วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

บรรยากาศการจัดการเรียนรู้ออนไลน์: ความท้าทายของทักษะผู้สอนให้ประสบความสำเร็จ

       ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVID-19 ส่งผลให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษา ปรับตัว จัดการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยใช้รูปแบบและเครื่องมือสำหรับจัดการเรียนรู้หลากหลาย ความบริบทของแต่ละแห่ง ที่สำคัญคือ ทักษะของผู้สอน ที่ต้องเร่ง Upskill/Reskill อย่างเร่งด่วนและจริงจังมากขึ้น ผนวกกับการส่งเสริมและสนับสนุนของสถาบัน (คณะผู้บริหาร) หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

    ระบบอีเลิร์นนิ่ง (Electronic Learning: e-Learning) ซึ่งบริหารจัดการการเรียนรู้แบบห้องเรียนเสมือน หรือมหาวิทยาลัยเสมือน สามารถจัดการบนระบบออนไลน์ได้ในสภาพแวดล้อมเหมือนการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยในสภาวะปกติ ได้แก่ การจัดการหลักสูตร รายวิชา กิจกรรมการเรียนรู้ การประเมินผล การจัดการผู้เรียน การรายงานผลดำเนินงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถดำเนินการได้ โดยใช้ซอฟต์วแวร์ที่เรียกว่า ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (Lerning Management System: LMS) 
การจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง
  
     แต่อย่างไรก็ตาม การจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ให้ประสบผลสำเร็จ ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ของรายวิชา ยังขึ้นกับปัจจัยหลายประการ ได้แก่  นโยบายของมหาวิทยาลัย หน่วยงานรับผิดชอบ โดยเฉพาะผู้สอน ที่ต้องพัฒนาตัวเองให้มีความรู้ ความเข้า ทักษะ และเจตคติที่การสอนในระบบออนไลน์  รวมทั้ง คุณภาพของเนื้อหาวิชา การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ สื่อมัลติมีเดีย ที่สำคัญอีกประการ คือ วิธีหรือเครื่องมือในการประเมินผล  ทั้งหมดที่กล่าวนี้ เป็น "ภาระงานสอนออนไลน์" ที่หนัก เหนื่อย และยุ่งยาก มากกว่าการสอนในชั้นเรียนปกติหลายเท่า กล่าวได้ว่า "ผู้สอนออนไลน์" ไม่ใช่เป็นเพียงผู้ส่งสารหรือเนื้อหาการเรียนเท่านั้น
  
การจัดการเรียนรู้ในห้องสอนสด (Zoom e-Conferences)




    จากประสบการณ์การการจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง ซึ่งบริหารจัดการด้วย LMS เป็นประโยชน์ในการติดตามผลการสอนของอาจารย์ผู้สอน ติดตามพฤติกรรมการเรียน แต่ เนื่องจากพฤติกรรมของผู้เรียนในยุค Gen Z มีรูปแบบการเรียนรู้ (Learning Styles) ที่แตกต่างกัน ซึ่งการเลือกรูปแบบ (Platform) เครื่องมือจัดการเรียนรู้  สื่อมัลติมีเดีย สื่อสังคมออนไลน์ที่หลากหลาย มาผสมผสานใช้ร่วมกัน ด้วยการออกแบบไว้อย่างเหมาะสมด้วยทฤษฎีการเรียนรู้หรือแนวคิดที่เกี่ยวข้อง ก็คาดว่าจะสามารถตอบสนอง Learning Style ของผู้เรียนยุคนี้ได้ ซึ่งปัจจุบันมีงานวิจัยปฏิบัติการในด้านพัฒนาการเรียนรู้ออนไลน์ นำเสนอผลการวิจัยไว้หลากหลายประเด็นด้วยกัน 


การจัดการเรียนรู้ผ่าน Facebook Group

การจัดกิจกรรม Active Learning ด้วย Kahoot Game ร่วมกับระบบอีเลิร์นนิ่ง


   การผสมผสานของการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ ระหว่างบทเรียนอีเลิร์นนิ่งและสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ Facebook Group, Web Blog, Game-based Learning, Active Learning จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจทดลองวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อค้นหาคำตอบ ได้แก่ รูปแบบที่เหมาะสม  ลักษณะพฤติกรรมของผู้เรียน ลักษณะนิสัยหรือเจตคติของผู้เรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ (เวลา ค่าใช้จ่าย ความคุ้มค่า) แม้กระทั่งในประเด็นความวิตกกังวล ภาวะความเครียด หรือปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ในฝั่งของผู้สอน เป็นต้น 
     

     ในโอกาสต่อไป จะได้นำเสนอประสบการณ์จากการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ ด้วยการผสมผสานหลากหลายรูปแบบ ด้วยการออกแบบเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียน ให้สามารถเรียนรู้ในระบบออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จ และมีความสุขทั้งผู้สอนและผู้เรียน...