วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

การใช้โมดูล Attendance เช็คชื่อออนไลน์ประเมินจิตพิสัยผู้เรียนในระบบอีเลิร์นนิ่ง

    การประเมินผลการเรียนรู้ นับเป็นองค์ประกอบสำคัญของการจัดการการเรียนรู้ ซึ่งในระบบอีเลิร์นนิ่งให้ความสำคัญถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งในด้านความสามารถของระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ หรือ LMS (Learning Management System)  โดยเฉพาะใน Moodle LMS (www.moodle.org) ซึ่งการประเมินผลในระบบอีเลิร์นนิ่งสามารถทำได้ทั้งการวัด ด้านสติปัญญา (Cognitive Domain) เช่น การใช้แบบทดสอบประเภทต่างๆ  ทั้งแบบตัวเลือก แบบถูกผิด แบบตอบคำถามออนไลน์ เป็นต้น  การวัดด้านทักษะ (Psychomotor Domain)  เช่น การวัดด้วยข้อสอบโดยการให้อธิบายขั้นตอนการปฏิบัติโดยละเอียด (อนุมานว่าผู้ตอบได้ ก็น่าจะสามารถปฏิบัติได้) การมอบหมายงานในลักษณะใบงานให้ปฏิบัติตามคำสั่ง แล้วประเมินความสำเร็จของชิ้นงานที่ได้ ซึ่งอาจมีข้อจำกัดอยู่บ้างในระบบอีเลิร์นนิ่งสำหรับการวัดทักษะ เนื่องจากผู้เรียนไม่ได้ปฏิบัติให้เห็น  ส่วน การวัดคะแนนจิตพิสัย (Affective Domain) ได้แก่การวัดลักษณะนิสัยของผู้เรียนในระบบอีเลิร์นนิ่ง ซึ่งควรเน้นพฤติกรรมที่แสดงออกอย่างชัดเจนซึ่งลักษณะนิสัยที่ดีของผู่้เรียน  เช่น  ความขยัน การตรงต่อเวลา การเอาใจใส่ในการเรียน ความรับผิดชอบทางการเรียน เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

การจัดสอบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Testing) ผ่านเครื่องมือในระบบแบบอีเลิร์นนิ่ง

การจัดการเรียนการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่งโดยใช้ LMS (Learning Management System) เช่น ซอฟต์แวร์  Moodle (www.moodle.org)  LMS เปิดเผยรหัส (Open Source) ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้ในสถาบันการศึกษาได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย มีข้อดีคือระบบได้จัดเตรียมโมดูลแบบทดสอบ (Quiz Module) เครื่องมือสำหรับการการบริหารจัดการข้อสอบและการจัดสอบ ตั้งแต่การสร้างคลังข้อสอบ (Item Bank) การสร้างแบบทดสอบประเภทต่างๆ การจัดสอบแบบออนไลน์ การตรวจข้อสอบอัตโนมัติ การรายงานผลการสอบ นอกจากนั้น โมดูลแบบทดสอบยังมีความสามารถในการวิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบได้อีกด้วย โดยเฉพาะแบบทดสอบประเภทหลายตัวเลือก (Choice)

ภาพที่ 1 ตัวอย่างข้อสอบที่สร้างในโมดูลแบบทดสอบ (Quiz Module)

 

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

e-Learning 3.0 การเรียนที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง (self-organised learning)

Evolution of the Web

      ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเว็บปัจจุบันในยุคเว็บ 3.0 (Semantic Web ช่วง ค.ศ. 2010-2020) ซึ่งเน้นการสื่อสาร 2 ทาง ผ่านความสะดวกบนเทคโนโลยีเว็บ การเสนอเนื้อเว็บเชิงความหมาย ค้นหาสารสนเทศในเว็บได้ตรงตามความต้องการอย่างรวดเร็วในทุกๆ สถานที่ สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และเสนอข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการคลิกหรือกดปุ่มเพียงไม่กี่ครั้งผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่
     จากความก้าวหน้าของเว็บในยุค 3.0 ดังกล่าว ส่งผลให้การจัดการเรียนรู้ในยุคนี้ ซึ่งเน้นการใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือและช่องทางการเรียนรู้ (ICT-based Learning :ICT-BL)  แนวโน้มการจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning System) ที่นำเสนอเนื้อหาสาระการเรียนรู้ในรูปแบบของสื่อมัลติมีเดียดิจิตอล  ใช้ซอฟต์แวร์ระบบจัดการการเรียนรู้ (Learning Management System: LMS) จึงจะต้องมีความสามารถผนวกรวมคุณลักษณะหรือสามารถเชื่อมโยงการจัดการเรียนรู้กับเครื่องมือของเว็บ 3.0 ได้อย่างลงตัว จึงจะสามารถสร้างความสนใจให้แก่ผู้เรียนให้จดจ่ออยู่ในระบบอีเลิร์นนิ่ง  สามารถสรุปลักษณะของอีเลิร์นนิ่งในยุคที่เรียกว่า e-Learning 3.0 ได้ดังนี้