วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2560

ทิศทางและโจทย์วิจัยการศึกษาของไทย: กรอบคิดสู่การพัฒนาสำหรับนักการศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง

[Download]
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (http://www.onec.go.th) ซึ่งเป็นองค์กรภาครัฐ เป็นแท่งหนึ่งในกระทรวงศึกษาธิการในทั้งหมด 5 องค์กรหลัก ซึ่งได้แก่  1) สำนักงานปลัดกระทรวง 2) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 3) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 4) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ 5) สำนักงานคณะกรรมการเลขาธิการสภาการศึกษา

โดยที่สำนักงานคณะกรรมการเลขาธิการสภาการศึกษา มีพันธกิจที่สำคัญ
(http://www.onec.go.th/index.php/page/category/CAT0001068)

ดังนี้

[Download]
     1. จัดทำและขับเคลื่อนนโยบาย แผน และมาตรฐานด้านการศึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมความเสมอภาคของโอกาสทางการศึกษา และการมีงานทำ        2. ดำเนินงานวิจัย และส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยเพื่อจัดทำและพัฒนานโยบาย แผน และมาตรฐานด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ        3. ดำเนินงานติดตาม ประเมินผล และพัฒนาระบบประเมินผลด้านการจัดการศึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์        4. ดำเนินงานเกี่ยวกับกฎหมายด้านการศึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์        5. สร้างการมีส่วนร่วมในการจัดทำและขับเคลื่อนด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 
       6. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กร โดยใช้หลักธรรมาภิบาล


ที่มา: สำนักงานสภาการศึกษา. (2559). ทิศทางและโจทย์วิจัยของการศึกษาไทย เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก.  จาก http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1476-file.pdf 

เอกสารทางวิชาการ การรายงานเรื่อง “การวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรมและภูมิปัญญาทางการศึกษา" และเรื่อง "กรอบและทิศทางการวิจัยทางการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา"  ซึ่งเป็นผลงานที่เผยแพร่โดยสำนักงานคณะกรรมการเลขาธิการสภาการศึกษา นับเป็นประโยชน์ต่อนักการศึกษาของชาติ นักเรียน/นักศึกษาที่สนใจหรือกำลังศึกษาด้านครุศาสตร์ ด้านศึกษาศาสตร์ ด้านการศึกษา  รวมทั้งครู-อาจารย์ นักการศึกษาในโรงเรียน สถานศึกษา สถาบันการศึกษา ในการที่จะศึกษาเป็นแนวคิด เป็นกรอบและแนวทางในการพัฒนาการศึกษาของชาติ ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง การพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับสาระสำคัญในรายงาน หรือการทำวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้อง หรือตามความถนัดและความสนใจของนักวิจัยด้านการศึกษาเอง โดยหวังว่าผลการวิจัยที่เกิดขึ้น จะเป็นประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาของชาติให้มีคุณภาพยิ่งๆ ขึ้นต่อไป

วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2560

การเรียนรู้จากการปฏิบัติการวิจัยชั้นเรียนนักศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา

การจัดการเรียนรู้ในรายวิชาปฏิบัติการสอน 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาคอมพิวเตอร์ (หรือสาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งอยู่ในความดูแลของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรท่านละ 5-6 คน ผลงานวิจัยพัฒนาการเรียนรู้หรือวิจัยนวัตกรรมชั้นเรียน เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลในรายวิชาปฏิบัติการสอน 2 ของนักศึกษาในสายครู (ครุศาสตรบัณฑิต) ซึ่งร่วมกันผลิตในบางสาขาวิชาระหว่างคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร และคณะครุศาสตร์ในบางสาขาวิชา เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทั่วไป และคอมพิวเตอร์ โดยใช้ความแข็งแกร่งด้านวิชาการหรือในศาสตร์เฉพาะของคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร (http://science.yru.ac.th)  และความเข้มข้นของกิจกรรมเสริม/กิจกรรมในหลักสูตรพัฒนาครู โดยหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ (http://edu.yru.ac.th)
 

 


    สำหรับการทำวิจัยชั้นเรียนหรือพัฒนาการเรียนรู้ มุ่งเน้นในนักศึกษาปฏิบัติการสอนได้นำองค์ความรู้ที่ได้จากหลักสูตรไปแก้ปัญหาในชั้นเรียน โดยเฉพาะปัญหาหาการขาดแรงจูงใจ ขาดความสนใจ ความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ในรายวิชา โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning  จากการประเมินในเบื้องต้น หัวข้อที่นักศึกษาสนใจจัดทำวิจัยชั้นเรียน จนสำเร็จเป็นเล่มรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์  (เพื่อการประกอบการประเมินผลการเรียนในรายวิชาโดมีสัดส่วน 10% แต่งานที่นักศึกษาทำค่อนข้างหนักมาก) มีรายชื่อวิจัยดังนี้
  1. ผลการใช้รูปแบบจัดการเรียนรู้เสริมทักษะการทำงานเป็นทีมโดยใช้ Team – based Learning ร่วมกับ Google App
     ผู้วิจัย นางสาวนพมาศ เจ๊ะกา
  2. ผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยใช้สื่อบนเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด
    ผู้วิจัย นายหญะร็อลอัสวัด ทองดี
  3. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ผ่านเว็บโดยใช้ Classstart เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านทรายทอง)
    ผู้วิจัย นางสาวฮาคีมะห์ สือแม
  4. การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้โปรแกรมประยุกต์ Google App สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านปะลุกาสาเมาะ
    ผู้วิจัย นายอาหะมะไฟโรส โตะละ
  5. การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาคอมพิวเตอร์กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยใช้ โครงงานเป็นฐาน สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
    ผู้วิจัย นางสาวซัฟวานี ดอเลาะ
  6. การพัฒนาเว็บบล็อก เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ รายวิชาการงานอาชีพ 
    และเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 
    ผู้วิจัย นางสาวนูรีซา ลาแมปาแด

   จากข้อสังเกตและติดตามประเมินผลการดำเนินงานวิจัยของนักศึกษาปฏิบัติการสอน พบว่าสามารถเรียนรู้และดำเนินเนินการวิจัยจนสำเร็จได้ ด้วยความอุตสาหะ มานะพยายาม ซึ่งคาดว่านักศึกษาในสาขาวิชาทุกคน จะมีคุณลักษณะเดีียวกัน จึงนับเป็นอนาคตของการศึกษาในพื้นที่ ที่จะได้ครูที่มีคุณภาพ เก่งในเรื่องของศาสตร์ที่เรียน มีทักษะการสอนเน้นการใช้ไอซีที จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่กระตุ้นผู้เรียนให้สนใจ ได้ลงมือทำด้วยตนเอง ครูเหล่านี้ ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษาของชาติในประเด็น "ปฎิรูปกระบวนการจัดการเรียนรู้" ให้สำเร็จลุล่วงได้ต่อไป