สำหรับคำหรือ Technical Term อื่นๆ ที่ใช้เรียก Learning Object ได้แก่ content objects, chunks, educational objects, information objects, intelligent objects, knowledge bits, knowledge objects, learning components, media objects, reusable curriculum components, nuggets, reusable information objects, reusable learning objects, testable reusable units of cognition, training components, and units of learning
ประโยชน์ของการพัฒนา Learning Object คือ เพื่อสร้างมาตรฐานและเกิดความสะดวกในการแลกเปลี่ยนบทเรียนหรือวัตถุการเรียนรู้ในการเผยแพร่ใน LMS ต่างกันและการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reusable) การนำบทเรียนไปใช้อย่างอิสระที่มีองค์ประกอบพร้อมสำหรับการเรียนรู้ (Self-contained) นอกจากนั้น สะดวกในการผนวกรวมแต่ละ Learning Object ให้เป็นบทเรียน (Lesson) หรือเรียกว่า Aggregated และที่สำคัญแต่ละ Learning Object สามารถผนวกรวมสารสนเทศของบทเรียนที่เรียกว่า Metadata รวมไว้ใน Learning Object ทำให้สะดวกต่อการค้นหาและค้นคืนนำกลับมาใช้ได้ง่ายอีกด้วย
ตัวอย่างของ Learning Object ของไทยที่มีผู้พัฒนาและเผยแพร่ไว้ ได้แก่
- http://media.sut.ac.th/media/e-Courseware/ My Media for Ubiquitous ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- http://play.ipst.ac.th/ Lo วิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของ สสวท.
- http://203.146.15.109/lms/content/learningobject/main.html ความรู้และตัวอย่าง Lo ของ สสวท.
- http://www.il.mahidol.ac.th/th/index.php/2012-09-11-07-31-53/2012-09-12-07-13-09.html e-Media ของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น