วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2565

การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning: BL) หลังสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย

 ในระยะเวลา 2-3 ปีการศึกษาที่ผ่านมา ปีการศึกษา 2562-2564 สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVID-19 ทำให้การจัดการเรียนการสอนของ #มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กำหนดให้จัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ โดยกำหนดให้อาจารย์ทุกท่านทุกรายวิชาจัดการเรียนการสอนผ่านรูปแบบหลัก (Platform) ด้วยระบบอีเลิร์นนิ่งของมหาวิทยาลัย ที่เว็บไซต์ https://e-learning.yru.ac.th  และใช้เครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้ออนไลน์อื่น ๆ ประกอบ เช่น ระบบจัดประชุมออนไลน์ Google Meet, Zoom, Microsoft Team รวมทั้งสื่อสังคมออนไลน์ และซอฟต์แวร์หรือแอพลิเคชั่นอื่น ๆ สนับสนุน ทั้งนี้ มีการจัดอบรมปฏิบัติการให้แก่ทั้งนักศึกษาใหม่ และอาจารย์ผ่านทางออนไลน์

    นับเป็นความโชคดีที่ #มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีนโยบายจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานระบบอีเลิร์นนิ่งและชั้นเรียนปกติมาก่อนหน้าที่จะเกิดสถานการณ์ COVID-19 จึงนับว่าวิกฤตครั้งนี้ เป็นโอกาสในการพัฒนาระบบจัดการเรียนรู้อีเลิร์นนิ่งให้มีรูปแบบและการประเมินผลการสอนที่ชัดเจนขึ้น โดยมหาวิทยาลัยกำหนดองค์ประกอบและเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ของการสอนเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลปฏิบัติราชการประจำปีของอาจารย์ โดยกำหนดน้ำหนักคะแนนไว้ 25% 

   สำหรับในปีการศึกษา 2565 ซึ่งสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย มหาวิทยาลัยเปิดและจัดการเรียนการสอน ณ สถานที่ตั้ง (On-site) แต่ยังคงมีนโยบายให้อาจารย์ผู้สอน สามารถจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานระหว่างออนไลน์ผ่านระบบอีเลิร์นนิ่ง และระบบออฟไลน์ในชั้นเรียนปกติ โดยกำหนดไว้ใน มคอ.3 ให้ชัดเจน และประเมินผลการปฏิบัติการสอนแบบผสมผสาน 

    ดังตัวอย่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในรายวิชา 4114311 การจัดการคุณภาพสารสนเทศ (Information Quality Management) ที่มุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้ผ่านระบบอีเลิร์นนิ่งเป็นหลัก ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) เพื่อบ่มเพาะทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะทำงานเป็นทีม การศึกษาค้นคว้า คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาที่ซ้บซ้อน ทักษะการสื่อสารและการนำเสนอ ผู้สอนมีบทบาทให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง การประเมินผลเน้นประเมินผลงานและพฤติกรรม (สมรรถนะ) ของผู้เรียน 


      สำหรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) กำหนดเป็นข้อตกลงกับนักศึกษาตั้งแต่เริ่มต้นในชั้นเรียน และมีกระบวนการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการเรียนการสอนหรือขั้นตอนการศึกษาโครงงาน ให้นักศึกษาได้ศึกษาล่วงหน้า ผู้สอนจัดเตรียมทรัพยากรการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้สนับสนุนการทำโครงงานให้แก่นักศึกษา ดังตัวอย่าง

วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

บรรยากาศการจัดการเรียนรู้ออนไลน์: ความท้าทายของทักษะผู้สอนให้ประสบความสำเร็จ

       ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVID-19 ส่งผลให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษา ปรับตัว จัดการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยใช้รูปแบบและเครื่องมือสำหรับจัดการเรียนรู้หลากหลาย ความบริบทของแต่ละแห่ง ที่สำคัญคือ ทักษะของผู้สอน ที่ต้องเร่ง Upskill/Reskill อย่างเร่งด่วนและจริงจังมากขึ้น ผนวกกับการส่งเสริมและสนับสนุนของสถาบัน (คณะผู้บริหาร) หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

    ระบบอีเลิร์นนิ่ง (Electronic Learning: e-Learning) ซึ่งบริหารจัดการการเรียนรู้แบบห้องเรียนเสมือน หรือมหาวิทยาลัยเสมือน สามารถจัดการบนระบบออนไลน์ได้ในสภาพแวดล้อมเหมือนการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยในสภาวะปกติ ได้แก่ การจัดการหลักสูตร รายวิชา กิจกรรมการเรียนรู้ การประเมินผล การจัดการผู้เรียน การรายงานผลดำเนินงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถดำเนินการได้ โดยใช้ซอฟต์วแวร์ที่เรียกว่า ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (Lerning Management System: LMS) 
การจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง
  
     แต่อย่างไรก็ตาม การจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ให้ประสบผลสำเร็จ ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ของรายวิชา ยังขึ้นกับปัจจัยหลายประการ ได้แก่  นโยบายของมหาวิทยาลัย หน่วยงานรับผิดชอบ โดยเฉพาะผู้สอน ที่ต้องพัฒนาตัวเองให้มีความรู้ ความเข้า ทักษะ และเจตคติที่การสอนในระบบออนไลน์  รวมทั้ง คุณภาพของเนื้อหาวิชา การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ สื่อมัลติมีเดีย ที่สำคัญอีกประการ คือ วิธีหรือเครื่องมือในการประเมินผล  ทั้งหมดที่กล่าวนี้ เป็น "ภาระงานสอนออนไลน์" ที่หนัก เหนื่อย และยุ่งยาก มากกว่าการสอนในชั้นเรียนปกติหลายเท่า กล่าวได้ว่า "ผู้สอนออนไลน์" ไม่ใช่เป็นเพียงผู้ส่งสารหรือเนื้อหาการเรียนเท่านั้น
  
การจัดการเรียนรู้ในห้องสอนสด (Zoom e-Conferences)




    จากประสบการณ์การการจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง ซึ่งบริหารจัดการด้วย LMS เป็นประโยชน์ในการติดตามผลการสอนของอาจารย์ผู้สอน ติดตามพฤติกรรมการเรียน แต่ เนื่องจากพฤติกรรมของผู้เรียนในยุค Gen Z มีรูปแบบการเรียนรู้ (Learning Styles) ที่แตกต่างกัน ซึ่งการเลือกรูปแบบ (Platform) เครื่องมือจัดการเรียนรู้  สื่อมัลติมีเดีย สื่อสังคมออนไลน์ที่หลากหลาย มาผสมผสานใช้ร่วมกัน ด้วยการออกแบบไว้อย่างเหมาะสมด้วยทฤษฎีการเรียนรู้หรือแนวคิดที่เกี่ยวข้อง ก็คาดว่าจะสามารถตอบสนอง Learning Style ของผู้เรียนยุคนี้ได้ ซึ่งปัจจุบันมีงานวิจัยปฏิบัติการในด้านพัฒนาการเรียนรู้ออนไลน์ นำเสนอผลการวิจัยไว้หลากหลายประเด็นด้วยกัน 


การจัดการเรียนรู้ผ่าน Facebook Group

การจัดกิจกรรม Active Learning ด้วย Kahoot Game ร่วมกับระบบอีเลิร์นนิ่ง


   การผสมผสานของการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ ระหว่างบทเรียนอีเลิร์นนิ่งและสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ Facebook Group, Web Blog, Game-based Learning, Active Learning จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจทดลองวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อค้นหาคำตอบ ได้แก่ รูปแบบที่เหมาะสม  ลักษณะพฤติกรรมของผู้เรียน ลักษณะนิสัยหรือเจตคติของผู้เรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ (เวลา ค่าใช้จ่าย ความคุ้มค่า) แม้กระทั่งในประเด็นความวิตกกังวล ภาวะความเครียด หรือปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ในฝั่งของผู้สอน เป็นต้น 
     

     ในโอกาสต่อไป จะได้นำเสนอประสบการณ์จากการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ ด้วยการผสมผสานหลากหลายรูปแบบ ด้วยการออกแบบเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียน ให้สามารถเรียนรู้ในระบบออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จ และมีความสุขทั้งผู้สอนและผู้เรียน...

วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563

ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) ในระบบอีเลิร์นนิ่ง

 ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVID-19 ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา ทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา รวมทั้งมหาวิทยาลัยอื่น ๆ จำเป็นต้องปรับตัวรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVID-19  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีนโยบายโดยกำหนดรูปแบบและวิธีการสอน และการจัดการเรียนรู้ ที่จะต้องลดเวลาที่จะพบกันในชั้นเรียนปกติระหว่างอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาให้มากที่สุด โดยเลือกรูปแบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ที่มหาวิทยาลัยมีสนับสนุนให้อาจารย์อยู่แล้ว ได้แก่ระบบอีเลิร์นนิ่ง หรือ ระบบ YRU e-Learning ซึ่งนับเป็นข้อดีที่ ไม่ต้องเริ่มพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบออนไลน์ใหม่ ถือวิกฤตเป็นโอกาสที่จะพัฒนาระบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยไปสู่การจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือแบบผสมผสาน (Blended Learning: BL) ระหว่างชั้นเรียนปกติ กับ ชั้นเรียนออนไลน์ต่อไป 

      โดยทั่วไป มหาวิทยาลัยมักจะเลือกระบบอีเลิร์นนิ่งให้เป็นรูปแบบ (Platform) ใช้เป็นเครื่องมือหลักในการจัดการเรียนรู้ร่วมกันทั้งมหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลากำหนดกลยุทธ์ คือกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทุกคนจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่งที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ ที่เว็บไซต์ http://elearning.yru.ac.th ซึ่งบริหารจัดการด้วยซอฟต์แวร์ Moodle LMS นำมาปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของมหาวิทยาลัย มุ่งให้อาจารย์ผู้สอนสามารถบริหารจัดการรายวิชาของตนเอง จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในระบบได้ด้วยตนเอง โดยการฝึกอบรมทางออนไลน์ให้อาจารย์ผู้สอนอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดให้ผลการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่ง มีสัดส่วนประเมินผลการปฏิบัติงานจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านระบบอีเลิร์นนิ่ง ร้อยละ 25 โดยผู้สอนสามารถเลือกรูปแบบผสมผสาน (Blended Learning) อื่น ๆ ร่วมด้วย ทั้งเลือกเครื่องมือหรือรูปแบบ (Platform) อื่น ๆ ร่วมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ได้อีกด้วย แต่ยังคงต้องรายงานคะแนน (Greding Report) ผ่านทางระบบอีเลิร์นนิ่ง เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันความสำเร็จ







     สำหรับรายวิชา ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ (Online Learning Management System: OLMS) หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาคอมพิวเตอร์ ศึกษา (http://sceince.yru.ac.th/computer) สังกัด คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร
ผู้สอนได้นำกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้แบบ โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) มาเป็นแนวทาง จัดการเรียนรู้ร่วมกับระบบอีเลิร์นนิ่งที่มีข้อดี ได้แก่ เรียนรู้ได้ตลอดเวลา ทุกหนทุกแห่ง มีเครื่องมือสนับสนุนออนไลน์หลากหลาย สอดคล้องกับทักษะของนักศึกษาที่เป็นคนในยุค Gen Z ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนปกติ ลดเวลาการพบกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้แก่ผู้เรียน ซึ่ง PjBL ซึ่งมีข้อดี (พิมพลักษณ์ โมรา. 2561, น. 47) หลายประการ ได้แก่  

วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2563

ผลงานนักศึกษา: พัฒนา Weblog บันทึกการเรียนรู้รายวิชาการจัดการสารสนเทศด้านการศึกษา เสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21


      ทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญ ซึ่งหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนในทุกระดับ จำเป็นต้องเตรียมและฝึกฝน บ่มเพาะผู้เรียนให้มีทักษะ ได้แก่ 1) ด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม 2) ด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีและสารสนเทศ และ 3) ด้านทักษะชีวิตและการทำงาน 
      กล่าวได้ว่า การเรียนรู้ของผู้เรียนในยุคปัจจุบัน แหล่งเรียนรู้ ความรู้ มีอยู้มากมายและหลากหลายในอินเทอร์เน็ต จึงเป็นโจทย์สำคัญว่า ผู้สอนจะสอนอย่างไรให้ผู้เรียนในยุคปัจจุบัน ที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยี คุ้นเคยกับอินเทอร์เน็ตมาตั้งแต่เกิด สนใจและจดจ่อกับการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน ดังนั้น "การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนลงมือทำ หรือปฏิบัติ" จึงเป็นกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้จากการลงมือทำด้วยตนเอง 
โดยใช้เว็บบล็อก (Weblog, Web Blog) คือ http://www.blogger.com ของ Google เป็นเครื่องมือ  
       ตัวอย่างเว็บบล็อกของผู้เรียน นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นผลงานเชิงประจักษ์ที่ผู้เรียนทุกคน ต้องสรุปผลการเรียนรู้ในแต่ละครั้ง โดยนำเสนอ (Post) ไว้ในเว็บบล็อกของตนเอง และแชร์ให้ผู้เรียนในกลุ่มได้เรียนรู้ เป็นการฝึกฝนลักษณะนิสัยความรับผิดชอบหน้าที่การเรียนรู้ของตนเอง การตรงต่อเวลา ฝึกทักษะการคิด วิเคราะห์ (การใช้ภาษาไทย) ฝึกทักษะการออกแบบ สร้างสรรค์ การพัฒนา และการนำเสนอเว็บบล็อกของตนเองต่อสาธารณะ การใช้เครื่องมือ Weblog จึงนับเป็นการบ่มเพาะ ฝึกฝนผู้เีรียนให้เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยการลงมือทำนั่นเอง

    ผลงานของผู้เรียนในการพัฒนาเว็บบล็อก ประกอบการจัดการเรียนรู้ มีดังนี้ (ทดลองเลือกดู) 
  1. นางสาวนินัซรียะห์ มอลอ  - https://ninas020.blogspot.com
  2. นายมูฮำหมัด ดอนิ https://mud001.blogspot.com
  3. นายตัรมีซีล สามะ - https://tar002.blogspot.com 
  4. นายสุไลมาน ดอเลาะ - https://sm004.blogspot.com
  5. นายซูไฮมีน เจ๊ะเซ็ง - http://enosen7.blogspot.com

วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2561

การออกแบบการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียน: สถานการณ์จริงของชีวิต

บรรยากาศการเรียนรู้ที่มีความสุขนอกชั้นเรียนปกติ
https://plus.google.com/u/0/communities/107503200208618731454 
     การจัดการเรียนรู้สมัยใหม่และในอนาคตมีหลากหลายรูปแบบ วิธีและรูปแบบปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ตามบริบทและสภาพการณ์ภายนอก ซึ่งเป็นวิถีชีวิต วิถีการทำงานหรือประกอบอาชีพ จึงทำให้วิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนเปลี่ยนไป  อย่างไรก็ตาม ครู อาจารย์ส่วนใหญ่ของไทย ก็ยังคงยึดกรอบการออกแบบการจัดการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมเป็นส่วนใหญ่ จะต้องมีห้องเรียนสี่เหลี่ยม มีกระดานดำหรือไวท์บอร์ด ดีหน่อยก็มีอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค โปรเจคเตอร์ และอินเทอร์เน็ต ในห้องจัดโต๊ะและเก้าอี้เรียงเป็นแถว รอบ ๆ ห้องเรียนมีป้ายนิเทศหรืบอร์ดนิทรรศการ (ซึ่งไม่ค่อยได้เปลี่ยนเนื้อหา)
   กระบวนการจัดการเรียนการสอน ต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการออกแบบสถานการณ์การเรียนรู้ (Learning Process Design:LPD)  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือผลลัพธ์การจัดการเรียนรู้ (Learning Outcome) ไม่ควรเน้นแต่การถ่ายทอดเนื้อหา (Content) ให้ครบถ้วน เพื่อจะทำให้สามารถสอบวัดประเมินผลให้ครบสาระการเรียนรู้ ซึ่งก็คงไม่ผิด เพียงแต่ว่าอาจเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพในอนาคตได้น้อย โดยเฉพาะ "ทักษะการเรียนรู้" สำหรับชีวิตจริงในอนาคต

ตัวอย่างงานมอบหมาย (Assignment) ในระบบอีเลิร์นนิ่ง
     ดังนั้น บทบาทสำคัญจึงอยู่ที่ครูผู้สอนที่จะต้องปรับเปลี่ยนกรอบคิด (Mindset) เข้าใจบทบาทของผู้จัดการเรียนรู้ยุคใหม่ที่เปลี่ยนไปเนื่องจากเทคโนโลยี  ซึ่งเน้นเป็นผู้แนะนำหรือให้คำปรึกษาการเรียนรู้เป็นสำคัญ  ครูจะปรับเปลี่ยนบทบาทอย่างไร เพราะครูคือ ปัจจัยสำคัญของความสำเร็จของการจัดการเรียนรู้ ที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในอนาคตได้ คือ กรอบคิดของครูหรือผู้สอนในการออกแบบจัดการเรียนรู้เพื่ออนาคตของผู้เรียนจึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่เพื่อการประเมินผล ให้ได้คะแนนผู้เรียนสำหรับการวัดระดับผลการเรียนในรายวิชาเท่านั้น

รายละเอียดงานมอบหมาย (Assignment) 


    ในรายวิชา การจัดการสารสนเทศเพื่อการศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบันฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา ได้ทดลองออกแบบจัดการเรียนรู้โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าในสถานการณ์ สภาวการณ์การศึกษาของชาติ  มีโอกาสศึกษาข้อมูลและสารสนเทศที่สำคัญด้านการศึกษาจากฐานข้อมูลการศึกษาแห่งชาติ (http://www.mis.moe.go.th/mis2018)  ออกแบบเป็นกิจกรรมมอบหมายงาน (Assignment Activity) ผ่านระบบอีเลิร์นนิ่ง (http://elearning.yru.ac.th) แบ่งกลุ่มหรือทีมศึกษาข้อมูล ทีมละ 4-5 คน  ทำกิจกรรมของกลุ่มนอกห้องเรียน โดยใช้ห้องศึกษาค้นคว้าอิสระที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ (ห้องสมุด) จัดให้ มีความพร้อมและสะดวกสบาย ร่วมกันศึกษาข้อมูล เลือกประเด็นที่กลุ่มสนใจ โดยเฉพาะข้อมูลและสารสนเทศการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ (ยะลา นราธิวาส ปัตตานี) วิเคราะห์  สังเคราะห์  และจัดทำสื่อนำเสนอร่วมกันผ่าน Google Application ได้แก่ สไลด์ (Google Slide) นำเสนอ  แชร์สไลด์นำเสนอในชุมชนการเรียนรู้ในรายวิชาที่จัดการด้วย Google+ และบันทึกผลการเรียนรู้ครั้งนี้ใน Web Blog ของตนเอง  โดยให้นำเสนอในห้องเรียน Smart Classroom เพื่อบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้เผยแพร่ต่อไป
ตัวอย่างการแชร์กิจกรรมการเรียนรู้ในชุมชนรายวิชาผ่าน Google+
   สำหรับเป้าหมายจากการเรียนรู้ (Leaning Goal) ในกิจกรรมนี้ คือ การฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม โดยใช้ Cloud Technolog  ฝึกทักษะการสืบค้น  การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ สังเคราะห์  การนำเสนอ รวมทั้งทักษะการใช้ภาษาไทย ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของนักศึกษาและบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เนื่องจากนักศึกษาส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ และใช้ภาษาถิ่นเป็นภาษาสำหรับการสื่อสารในชีวิตประจำวัน แต่เมื่อสำเร็จเป็นบัณฑิต จำเป็นต้องใช้ภาษาไทยเป็นภาษาทางราชการ ซึ่งหากมีปัญหาในการใช้ภาษาไทย ทั้งทักษะการอ่าน การพูด การเขียน ก็อาจจะทำให้ขาดโอกาสในการแข่งขันการสมัครเข้าทำงาน ทั้งในองค์กรภาครัฐและเอกชน  ส่วนการใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ เน้นเตรียมทักษะสำหรับการประกอบอาชีพในอนาคต ที่ต้องมีความคล่องในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเรียนรู้ได้ ปรับตัวได้ตลอดเวลา ที่สำคัญในอนาคต ทุกอาชีพจำเป็นต้องใช้ข้อมูลและสารสนเทศ เราจึงต้องการบัณฑิตที่มีทักษะพื้นฐานในการจัดการข้อมูลและสารสนเทศ สามารถค้นหา รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ นำไปประยุกต์ใช้ และสร้างมูลค่าเพิ่มได้  เป็นผู้สร้างมูลค่าได้จากข้อมูลและสารสนเทศจำนวนมากในอินเทอร์เน็ต ไม่ได้เป็นเพียงผู้ใช้สารสนเทศเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
   นอกจากนั้น กระบวนการจัดการเรียนรู้ในกิจกรรมนี้ ยังเป็นแนวทางให้ผู้เรียน นำไปใช้ในวิชาชีพครูได้ในอนาคตอีกด้วย

ตัวอย่างการบันทึกผลการเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อกส่วนบุคคลของนักศึกษา

ตัวอย่างการบันทึกผลการเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อกส่วนบุคคลของนักศึกษา และผู้สอน (ที่ปรึกษา) ให้ข้อคิดเห็น