วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Facebook เครือข่ายสังคมออนไลน์อันดับ 1 ใน 10 กับการประยุกต์ใช้เพื่อการเรียนการสอน

 
 
       ปัจจุบันนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า "เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network)" เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้คนในยุคนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในวัยเด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนคนวัยทำงานทั่วไป ไม่เว้นแม้แต่ผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณอายุราชการแล้ว ที่หลายคนหันมาฝึกเล่น สมัครเป็นสมาชิกสังคมเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันต้องยกให้เว็บไซต์ Facebook (http://www.facebook.com) ที่เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผู้สมัครเป็นสมาชิกมากถึง 750 คน ครองตำแหน่งเครือข่ายสังคมออนไลน์อันดับ 1 มายาวนาน ตามมาด้วย Twitter (http://www.twitter.com) จำนวนสมาชิก 250 ล้านคน Linkedin (https://www.linkedin.com/) จำนวน 110 ล้านคน  ส่วน Google+ ก็กำลังไล่ตามมาติดๆ ขยับอันดับขึ้นมาเรื่อยๆ อยู่ในอันดับที่ 6 ด้วยยอดสมาชิก 65 ล้านคน


 
 
       ความสำเร็จของ Facebook ต้องยอมยกนิ้วให้กับความสามารถและการมองการณ์ไกลของ Mark Zuckerberg   ผู้สร้าง Facebook  ด้วยความนิยมของ Facebook ทำให้ผู้คนทุกเพศ ทุกวัย ที่มีทักษะเล็กน้อย พอจะใช้คอมพิวเตอร์เป็น ซึ่งปัจจุบันน่าอาจกล่าวได้ว่าผู้ที่สามารถ "ใช้ Smart Phone หรือ Tablet" เป็น ก็จะต้องเป็นสมาชิกเครือขายสังคมออนไลน์อย่างน้อย 1 เครือข่าย  โดยเฉพาะ Facebook ทั้งนี้ เพราะความง่ายในการใช้งาน สะดวกในการพกพา สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา กลายเป็นอุปกรณ์ติดตามตัวหรือ "อินเทอร์เน็ตติดตามตัว" ไปทุกหนทุกแห่ง ทั้งนี้ เป็นอานิสงส์ของการพัฒนาเครือข่าย 3G ที่มีความเร็วสูงขึ้น รวมถึงการแข่งขันกันของตลาดผู้ผลิต Smart Phone และอุปกรณ์ Tablet หลายๆ ค่าย ทำให้ราคาอุปกรณ์เหล่านี้ถูกลง 
       อย่างไรก็ตามก็มีคำถามตามมาว่า "การใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่และเครือข่ายสังคมออนไลน์" ดังกล่าวจะนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้หรือการจัดการเรียนการสอนได้อย่างไร ซึ่งย่อมเป็นไปไม่ได้ที่ห้ามผู้คนยุคใหม่ (แม้กระทั่งยุคเก่า ยุคกระดานชนวน) ที่จะไม่ให้เล่น  Facebook, Line, Google+, Youtube หรือเครือข่ายสังคมอื่นๆ เพราะถ้าใครเล่นไม่เป็นอาจตกยุคได้ อาจถึงขนาดขาดความมั่นใจในการอยู่ในสังคมปัจจุบันไปเลยก็ได้ โดยเฉพาะในวัยนักเรียน นักศึกษา และวัยคนทำงานในสำนักงาน
      สำหรับแนวทางในการนำเครือข่ายสังคมออนไลน์มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนเองจำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคและวิธีการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมทั้งการบูรณาการเครื่องมือในโลกสังคมเครือข่ายซึ่งมีอยู่หลากหลายประเภทมาใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสม ซึ่งหากนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างลงตัว ก็น่าจะทำให้การเรียนการสอนมีความสุขทั้งผู้สอนและผู้เรียน ส่งเสริมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และก็น่าที่จะส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นตามไปด้วย
 
 
อ่านเพิ่มเติมได้ที่:

ไม่มีความคิดเห็น: