วันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2560

แลกเปลี่ยนประสบการณ์การเข้าร่วมงาน Education ICT forum 2017

ระหว่างวันที่ 26-27 เมษายน 2560 ที่ผ่านมา มีโอกาสได้เข้าร่วมงาน Education ICT Forum 2017 (http://educationictforum.com) ซึ่งในปีนี้กำหนด Theme ของการจัดงานคือ How To Reform Education System to Accelerate Thailand 4.0 งานจัดขึ้น ณ ห้องวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ถ.แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ซึ่งงานดังกล่าวจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยเจ้าภาพหลัก คือกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศประเทศไทย โดยความร่วมมือและสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่ประชุมอธิการบดี
แห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิยาลัยเทคโนโลยีมหานคร มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิยาลัยราชภัฏจันทรเกษฒ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นต้น
     ในพิธีเปิดงานได้รับเกียรติจาก ดร.พิเชษฐ์ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งให้ประเด็นคิดที่สำคัญหลายๆ ประการ โดยเฉพาะการดำเนินงานของรัฐบาลในการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศสู่ ประเทศไทย 4.0 ในระยะ 20 ปีข้างหน้าตามยุทธศาสตร์ พ.ศ. 2560-2579 แต่ที่สำคัญคือ การพัฒนาศักยภาพของคนให้สามารถรองรับการพัฒนาในอนาคตที่เน้นการใช้เทคโนโลยี ซึ่งภาคการศึกษาโดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานรับผิดชอบการจัดการศึกษาทุกระดับของชาติ รวมทั้งการดูแลกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งจะเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่สำคัญในสังคมในอนาคตด้วย

 

 



  ประเด็นและสาระสำคัญที่ได้จากการเข้าร่วมสัมมนาที่นำมาแลกเปลี่ยนกันที่น่าสนใจ มีดังนี้
  • การปรับตัวของอุดมศึกษาไทย ทำอย่างไรที่จะรองรับการพัฒนาวิสัยทัศน์ชาติ "มั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" สู่ "ประเทศไทย 4.0" ด้วยวิกฤติคุณภาพการศึกษา คุณภาพบัณฑิตไทยที่ยังไม่ตอบสนองและสนับสนุนการพัฒนาไปสู่ประเทศไทย 4.0 หรือประเทศไทย 4.0 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดประดิษฐ์นวัตกรรม การสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยใช้บริบทของเทคโนโลยีของโลกที่ปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว 
  • การจัดการศึกษาที่เป็นแนวทางสนับสนุน Thailand 4.0 ที่สำคัญคือ ต้องปฏิรูปกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เน้น Active Learning ตัวอย่างเช่น การใช้ STEM (Science, Technology, Engineer, Mathematic) เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้  การพัฒนาโรงเรียนไปสู่  Innovative School ซึ่งจะเป็นรูปแบบที่ต่างปัจจุบัน เป็นต้น
  • ผลกระทบด้านการศึกษาของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้เรียนเป็นผู้เลือกในสิ่งที่สนใจและอยาก
    เรียนรู้ เช่น เทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้แบบเปิดสำหรับผู้สนใจเรียนกลุ่มใหญ่แบบออนไลน์
    ที่สามารถสมัครเข้าเรียนได้จากทั่วโลก เรียนกับผู้สอนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขา/วิชานั้นๆ จากอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับโลก หรือ จากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ เมื่อเรียนเสร็จได้ในใบรับรองคุณวุฒิ ที่เรียกว่าระบบการเรียนการสอนแบบ MOOC (Massive Open Online Course) เช่น Edx (https://www.edx.org) Saylor (https://www.saylor.org) Coursera (https://www.coursera.org) Khan Academy (https://www.khanacademy.org) เป็นต้น ซึ่งนวัตกรรมการเรียนรู้เหล่านี้ จะตอบสนองกับผู้เรียนยุค Gen Y หรือ Gen i ที่ต้องการเรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการรู้และนำไปใช้ได้จริงๆ เรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ มีชื่อเสียงระดับโลก ทำให้การจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยในรูปแบบปกติ ต้องนำไปพิจารณาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้กับระบบการเรียนการสอนในหลักสูตรปกติของมหาวิทยาลัย

   จากสาระสำคัญที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมสัมมนาครั้งนี้ ลองสืบค้นในอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับแนวคิดที่นักการศึกษาไทยนำเสนอเกี่ยวกับ Education 4.0 ที่จะรองรับแนวคิด Thailand 4.0 ก็พบว่าท่าน ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ได้นำเสนอสไลด์บรรยายเรื่อง การเรียนรู้สู่อนาคต: ความท้าทายในศตวรรษที่ 21 ไว้ อย่างน่าสนใจ  ท่านที่สนใจลองศึกษาเพิ่มเติมดู เพื่อเป็นแนวทางในการปรับตัวของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการศึกษาโดยตรง ทั้งเป็นผู้สอนและผู้กำหนดนโยบายขององค์กรด้านการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยไทย ที่นวัตกรรมเหล่านี้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยไทยอย่างแน่นอนในอนาคตอันใกล้นี้

เอกสารอ่านเพิ่มเติม:

วันพฤหัสบดีที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2560

การพัฒนาทักษะการสื่อสาร ทักษะการเขียน ทักษะการสรุปความด้วยเว็บบล็อก

[ชุมชนการเรียนรู้ใน Google+]
บทบาทของผู้สอนสำหรับผู้เรียนยุค Gen i (Internet Generation) ในปัจจุบันนี้และในอนาคตข้างหน้า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนเป็นศูนย์กลางการให้ความรู้ การสอน (Instruction) มาเป็นผู้ที่ออกแบบและสร้างสถานการณ์การเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในโลกความเป็นจริง มีบทบาทเป็นที่ปรึกษา เป็นผู้เสนอแนะข้อมูลและสารสนเทศที่ผู้เรียนนำไปช่วยในการตัดสินใจ นำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ให้เหมาะสม สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของตนเอง แต่ที่สำคัญจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้จากการลงมือทำ (Learning by Doing) ให้มากที่สุด โดยเฉพาะการสร้างทักษะการสรรค์สร้างผลงาน การสื่อสารและนำเสนอผ่านโลกอินเทอร์เน็ต ที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง ผู้สร้างสรรค์ มากกว่าการให้ผู้เรียนเป็นผู้เสพฝ่ายเดียว ผู้สอนควรสร้างแรงบันดาลใจ ด้วยโจทย์หรืองานที่ท้าทายแก่ผู้เรียน ที่สำคัญไม่ดูแคลนความสามารถของลูกศิษย์หรือผู้เรียน เพราะแหล่งเรียนรู้ ความรู้ ทุกสิ่งทุกอย่างในปัจจุบัน ผู้เรียนสามารถค้นหาและพบได้ในโลกอินเทอร์เน็ต หรือกล่าวได้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในโลกอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า Internet of Things: IoTs ได้ทั้งสิ้น (โปรดอ่านเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ http://oho.ipst.ac.th/internet-of-things)


    จากประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ในรายวิชาการจัดการสารสนเทศด้านการศึกษา ในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ. 5 ปี) สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หรือ มรย. (http://www.yru.ac.th) ในรายละเอียดวิชา (มคอ.3) ได้มีการกำหนดผลการเรียนรู้ในด้านที่ 5 ไว้ คือด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไว้ ได้แก่ (1) วิเคราะห์สรุปความคิดรวบยอด เกี่ยวกับศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์ (2) ความสามารถใน
 การสื่อสาร มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการแสวงหาความรู้ และการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม ซึ่งผู้สอนได้กำหนดวิธีการประเมินผลจากการพัฒนาเว็บบล็อกจัดการความรู้ สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้แต่ละครั้งจากทั้งผู้สอนและเพื่อนร่วมกลุ่ม เพื่อนร่วมชั้นเรียน นำเสนอผ่านเว็บบล็อกของผู้เรียนเอง ซึ่งพัฒนาด้วย Blogger (http://www.blogger.com) โดยมหาวิทยาลัยฯ ทำ MoU กับบริษัท Google ในการใช้ Google App for Education เป็นเครื่องมือจัดการเรียนรู้ ผลงานที่นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา จำนวน 30 คน ได้พัฒนาเว็บบล็อก นำเสนอผลการเรียนรู้ที่ได้จากการเรียนรู้แต่ละครั้ง รวมทั้งนำเสนอกิจกรรมของการทำงานมอบหมายการทำโครงการ (Project) ของทีม ซึ่งใช้ Project-based Learning: PjBl เป็นกิจกรรมสำคัญของการเรียนรู้ในรายวิชา ซึ่งข้อสังเกตของผู้สอนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้น แต่ละคนสามารถสร้างผลงานเว็บบล็อก ตกแต่งและสรรค์สร้างวิธีการนำเสนอ รวมทั้งการแชร์เว็บบล็อกของตนเองให้แก่ผู้สอนและผู้เรียนคนอื่นๆ ในชุมชน Google+ ซึ่งมีรุ่นพี่ที่เคยลงทะเบียนเรียนในรายวิชานี้เป็นสมาชิกชุมชนด้วย ที่สำคัญการสะสมองค์ความรู้ รวมทั้งประวัติของผู้เรียนในเว็บบล็อกตนเอง จะเป็นประโยชน์ต่อการนำกลับมาใช้ในอนาคน
    ต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างผลการพัฒนาเว็บบล็อกของผู้เรียน ซึ่งอาจเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาอื่นๆ (หรืออาจใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาผู้เรียนในหลักสูตรตลอดระยะเวลา 4-5 ปี ทั้งนี้ ผู้สอนจะต้องตกลงกันในหลักสูตร) ซึ่งเห็นว่าการใช้เว็บบล็อกในการจัดการเรียนรู้ร่วมกับระบบอีเลิร์นนิ่ง ร่วมกับเครื่องมือ Socail Media หรือการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนปกติ สามารถสร้างทักษะต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการลงมือทำของผู้เรียนได้ เช่น ทักษะการสื่อสาร การนำเสนอ ทักษะการใช้ไอซีทีในฐานะเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงาน ที่สำคัญคือทักษะการสรุปสาระการเรียนรู้จากการฟัง การอ่านเอกสารประกอบการสอนในแต่ละครั้ง สามารถนำเสนอในเว็บบล็อกของตนเอง เป็นการสร้างทักษะการฟัง การคิด การวิเคราะห์ การเขียน การนำเสนอในสื่อสังคมออนไลน์อย่างเป็นระบบ ที่สำคัญอย่างยิ่ง เป็นการสร้างลักษณะนิสัยสำคัญคือ ความรับผิดชอบต่อตนเอง การฝึกลักษณะนิสัยการตรงต่อเวลา ความขยันหมั่นเพียร ได้อีกด้วย ดังนั้น จึงขอยกตัวอย่างผลการพัฒนาเว็บบล็อกของผู้เรียนในรายวิชา ดังนี้

  1. รหัส 405709001 นายสุไฮมิง เจ๊ะหลง http://ict405709001.blogspot.com 
  2. รหัส 405709002 นางสาวอัฟรีมา ลาแห http://afreema002.blogspot.com 
  3. รหัส 405709003 นางสาวสอลีห๊ะ สุและเลาะ http://sol003.blogspot.com
  4. รหัส 405709004 นายอับดุลการีม มะดีเยาะ http://am-ka.blogspot.com
  5. รหัส 405709005 นางสาวไอนี สะหะเม๊าะ http://ainee-s.blogspot.com/
  6. รหัส 405709006 นายมูฮัมมัดอณุวาห์ เจ๊ะมะ http://annur006.blogspot.com
  7. รหัส 405709007 นายอิมรอน สุหลง http://405709007.blogspot.com
  8. รหัส 405709008 นางสาวอาตีกะห์ เตาวตู http://at09008.blogspot.com
  9. รหัส 405709009 นางสาวซูไบดะห์ ลาเต๊ะ http://sl009.blogspot.com/
  10. รหัส รหัส 405709010 นางสาวนัสริน โซ๊ะสะอิ http://rin10.blogspot.com
  11. รหัส 405709011 นางสาวเบญจวรรณ พุทธฤทธิ์ http://benjavan09011.blogspot.com
  12. รหัส 405709012 นางสาวโซฟียา เปาะจิ http://sofeeyapohji.blogspot.com
  13. รหัส 405709014 นางสาวตอยีบะห์ ซากา http://toyibah405709014.blogspot.com
  14. รหัส 405709017 นางสาวยามีลา อาแซ http://yamila017.blogspot.com
  15. รหัส 405709018 นางสาวฟิตรี โตะกือจิ http://ft09018.blogspot.com
  16. รหัส 405709019 นายอากรัน อาแด http://aa09019.blogspot.com
  17. รหัส 405709020 นางสาวสนธเยศ นามสกุล ขำนุรักษ์ http://sontayat.blogspot.com
  18. รหัส 405709021 นายซอลาฮุดดีน อาแวกะจิ http://sa09021.blogspot.com
  19. รหัส 405709022 นายมุฮตาซีดีน เดียได http://muhtasideenict.blogspot.com
  20. รหัส 405709023 นางสาวพาอีซะห์ สะแม http://ps09023.blogspot.com
  21. รหัส 405709024 นางสาวนูรีซา เจ๊ะมามะ http://sc09024.blogspot.com
  22. รหัส 405709025 นางสาวซาเดีย แก้วเพ็ชร์ http://sadiapretty.blogspot.com
  23. รหัส 405709029 นายมะรอกิ มามะ  http://marokicomart.blogspot.com
  24. รหัส 405709030 นายสมยศ ดีวิจิตร http://sd09030.blogspot.com
  25. รหัส 405709033 นายไฟซอล มามะ http://fm09033.blogspot.com
  26. รหัส 405709034 นางสาวอัสมะ มะเร๊ะ  http://am09034.blogspot.com
  27. รหัส 405709035 นางสาว มาลีนี ลอแม  http://ict09035.blogspot.com
  28. รหัส 40570903ุ6 นางสาวอัสมาดี สาหะ  http://as09036.blogspot.com
  29. รหัส 405709037 นายอัมรัณ แปซะ http://ap09037.blogspot.com 
  30. รหัส 405709038 นายนิรสลัน จิใจ http://niroslanjijai.blogspot.com
สำหรับผลการประเมินความรู้ ความสามารถ และทักษะที่เกิดขึ้น หลังจากการประเมินผลผู้เรียนและผลการเรียนในรายวิชา จะได้นำเสนอข้อมูลและสารสนเทศเป็นบทความในโอกาสต่อไป