วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ทรัพยากรการเรียนรู้ ICT-based for Learning จาก Thaicyberu: มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย

 
www.thaicyberu.go.th  มหาวิทยาลัยไชเบอร์ไทย กำกับดูแลโดย สกอ.  นับแหล่งเรียนรู้และติดตามความก้าวหน้าการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้และการจัดการศึกษา เผยแพร่ทั้งเอกสารประกอบการบรรยายและวิดีโอจากวิทยากรเชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากภายในประเทศไทยและต่างประเทศ  แหล่งเรียนรู้ในเว็บไซต์นี้ เหมาะสำหรับคณาจารย์ผู้สอนในยุคปัจจุบันและในอนาคต ที่จำเป็นต้องติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการเรียนรู้ เทคโนโลยีการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนในยุคใหม่ 
 
    นอกจากนั้น ใน Thaicyber ยังมีหลักสูตรและรายวิชาที่สามารถลงทะเบียนเรียนได้ เป็นการจัดการสอนในลักษณะหลักสูตรออนไลน์  ทั้งหลักสูตรระยะสั้น ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท รวมทั้งมีแหล่งเรียนรู้อื่นๆ สำหรับผู้สนใจการจัดการการเรียนรู้ในยุค ICT

วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ยูบิควิตัส เลิร์นนิ่ง (Ubiquituos Learing: u-Learning) การเรียนรู้ทุกแห่งหนในยุคเว็บ 3.0

      การเรียนรู้ทุกแห่งหน (Ubiquitous Learning) หรือ u-Learning หมายถึง การเรียนรู้มีทุกหนทุกแห่งตามที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลที่สามารถเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้ทั้งประเภทสายสัญญาณและไร้สายได้ในทุกหนทุกแห่ง โดยการเข้าถึงและแลกเปลี่ยนข้อมูลและเนื้อหาการเรียนรู้สามารถดำเนินการได้โดยใช้อุปกรณ์ประเภทเคลื่อนที่ สะดวกต่อการพกติดตามตัว เช่น Mobile Phone or Smart Phone, Tablet หรือ อาจเรียกว่าเป็นการเรียนรู้ได้ในสภาพแวดล้อมทุกแห่งหน (ubiquitous learning environment: ULE)  หรือเรียกว่า การเรียนรู้มีอยู่ทั่วไป (pervasive or omnipresent education or learning)  ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิด u-Learning ได้แก่ ความสะดวกของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่สามารถติดต่อสื่อสารได้ในทุกๆ ที่และทุกเวลา ทุกสถานการณ์ด้วยการเชื่อมต่อด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ติดตามตัวประสิทธิภาพสูง รวมทั้ง ความก้าวหน้าของเว็บในยุค 2.0 ที่สนับสนุนให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ 2 ทิศทางได้โดยสะดวก ไม่มีค่าใช้จ่าย ด้วยความก้าวหน้าของเว็บ 3.0  ที่เป็นเว็บที่ฉลาดมากยิ่งขึ้น สามารถนำเสนอสารสนเทศที่ตรงกับพฤติกรรมและความต้องการของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ภาระและเวลาของผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง

จากประสบการณ์การสอนและพัฒนาระบบอีเลิร์นนิ่งซึ่งบริหารจัดการการเรียนรู้ด้วย Moodle LMS (http://www.moodle.org) ที่เว็บไซต์ http://e-learning.yru.ac.th และเว็บไซต์ http://e-learning.yru.ac.th/eres  ซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และของคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา  (มหาวิทยาลัยฯ ได้นำระบบ Moodle มาทดลองใช้เป็นครั้งแรก และพัฒนามาจนถึงทุกวันนี้) รวมทั้งประสบการณ์ในการเป็นวิทยากรให้ความรู้และทักษะการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่ง พบว่า ผู้สอนที่ประสบความสำเร็จในระบบอีเลิร์นนิ่งจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการจัดการเรียนรู้ มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื้อง ที่สำคัญคือ ต้องมีเจตคติที่ดีและมีความรู้สึึกถึงความจำเป็น รู้สึกชอบที่จะปรับเปลี่ยนจากการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติ (Traditional Classroom) มาเป็นการจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง หรือ e-Learning Classroom or Virtual Learning Environment: VLE  และปัจจัยที่จำเป็นอย่างยิ่งก็คือ ผู้สอนต้องมีเวลาจัดการเรียนการสอนมากกว่าในชั้นเรียนปกติ