วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การบริหารผู้บังคับบัญชาให้มีประสิทธิภาพ


เมื่อ วันที่ 10 กรกฎาคม 2556  เวลา 13.00-16.00 น. ได้มีโอกาสเข้าฟังการบรรยาย  เรื่อง  "ภาวะผู้นำกับการพัฒนาการศึกษาไทย"  ณ หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  จัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมีท่าน ศ.นพ.ดร. กระแส ชนะวงศ์  เป็นวิทยากรซึ่งมีชื่อเสียง (นายแพทย์รางวัลแมกไซไซ) เป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และเป็นผู้สร้างประโยชน์นานัปการแก่แผ่นดินไทย เป็นแบบอย่างที่ดีของผู้ประกอบวิชาชีพนายแพทย์ ผู้บริหาร นักการเมือง และที่สำคัญคือ เป็นแบบอย่างของครูที่ดีของศิษย์และเป็นต้นแบบของนักการศึกษาที่ดี 
        จากข้อคิดที่ได้มีประเด็นที่น่าสนใจนอกจากเรื่องของภาวะผู้นำ นอกจากภาวะผู้นำของผู้บริหารแล้ว ในฐานะที่เราเองเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ควรมีภาวะผู้นำในบทบาทของผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย เรียกว่า "การบริหารผู้บังคับบัญชา"  ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องเรียนรู้ พึงนำไปปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานในหน้าที่หรืออาชีพของเราประสบความสำเร็จ ผู้บริหารภาคภูมิใจ โดยท่านเสนอประเด็นการปฏิบัติตนของผุู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อเป็นผู้ชี้นำหรือบริหารจัดการผู้บังคับบัญชา ไว้หลายประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
    1. ฟังให้เป็น จับประเด็นให้ได้  หมายถึง การฟังผู้บังคับบัญชาอย่าฟังแค่ตามมารยาท แต่ฟังแล้วต้องจับประเด็นให้ได้ ไม่ว่าท่านจะพูดอ้อมค้อมอย่างไร สมมติผู้บังคับบัญชาเป็นผู้หญิง ซึ่งมีความละเอียดอ่อนมาก ท่านอาจจะกำลังแพ้ท้อง แต่อาจจะไม่พูดตรงว่าอยากให้เราไปซื้อมะขามหวานให้กิน แต่อาจจะพูดไปว่า “ที่เพชรบูรณ์ หรือที่ไหนนะที่มีมะขามอร่อย” .....คนเป็นผู้นำจะมีจินตนาการมากมาย อาจเหมือนคุนฟุ้งซ่านด้วยซ้ำ แต่ถ้าเราหัดฟังให้เป็น และสามารถจับประเด็นได้ เราจะสามารถเตรียมงานนำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาได้
    2.พูดให้เป็น มีประเด็นให้คิด  ต้องพูดให้สั้นและตรงประเด็นเพราะเราเป็นลูกน้อง ไม่มีสิทธิ์พูดยาวอ้อมค้อมไปมา วิธีพูดจะต้องเตรียมตัวให้ดี เพราะถ้าผู้บังคับบัญชาเตรียมตัวไม่ดีพอ อาจเป็นการสร้างความรำคาญใจ และทำให้บรรยากาศการทำงานเสีย

    3.ต้องมีศิลปะการทูต  หากนักการพูดพูด “Yes” ขอให้คิดว่าค่อนข้างดี แม้อาจจะไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าหากนักการฑูตคนนั้นพูด “N0” แสดงว่าคนๆ นั้นไม่ใช่นักการฑูตที่ดี
    ดังนั้น หากเราเป็นลูกน้อง ถึงแม้จะไม่เห็นด้วยกับเจ้านาย เพราะผู้บังคับบัญชาอาจมีเรื่องต้องคิดต้องทำมาก คิดอาจจะเกินบ้าง ขาดบ้าง เราต้องดูจังหวะแห่งการปฏิเสธให้เหมาะสม

    4.ต้องไม่เป็นคนมีปัญหา คนทุกคนล้วนมีประโยชน์ คำพังเพยบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า “รกคนดีกว่ารกหญ้า” เราต้องรู้จักหาทางทำในสิ่งที่บังเกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่ายเพราะทุกคนมีธรรมชาติที่เหมือนกันอย่างหนึ่งคือ หากได้รับการชมเชยจะทำให้ทำงานได้มากขึ้น

    5.ต้องรู้จักเสริมภาพพจน์ผู้บังคับบัญชา หากเราให้เครดิตยกย่องชมเชยแก่ผู้บังคับบัญชา อย่ากลัวว่าเราจะไม่ได้หน้า เพราะเครดิตทั้งหลายที่ให้แก่ผู้บังคับบัญชานั้น ย่อมล้นกลับมาหาเราเอง

    6.มองงานในแง่บวก มองโลกในแง่ดี  “There is always problem in every answer” ทุกคำตอบล้วนมีปัญหา งานทุกอย่างอาจมีปัญหาขัดข้อง แต่ขอให้เรามองโลกในแง่ดี มองในแง่บวก ถ้าได้ตัดสินใจร่วมกันแล้ว ต้องร่วมกันทำอย่างจริงจัง คนที่ไม่อยากทำงาน คือคนที่มีเค้าแห่งความไม่สำเร็จอยู่ในใจ

    7.ไม่ต้องทำงานเกินเวลาค่ำ แต่จงทำงานเช้าก่อนเวลา  การทำงานแต่เช้าก่อนเวลา แสดงถึงความกระตือรือร้นกระชุ่มกระชวย เสียสละ และร่างกายก็ยังสดชื่น แต่การทำงานเกินเวลาจนค่ำอาจแสดงถึงยังทำงานไม่เสร็จ หรือเรายังไม่ได้ทำอะไรอีกหลายอย่าง

    8.จงรักษาคำมั่นสัญญา หากได้ให้คำมั่นสัญญาไว้กับผู้บังคับบัญชาว่างานจะแล้วเสร็จภายใน 5 วันก็ต้องทำให้เสร็จ ถ้าไม่เสร็จ ต้องรีบบอกผู้บังคับบัญชาให้ทราบสาเหตุ มิฉะนั้นจะแสดงว่าเราไม่จริงจังกับงาน อย่าปล่อยให้งานค้างเติ่ง พอผู้บังคับบัญชาถามทีก็สะดุ้งที เพราะไม่มีคำตอบ ได้แต่ขอโทษ การขอโทษเรื่องเดิมบ่อยๆ ไม่ใช่สิ่งที่นำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าอย่างแน่นอน

    9.ต้องรู้จักจุดอ่อนผู้บังคับบัญชา  การศึกษาจุดอ่อนผู้บังคับบัญชา เพื่อไม่ให้จุดใต้ตำตอ ไปสร้างเรื่องให้เจ้านาย เกิดความรู้สึกเป็นปมด้อย อันจะกระทบถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างเรากับเจ้านาย 
    ท่านครับ ใครๆ ก็ชมท่าน แต่ถ้าหากท่านไปเรียนรามคำแหงเอาความรู้เพิ่มเติมเสียหน่อยก็จะดีนะครับ”“ท่านครับ ท่านดีไปทุกอย่างเลยครับ แต่ลูกชายคนเล็กท่านไม่ไหวเลย ถ้าท่านพัฒนาอบรมลูกท่านได้ ผมว่าท่านจะมีชื่อเสียงมากนะครับ”ก่อนที่เจ้านายจะมีชื่อเสียง ลูกน้องที่บังอาจนำเสนอ อาจจะได้ยินเสียงที่ไม่พึงปรารถนาจากเจ้านายเสียก่อน

    10.อย่าใกล้ชิดผู้บังคับบัญชาจนเกินไป มีคนขยายความว่า “ผู้บังคับบัญชาเหมือนดังพระอาทิตย์” เข้าใกล้เกินไปก็ถูกแผดเผาจนร้อน ห่างเกินไปก็ขาดแสงสว่างจนมือมิด
    อย่างไรก็ตาม ผู้ใต้บังคับบัญชาที่สามารถปฏิบัติงานและปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องได้ทั้ง 10 ข้อ  ก็น่าจะมีโอกาสถูกบริหารจากผู้ใต้บังคับบัญชาในอนาคตก็ได้ นั่นหมายถึง มีโอกาสเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้บริหารเนื่องจากมีความรู้ความสามารถในการบริหารคนและบริหารงานนั่นเอง
    อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://thethanika.blogspot.com/2010/09/10.html
http://www.yru.ac.th/web54/news/detail/1085/readnews-001085.html

ไม่มีความคิดเห็น: