วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

e-Learning 3.0 การเรียนที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง (self-organised learning)

Evolution of the Web

      ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเว็บปัจจุบันในยุคเว็บ 3.0 (Semantic Web ช่วง ค.ศ. 2010-2020) ซึ่งเน้นการสื่อสาร 2 ทาง ผ่านความสะดวกบนเทคโนโลยีเว็บ การเสนอเนื้อเว็บเชิงความหมาย ค้นหาสารสนเทศในเว็บได้ตรงตามความต้องการอย่างรวดเร็วในทุกๆ สถานที่ สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และเสนอข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการคลิกหรือกดปุ่มเพียงไม่กี่ครั้งผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่
     จากความก้าวหน้าของเว็บในยุค 3.0 ดังกล่าว ส่งผลให้การจัดการเรียนรู้ในยุคนี้ ซึ่งเน้นการใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือและช่องทางการเรียนรู้ (ICT-based Learning :ICT-BL)  แนวโน้มการจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning System) ที่นำเสนอเนื้อหาสาระการเรียนรู้ในรูปแบบของสื่อมัลติมีเดียดิจิตอล  ใช้ซอฟต์แวร์ระบบจัดการการเรียนรู้ (Learning Management System: LMS) จึงจะต้องมีความสามารถผนวกรวมคุณลักษณะหรือสามารถเชื่อมโยงการจัดการเรียนรู้กับเครื่องมือของเว็บ 3.0 ได้อย่างลงตัว จึงจะสามารถสร้างความสนใจให้แก่ผู้เรียนให้จดจ่ออยู่ในระบบอีเลิร์นนิ่ง  สามารถสรุปลักษณะของอีเลิร์นนิ่งในยุคที่เรียกว่า e-Learning 3.0 ได้ดังนี้

1) ใช้เทคโนโลยีการกระจายข้อมูลในเครือข่าย (Distributed computing) ผู้เรียนสามารถจัดเก็บ ค้นคืน นำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว มีความเชื่อถือได้ ปลอดภัย ที่สำคัญคือ ไม่มีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูล  เช่น การจัดเก็บข้อมูลไว้ใน SkyDrive , Google Drive และแหล่งเก็บข้อมูลอื่นๆ อีกมากมาย (ดูข้อมูลเพิ่มเติม...)

2) การเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Extended smart mobile technology)   การใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น Smart Phone, Tablet หรืออุปกรณ์ประเภทเดียวกันที่เรียกอยางอื่น  ผู้เรียนจึงสามารถเข้าถึงบทเรียนได้ตลอดเวลาในทุกๆ แห่ง ผู้เรียนสามารถวางแผนในการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-organize Learning) ได้ ดังนั้น ทักษะในการควบคุมความก้าวหน้าทางการเรียนด้วยตนเองจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะความสำเร็จทางการเรียนขึ้นอยู่กับการวางแผนของผู้เรียนเป็นสำคัญ

3) เครือข่ายการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative intelligent filtering)  การเกิดขึ้นของสังคมเครือข่ายจำนวนมากและหลากหลายรูปแบบ ทำให้สมาชิกในสังคมเครือข่ายสามารถสร้างกลุ่ม จัดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเนื้อหาเฉพาะเรื่องได้สะดวก ทำให้เกิดความร่วมมือในการเรียนรู้ร่วมกัน (15 เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีชื่อเสียง)

4) ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเสมือนแบบ 3 มิติ (3D visualisation and interaction) คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ สามารถประมวลผลแบบ 3 มิติได้รวดเร็วและเสมือนจริง ทำให้การนำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้สามารถจำลองสถานการณ์จริง สร้างการโต้ตอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนในสังคมเครือข่ายสะดวกและมีผลสัมฤทธิ์มากขึ้น

    จากความก้าวหน้าดังกล่าว ส่งผลให้การจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง ซึ่งเน้นการใช้ LMS: Learning Management Software ทำหน้าที่บริหารจัดการระบบ จัดเตรียมเครื่องมือสร้างเนื้อหาและกิจกรรมการการเรียนการสอนไว้อย่างครบถ้วน แต่จะต้องเสริมความสามารถของ LMS ให้ผนวกรวมหรือเชื่อมโยงเครื่องมือ Web 3.0 เข้าไว้ในระบบด้วย จึงเรียกได้ว่าเป็นอีเลิร์นนิ่งในยุค "e-Learning 3.0"


แหล่งอ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น: