วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การสร้างแรงจูงใจผู้เรียนระบบอีเลิร์นนิ่งด้วยคะแนนจากการประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้

ภาพที่ 1 รายงานคะแนนในระบบอีเลิร์นนิ่งที่บริหารจัดการด้วย Moodle LMS
       การจัดการเรียนการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่งของหลายๆ สถาบันการศึกษาไม่ประสบความสำเร็จ เพราะสาเหตุหนึ่งที่สำคัญก็คือ ผู้เรียนไม่เข้าเรียนหรือทำกิจกรรมการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง (ไม่เข้าห้องเรียน) ซึ่งการจัดการเรียนการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่งโดยทั่วไปมักจะใช้ซอฟต์แวร์บริหารจัดการระบบการเรียนรู้ด้วยซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า LMS (Learning Management System)  เช่น Moodle,  Atutor,  Claroline, Sakai  และ อื่นๆ อีกมากมาย  ทั้งประเภทฟรีและเชิงพาณิชย์ ซึ่งมีความสามารถในการจัดการระบบสนับสนุนการเรียน เช่น จัดการรายวิชา ผู้สอน ผู้เรียน การลงทะเบียน  และมีความสามารถจัดการสร้างเนื้อหาบทเรียนและกิจกรรมการเรียนรู้ได้ เช่น สร้างเว็บเพจ  สร้างกิจกรรมการมอบหมายการบ้าน การสร้างแบบทดสอบ การสร้างกิจกรรมกระดานเสวนา (Forum) โดยแต่ละกิจกรรมสามารถกำหนดคะแนนเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ สามารถนำคะแนนมาใช้ร่วมกับการประเมินผลการเรียนในรายวิชาได้โดยสะดวก

วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การบูรณาการศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนรายวิชา การผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน

     การนำระบบประกันคุณภาพมาใช้ในวงการศึกษาปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้สอนในระดับอุดมศึกษามีหน้าที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การบูรณาการเนื้อหาด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ เข้ากับกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา จึงขอยกตัวอย่างกรณีศึกษาการบูรณาการดังกล่าวในรายวิชา 4112353 การผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน ซึ่งเป็นรายวิชาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (หลักสูตร ปี พ.ศ. 2551) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งจัดการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ที่ผ่าน โดยผู้สอนจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานในระบบชั้นเรียนปกติร่วมกับชั้นเรียนอีเลิร์นนิ่ง  จัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการกับเนื้อหาด้านศิลปวัฒนธรรมโดยการมอบหมายงาน (Assignment) ผ่านระบบอีเลิร์นนิ่ง