วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557

เว็บบล็อก: เครื่องมือจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสำหรับครูยุคใหม่

เว็บบล็อก (Weblog หรือ Web Blog) เป็นสื่อสังคมออนไลน์ในโลกสังคมดิจิตอลประเภทหนึ่งในปัจจุบันซึ่งได้รับความนิยมและมีผู้นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การสร้าง การรวบรวมและจัดเก็บเรื่องราว องค์ความรู้ ของบุคคล องค์กร รวมถึงเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการเผยแพร่ได้สะดวก สามารถค้นคืนและนำข้อมูลหรือสารสนเทศกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทั้งนี้ เนื่องจากเว็บบล็อกมีคุณสมบัติเฉพาะหลายประการ ได้แก่ การให้บริการฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย สร้างและพัฒนาง่าย ไม่ต้องมีความรู้ในการพัฒนาเว็บไซต์ เผยแพร่ข้อมูลได้สะดวกอย่างเป็นระบบ สามารถส่งข้อมูลไปเผยแพร่หรือแชร์ต่อในสื่อสังคมออนไลน์ที่เป็นที่นิยมสูง เช่น Facbook, Google+ ได้สะดวก
     ในปัจจุบัน ก็มีองค์กร หน่วยงาน หรือบริษัทต่างๆ ให้บริการองค์ความรู้ เรื่องราวขององค์กรในรูแบบเว็บบล็อกอยู่มากมาย ทั้งเว็บบล็อกประเภทให้ใช้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และคิดค่าใช้จ่ายเมื่อต้องการใช้ความสามารถและพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลที่มากขึ้น สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพครูยุคใหม่หรือเรียกว่ายุคสังคมออนไลน์ ตัวเว็บบล็อกเองก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน จัดการเรียนรู้ และใช้สำหรับรวบรวมประวัติส่วนบุคคลได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุผลหลายประการ ได้แก่ สะดวกต่อการสร้างและการดูแล สะดวกในการแลกเปลี่ยน  ส่งเสริมทักษะการคิด ส่งเสริมทักษะการเขียน ฝึกทักษะการเขียน (พิมพ์) อย่างเป็นระบบ เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ฝึกทักษะการเขียนอย่างเป็นระบบระเบียบ ซึ่งต่างจากเครื่องมือเครือข่ายสังคมอื่นๆ เช่น Facebook, Twitter และ Google+ ที่เน้นกระบวนการสื่อสารของสมาชิกมากกว่า การรวบรวมและการเผยแพร่เรื่องราวอย่างเป็นทางการ

ตัวอย่างเว็บบล็อกของครูผู้สอน เช่น
  • http://krutao.wordpress.com  ครูพรรณภา โพธิ์หลำ ซึ่งใช้บริหารของเว็บไซต์ Wordpress (www.wordpress.org) เป็นเครื่องมือในการพัฒนา
  • http://narasikkalaithai.blogspot.com คุณครูหยาดฝน  ส่าหีม โรงเรียนนราสิกขาลัย ที่พัฒนาเว็บบล็อกสำหรับสอนภาษาไทย เรื่อง การเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ ใช้ Blogger (www.blogger.com) เป็นเครื่องมือ
  • http://kruumuu.blogspot.com/ ครูเผชิญ สร้อยศิลา ร.ร.โพธิ์ทองพิทยาคม ใช้ Blogger เป็นเครื่องมือเช่นกัน
         สำหรับตัวอย่างการพัฒนาเว็บบล็อกให้เป็นเครื่องมือสำหรับจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ดูตัวอย่างเพิ่มเติมได้ที่ http://thai3p.blogspot.com
เอกสารอ้างอิง

วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลารับสมัครทุนศึกษาต่อปริญญาโท ปริญญาเอกสำหรับบุคคลภายนอก

   มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เปิดรับผู้สนใจเข้ารับทุนการศึกษาสำหรับบุคคลภายนอก เพื่อศึกษาต่อปริญญาโท ปริญญาเอก ใน สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียหรือสาขาเกี่ยวข้อง รวมทั้งสาขาอื่นๆ อีกจำนวนมากหลายหลักสูตร เมื่อผู้รับทุนสำเร็จการศึกษาแล้ว จะต้องกลับมาปฏิบัติหน้าที่ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.yru.ac.th หรือที่ลิงก์  http://www.yru.ac.th/web54/news/detail/1704/readnews-001704.html

วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2557

เสนอ (ร่าง) ข้อเสนอโครงการเรื่องระบบ Online Coaching เพื่อการพัฒนาครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 16 มีนาคม 2557 เวลา 09.00-16.00 น. ณ โรงแรมเซาท์เทิร์นวิว จ.ปัตตานี ดร.ศิริชัย นามบุรี เป็นตัวแทนทีมงาน เข้าร่วมกิจกรรมประชุมติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความเคลื่อนไหวงานวิจัยและพิจารณาข้อเสนอโครงการใหม่ ภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ ระหว่าง สกว. และภาคี สถาบันรามจิตติ ( www.ramajitti.com ) นำโดย ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ และ ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียร ในกิจกรรมนี้ ได้มีโอกาสนำเสนอแนวคิดโครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาระบบ Online Coaching เพื่อการพัฒนาครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อร่วมพิจารณาสนับสนุนให้ดำเนินการวิจัยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อร่วมพัฒนาครูในสามจังหวัดชายแดนใต้ โดยใช้ ICT เป็นเครื่องมือ แก้ปัญหาการพัฒนาครูในพื้นที่ในด้านขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ มีปัญหาความปลอดภัยในการเดินทาง ขาดแคลนงบประมาณในการเข้ารับการฝึกอบรม รวมทั้งสร้างลักษณะนิสัยการเรียนรู้ตลอดชีวิต การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มสนใจเรื่องเดียวกัน การดูแลซึ่งกันและกันของครูและผู้เชี่ยวชาญทั้งในและนอกพื้นที่ โปรดติดตามความคืบหน้าของโครงการในโอกาสต่อไป

      สำหรับในกิจกรรมครั้งนี้ ผศ.เกสรี ลัดเลีย คณบดี คณะครุศาสตร์ และ ผศ.ประยูร ดำรงรักษ์ อาจารย์ประจำสาขาเคมี คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเข้าร่วมกิจกรรมให้ข้อเสนอแนะโครงการวิจัย  และนำนักศึกษาสนับสนุนเสนอโครงการวิจัยร่วมพิจารณาในโครงการความร่วมมือทางวิชาการครั้งนี้ด้วย ได้แก่ งานวิจัยในประเด็น เช่น การจัดการขยะในชุมชน การจัดการเถ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวล  การใช้สีสกัดจากธรรมชาติจากชุมชนจากพัฒนาสื่อการเรียนในโรงเรียน [ภาพเพิ่มเติม...]