะ http://sc09024.blogspot.com
  22. รหัส 405709025 นางสาวซาเดีย แก้วเพ็ชร์ http://sadiapretty.blogspot.com
  23. รหัส 405709029 นายมะรอกิ มามะ  http://marokicomart.blogspot.com
  24. รหัส 405709030 นายสมยศ ดีวิจิตร http://sd09030.blogspot.com
  25. รหัส 405709033 นายไฟซอล มามะ http://fm09033.blogspot.com
  26. รหัส 405709034 นางสาวอัสมะ มะเร๊ะ  http://am09034.blogspot.com
  27. รหัส 405709035 นางสาว มาลีนี ลอแม  http://ict09035.blogspot.com
  28. รหัส 40570903ุ6 นางสาวอัสมาดี สาหะ  http://as09036.blogspot.com
  29. รหัส 405709037 นายอัมรัณ แปซะ http://ap09037.blogspot.com 
  30. รหัส 405709038 นายนิรสลัน จิใจ http://niroslanjijai.blogspot.com
สำหรับผลการประเมินความรู้ ความสามารถ และทักษะที่เกิดขึ้น หลังจากการประเมินผลผู้เรียนและผลการเรียนในรายวิชา จะได้นำเสนอข้อมูลและสารสนเทศเป็นบทความในโอกาสต่อไป

วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2560

ทิศทางและโจทย์วิจัยการศึกษาของไทย: กรอบคิดสู่การพัฒนาสำหรับนักการศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง

[Download]
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (http://www.onec.go.th) ซึ่งเป็นองค์กรภาครัฐ เป็นแท่งหนึ่งในกระทรวงศึกษาธิการในทั้งหมด 5 องค์กรหลัก ซึ่งได้แก่  1) สำนักงานปลัดกระทรวง 2) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 3) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 4) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ 5) สำนักงานคณะกรรมการเลขาธิการสภาการศึกษา

โดยที่สำนักงานคณะกรรมการเลขาธิการสภาการศึกษา มีพันธกิจที่สำคัญ
(http://www.onec.go.th/index.php/page/category/CAT0001068)

ดังนี้

[Download]
     1. จัดทำและขับเคลื่อนนโยบาย แผน และมาตรฐานด้านการศึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมความเสมอภาคของโอกาสทางการศึกษา และการมีงานทำ        2. ดำเนินงานวิจัย และส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยเพื่อจัดทำและพัฒนานโยบาย แผน และมาตรฐานด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ        3. ดำเนินงานติดตาม ประเมินผล และพัฒนาระบบประเมินผลด้านการจัดการศึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์        4. ดำเนินงานเกี่ยวกับกฎหมายด้านการศึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์        5. สร้างการมีส่วนร่วมในการจัดทำและขับเคลื่อนด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 
       6. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กร โดยใช้หลักธรรมาภิบาล


ที่มา: สำนักงานสภาการศึกษา. (2559). ทิศทางและโจทย์วิจัยของการศึกษาไทย เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก.  จาก http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1476-file.pdf 

เอกสารทางวิชาการ การรายงานเรื่อง “การวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรมและภูมิปัญญาทางการศึกษา" และเรื่อง "กรอบและทิศทางการวิจัยทางการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา"  ซึ่งเป็นผลงานที่เผยแพร่โดยสำนักงานคณะกรรมการเลขาธิการสภาการศึกษา นับเป็นประโยชน์ต่อนักการศึกษาของชาติ นักเรียน/นักศึกษาที่สนใจหรือกำลังศึกษาด้านครุศาสตร์ ด้านศึกษาศาสตร์ ด้านการศึกษา  รวมทั้งครู-อาจารย์ นักการศึกษาในโรงเรียน สถานศึกษา สถาบันการศึกษา ในการที่จะศึกษาเป็นแนวคิด เป็นกรอบและแนวทางในการพัฒนาการศึกษาของชาติ ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง การพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับสาระสำคัญในรายงาน หรือการทำวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้อง หรือตามความถนัดและความสนใจของนักวิจัยด้านการศึกษาเอง โดยหวังว่าผลการวิจัยที่เกิดขึ้น จะเป็นประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาของชาติให้มีคุณภาพยิ่งๆ ขึ้นต่อไป

วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2560

การเรียนรู้จากการปฏิบัติการวิจัยชั้นเรียนนักศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา

การจัดการเรียนรู้ในรายวิชาปฏิบัติการสอน 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาคอมพิวเตอร์ (หรือสาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งอยู่ในความดูแลของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรท่านละ 5-6 คน ผลงานวิจัยพัฒนาการเรียนรู้หรือวิจัยนวัตกรรมชั้นเรียน เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลในรายวิชาปฏิบัติการสอน 2 ของนักศึกษาในสายครู (ครุศาสตรบัณฑิต) ซึ่งร่วมกันผลิตในบางสาขาวิชาระหว่างคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร และคณะครุศาสตร์ในบางสาขาวิชา เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทั่วไป และคอมพิวเตอร์ โดยใช้ความแข็งแกร่งด้านวิชาการหรือในศาสตร์เฉพาะของคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร (http://science.yru.ac.th)  และความเข้มข้นของกิจกรรมเสริม/กิจกรรมในหลักสูตรพัฒนาครู โดยหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ (http://edu.yru.ac.th)
 

 


    สำหรับการทำวิจัยชั้นเรียนหรือพัฒนาการเรียนรู้ มุ่งเน้นในนักศึกษาปฏิบัติการสอนได้นำองค์ความรู้ที่ได้จากหลักสูตรไปแก้ปัญหาในชั้นเรียน โดยเฉพาะปัญหาหาการขาดแรงจูงใจ ขาดความสนใจ ความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ในรายวิชา โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning  จากการประเมินในเบื้องต้น หัวข้อที่นักศึกษาสนใจจัดทำวิจัยชั้นเรียน จนสำเร็จเป็นเล่มรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์  (เพื่อการประกอบการประเมินผลการเรียนในรายวิชาโดมีสัดส่วน 10% แต่งานที่นักศึกษาทำค่อนข้างหนักมาก) มีรายชื่อวิจัยดังนี้
  1. ผลการใช้รูปแบบจัดการเรียนรู้เสริมทักษะการทำงานเป็นทีมโดยใช้ Team – based Learning ร่วมกับ Google App
     ผู้วิจัย นางสาวนพมาศ เจ๊ะกา
  2. ผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยใช้สื่อบนเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด
    ผู้วิจัย นายหญะร็อลอัสวัด ทองดี
  3. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ผ่านเว็บโดยใช้ Classstart เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านทรายทอง)
    ผู้วิจัย นางสาวฮาคีมะห์ สือแม
  4. การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้โปรแกรมประยุกต์ Google App สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านปะลุกาสาเมาะ
    ผู้วิจัย นายอาหะมะไฟโรส โตะละ
  5. การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาคอมพิวเตอร์กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยใช้ โครงงานเป็นฐาน สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
    ผู้วิจัย นางสาวซัฟวานี ดอเลาะ
  6. การพัฒนาเว็บบล็อก เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ รายวิชาการงานอาชีพ 
    และเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 
    ผู้วิจัย นางสาวนูรีซา ลาแมปาแด

   จากข้อสังเกตและติดตามประเมินผลการดำเนินงานวิจัยของนักศึกษาปฏิบัติการสอน พบว่าสามารถเรียนรู้และดำเนินเนินการวิจัยจนสำเร็จได้ ด้วยความอุตสาหะ มานะพยายาม ซึ่งคาดว่านักศึกษาในสาขาวิชาทุกคน จะมีคุณลักษณะเดีียวกัน จึงนับเป็นอนาคตของการศึกษาในพื้นที่ ที่จะได้ครูที่มีคุณภาพ เก่งในเรื่องของศาสตร์ที่เรียน มีทักษะการสอนเน้นการใช้ไอซีที จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่กระตุ้นผู้เรียนให้สนใจ ได้ลงมือทำด้วยตนเอง ครูเหล่านี้ ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษาของชาติในประเด็น "ปฎิรูปกระบวนการจัดการเรียนรู้" ให้สำเร็จลุล่วงได้ต่อไป