วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การประเมินพฤติกรรมด้านจิตพิสัย "มีวินัย มีจิตสาธารณะ และมีสัมมาคารวะ" ในระบบอีเลิร์นนิ่ง

 
     การจัดการการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่งที่บริหารจัดการด้วย Moodle LMS สามารถประยุกต์ใช้ในการสังเกตพฤติกรรมด้านจิตพิสัย โดยใช้กิจกรรม บันทึกความก้าวหน้า (Journal Module) สร้างกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้นักศึกษาแต่ละคนบันทึกพฤติกรรมที่แสดงออกซึ่งจิตพิสัยของตนเองที่ได้ปฏิบัติในแต่ละสัปดาห์ (ผู้สอนต้องเชื่อมั่นว่านักศึกษามีความซื่อสัตย์ในการบันทึก)  ตัวอย่างเช่น นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งคณะกำหนดให้มีพฤติกรรมที่ส่งเสริมด้านคุณธรรมจริยธรรม (เกณฑ์ สกอ. 2.8)  คือ "มีวินัย มีจิตสาธารณะ มีสัมมาคารวะ"

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

แนะนำเว็บไซต์: โครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย

     โครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย (One Tablet Per Child: OTPC) นับเป็นโครงการการในการส่งเสริมการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ เพื่อเป็นการลดช่องว่างทางการศึกษา โอกาสในการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้  โครงการดังกล่าวส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาผู้เรียนไปสู่ระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นจริงได้ ต้องอาศัยบทบาทของครูผู้สอน และผู้ปกครองที่จะต้องปรับตัวเป็นที่ปรึกษาในการเรียนรู้ให้แก่เด็กนักเรียน ดังนั้น ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะ (เทคนิคการสอน) ในการใช้เครื่อง Tablet สำหรับการเรียนการสอนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง อาจมากกว่าการมีอุปกรณ์แท็บเล็ตในโรงเรียน ซึ่งอาจไม่เกิดประโยชน์ใดๆ หากบุคลากรทางการศึกษา ขาดเจตคติที่ดี ขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดทักษะในการประยุกต์ใช้ Tablet อย่างถูกต้อง ผู้สนใจศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์  http://www.otpc.in.th

ThaiSmartEducation: เว็บไซต์จัดมหกรรมกิจกรรมปฏิรูปการศึกษาไทย



...เพื่อมุ่งให้เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอน เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ โดยนโยบายของรัฐมนตรีว่าการ (นายจาตุรนต์  ฉายแสง) จึงดำริให้มีการจัดมหกรรมการเรียนการสอนขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่วิธีการและแนวคิดใหม่ด้านการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เข้าประชุมสัมมนาและร่วมในกิจกรรมอื่นๆ ของมหกรรมได้แนวคิดและสามารถนำกลับไปปฏิบัติ ณ สถานศึกษา หรือหน่วยงานของตนได้ทันที  และสามารถสร้างเครือข่ายกับผู้เชี่ยวชาญที่นำเสนอวิธีการรวมทั้งกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมคนอื่นๆ เพื่อให้กลายเป็นประชาคมวิชาการที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ อันจะทำให้เกิดขึ้นได้อย่างถาวรและกว้างขวาง...
ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://www.thaismarteducation.com

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Facebook เครือข่ายสังคมออนไลน์อันดับ 1 ใน 10 กับการประยุกต์ใช้เพื่อการเรียนการสอน

 
 
       ปัจจุบันนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า "เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network)" เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้คนในยุคนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในวัยเด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนคนวัยทำงานทั่วไป ไม่เว้นแม้แต่ผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณอายุราชการแล้ว ที่หลายคนหันมาฝึกเล่น สมัครเป็นสมาชิกสังคมเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันต้องยกให้เว็บไซต์ Facebook (http://www.facebook.com) ที่เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผู้สมัครเป็นสมาชิกมากถึง 750 คน ครองตำแหน่งเครือข่ายสังคมออนไลน์อันดับ 1 มายาวนาน ตามมาด้วย Twitter (http://www.twitter.com) จำนวนสมาชิก 250 ล้านคน Linkedin (https://www.linkedin.com/) จำนวน 110 ล้านคน  ส่วน Google+ ก็กำลังไล่ตามมาติดๆ ขยับอันดับขึ้นมาเรื่อยๆ อยู่ในอันดับที่ 6 ด้วยยอดสมาชิก 65 ล้านคน

วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน: แนวทางการจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่งให้สำเร็จตามเป้าหมาย

      ผู้สอนที่มีประสบการณ์การจัดกาเรียนการสอนหรือการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่งหลายท่าน คงจะประสบปัญหาสำคัญประการหนึ่งคือ การที่ผู้เรียนไม่เข้าใช้ระบบอีเลิร์นนิ่ง มักใช้เวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิงหรือการสื่อสารส่วนบุคคลเป็นหลัก  เช่น การใช้ Facebook, Youtube เป็นต้น ซึ่งทำให้การลงทุนในการพัฒนารายวิชาสอนในระบบอีเลิร์นนิ่งไม่คุ้มค่า ส่งผลให้การลงทุนด้าน ICT ของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาไม่คุ้มทุน ไม่ส่งผลทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์แก่ผู้เรียนสูงขึ้น ผู้เรียนไม่เกิดทักษะการเรียนรู้หรือทักษะการสืบค้น 
     แนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหา คือ การใช้เทคนิคการใอนโดยเน้น  กิจกรรมการเรียนรู้เป็นฐาน (Activity-based Learning: ABL) มากกว่าการมุ่งสร้างหรือผลิตสื่อที่มีคุณสมบัติครบถ้วนด้านมัลติมีเดีย ซึ่งต้องใช้เวลาและความพยายามสูงในการพัฒนา และเมื่อพัฒนาจนประสบผลสำเร็จแล้ว ยังไม่สามารถควบคุมให้ผู้เรียนเข้าเรียนบทเรียนได้ ทำให้ไม่คุ้มทุนกับที่ลงมือลงแรงผลิตบทเรียน ทางเลือกในการจัดการเรียนการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่งก็คือ ผู้สอนค้นหาและเลือกสื่อจากอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสม โดยเฉพาะในสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Youtube  SlideShared   MIT Open Courseware เป็นต้น
        การเรียนโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน หรือ ABL เป็นการเรียนรู้ที่เน้นความสำคัญไปที่ ผู้เรียน เรียนผ่านประสบการณ์ ที่เรียกว่า Experiential Learning ซึ่งเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงมากในการส่งเสริมศักยภาพของบุคคล Individual Potential ที่จะพัฒนาไปได้ตลอดชีวิต..ผู้เรียนจะเรียนอย่างมีความสุข มีการพัฒนาไปด้วยความมั่นใจ และพึงพอใจ [ อ่านเพิ่มเติม...] ซึ่งนั่่นเป็นข้อดีของ ABL ที่สามารถนำมาใช้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เนื่องจากความสามารถของ LMS (Learning Management System) ซอฟต์แวร์บริหารจัดการระบบอีเลิร์นนิ่ง มีความสามารถในการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพอยู่แล้ว ดังภาพเป็นตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้มาตรฐานของ Moodle LMS


         ใน Moodle LMS มีกิจกรรมสำหรับจัดการเรียนรู้อยู่จำนวนมาก ตัวอย่างเช่น มอบหมายงานหรือการบ้าน (Assignment) บทเรียนมาตรฐาน SCORM แบบสำรวจ (Survey) กระดานเสวนา (Forum) อภิธานศัพท์ (Glossary)  แบบทดสอบ (Quiz)  เป็นต้น ซึ่งมากเพียงพอสำหรับผู้สอนในการนำมาใช้สร้างกิจกรรมการเรียนรู้  กำหนดเกณฑ์ประเมินผลและนำคะแนนจากการเข้าชั้นเรียนและทำกิจกรรมต่างๆ ที่ผู้สอนกำหนดขึ้นมาใช้ในการประเมินผลในรายวิชา ซึ่งผู้เรียนก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าทำกิจกรรมการเรียน แทนที่จะนำเวลาส่วนใหญ่ในการใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์มือถือไปกับเว็บสังคมเครือข่ายหรือสื่อสังคมออนไลน์ เป็นการบังคับกลายๆ ให้ผู้เรียนเข้าระบบอีเลิร์นนิ่ง ทำกิจกรรมการเรียน เพื่อที่จะได้มีคะแนนประเมินผลในรายวิชานั่นเอง อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่พึงต้องคำนึงถึงก็คือ ผู้สอนต้องประเมินกิจกรรม ให้ข้อเสนอแนะ (Comment) แก่ผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและทันเวลา จึงจะส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน
      นอกจากนั้น ผู้บริหารระบบ Moodle LMS ยังสามารถ Download Activities Module มาติดตั้งเสริม เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประเภทอื่นๆ ได้เพิ่มเติม โดย Download ได้จากลิงก์ https://moodle.org/plugins/browse.php?list=category&id=1  ซึ่งมีมากถึง 199 กิจกรรม