วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563

ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) ในระบบอีเลิร์นนิ่ง

 ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVID-19 ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา ทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา รวมทั้งมหาวิทยาลัยอื่น ๆ จำเป็นต้องปรับตัวรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVID-19  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีนโยบายโดยกำหนดรูปแบบและวิธีการสอน และการจัดการเรียนรู้ ที่จะต้องลดเวลาที่จะพบกันในชั้นเรียนปกติระหว่างอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาให้มากที่สุด โดยเลือกรูปแบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ที่มหาวิทยาลัยมีสนับสนุนให้อาจารย์อยู่แล้ว ได้แก่ระบบอีเลิร์นนิ่ง หรือ ระบบ YRU e-Learning ซึ่งนับเป็นข้อดีที่ ไม่ต้องเริ่มพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบออนไลน์ใหม่ ถือวิกฤตเป็นโอกาสที่จะพัฒนาระบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยไปสู่การจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือแบบผสมผสาน (Blended Learning: BL) ระหว่างชั้นเรียนปกติ กับ ชั้นเรียนออนไลน์ต่อไป 

      โดยทั่วไป มหาวิทยาลัยมักจะเลือกระบบอีเลิร์นนิ่งให้เป็นรูปแบบ (Platform) ใช้เป็นเครื่องมือหลักในการจัดการเรียนรู้ร่วมกันทั้งมหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลากำหนดกลยุทธ์ คือกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทุกคนจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่งที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ ที่เว็บไซต์ http://elearning.yru.ac.th ซึ่งบริหารจัดการด้วยซอฟต์แวร์ Moodle LMS นำมาปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของมหาวิทยาลัย มุ่งให้อาจารย์ผู้สอนสามารถบริหารจัดการรายวิชาของตนเอง จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในระบบได้ด้วยตนเอง โดยการฝึกอบรมทางออนไลน์ให้อาจารย์ผู้สอนอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดให้ผลการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่ง มีสัดส่วนประเมินผลการปฏิบัติงานจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านระบบอีเลิร์นนิ่ง ร้อยละ 25 โดยผู้สอนสามารถเลือกรูปแบบผสมผสาน (Blended Learning) อื่น ๆ ร่วมด้วย ทั้งเลือกเครื่องมือหรือรูปแบบ (Platform) อื่น ๆ ร่วมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ได้อีกด้วย แต่ยังคงต้องรายงานคะแนน (Greding Report) ผ่านทางระบบอีเลิร์นนิ่ง เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันความสำเร็จ







     สำหรับรายวิชา ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ (Online Learning Management System: OLMS) หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาคอมพิวเตอร์ ศึกษา (http://sceince.yru.ac.th/computer) สังกัด คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร
ผู้สอนได้นำกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้แบบ โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) มาเป็นแนวทาง จัดการเรียนรู้ร่วมกับระบบอีเลิร์นนิ่งที่มีข้อดี ได้แก่ เรียนรู้ได้ตลอดเวลา ทุกหนทุกแห่ง มีเครื่องมือสนับสนุนออนไลน์หลากหลาย สอดคล้องกับทักษะของนักศึกษาที่เป็นคนในยุค Gen Z ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนปกติ ลดเวลาการพบกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้แก่ผู้เรียน ซึ่ง PjBL ซึ่งมีข้อดี (พิมพลักษณ์ โมรา. 2561, น. 47) หลายประการ ได้แก่  

วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2563

ผลงานนักศึกษา: พัฒนา Weblog บันทึกการเรียนรู้รายวิชาการจัดการสารสนเทศด้านการศึกษา เสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21


      ทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญ ซึ่งหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนในทุกระดับ จำเป็นต้องเตรียมและฝึกฝน บ่มเพาะผู้เรียนให้มีทักษะ ได้แก่ 1) ด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม 2) ด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีและสารสนเทศ และ 3) ด้านทักษะชีวิตและการทำงาน 
      กล่าวได้ว่า การเรียนรู้ของผู้เรียนในยุคปัจจุบัน แหล่งเรียนรู้ ความรู้ มีอยู้มากมายและหลากหลายในอินเทอร์เน็ต จึงเป็นโจทย์สำคัญว่า ผู้สอนจะสอนอย่างไรให้ผู้เรียนในยุคปัจจุบัน ที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยี คุ้นเคยกับอินเทอร์เน็ตมาตั้งแต่เกิด สนใจและจดจ่อกับการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน ดังนั้น "การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนลงมือทำ หรือปฏิบัติ" จึงเป็นกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้จากการลงมือทำด้วยตนเอง 
โดยใช้เว็บบล็อก (Weblog, Web Blog) คือ http://www.blogger.com ของ Google เป็นเครื่องมือ  
       ตัวอย่างเว็บบล็อกของผู้เรียน นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นผลงานเชิงประจักษ์ที่ผู้เรียนทุกคน ต้องสรุปผลการเรียนรู้ในแต่ละครั้ง โดยนำเสนอ (Post) ไว้ในเว็บบล็อกของตนเอง และแชร์ให้ผู้เรียนในกลุ่มได้เรียนรู้ เป็นการฝึกฝนลักษณะนิสัยความรับผิดชอบหน้าที่การเรียนรู้ของตนเอง การตรงต่อเวลา ฝึกทักษะการคิด วิเคราะห์ (การใช้ภาษาไทย) ฝึกทักษะการออกแบบ สร้างสรรค์ การพัฒนา และการนำเสนอเว็บบล็อกของตนเองต่อสาธารณะ การใช้เครื่องมือ Weblog จึงนับเป็นการบ่มเพาะ ฝึกฝนผู้เีรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยการลงมือทำนั่นเอง

    ผลงานของผู้เรียนในการพัฒนาเว็บบล็อก ประกอบการจัดการเรียนรู้ มีดังนี้ (ทดลองเลือกดู) 
  1. นางสาวนินัซรียะห์ มอลอ  - https://ninas020.blogspot.com
  2. นายมูฮำหมัด ดอนิ https://mud001.blogspot.com
  3. นายตัรมีซีล สามะ - https://tar002.blogspot.com 
  4. นายสุไลมาน ดอเลาะ - https://sm004.blogspot.com
  5. นายซูไฮมีน เจ๊ะเซ็ง - http://enosen7.blogspot.com