วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ภาระและเวลาของผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง

จากประสบการณ์การสอนและพัฒนาระบบอีเลิร์นนิ่งซึ่งบริหารจัดการการเรียนรู้ด้วย Moodle LMS (http://www.moodle.org) ที่เว็บไซต์ http://e-learning.yru.ac.th และเว็บไซต์ http://e-learning.yru.ac.th/eres  ซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และของคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา  (มหาวิทยาลัยฯ ได้นำระบบ Moodle มาทดลองใช้เป็นครั้งแรก และพัฒนามาจนถึงทุกวันนี้) รวมทั้งประสบการณ์ในการเป็นวิทยากรให้ความรู้และทักษะการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่ง พบว่า ผู้สอนที่ประสบความสำเร็จในระบบอีเลิร์นนิ่งจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการจัดการเรียนรู้ มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื้อง ที่สำคัญคือ ต้องมีเจตคติที่ดีและมีความรู้สึึกถึงความจำเป็น รู้สึกชอบที่จะปรับเปลี่ยนจากการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติ (Traditional Classroom) มาเป็นการจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง หรือ e-Learning Classroom or Virtual Learning Environment: VLE  และปัจจัยที่จำเป็นอย่างยิ่งก็คือ ผู้สอนต้องมีเวลาจัดการเรียนการสอนมากกว่าในชั้นเรียนปกติ

     จากประสบการณ์ตรง ในบทบาทผู้สอนในระบบอีเลิร์นนิ่งที่บริหารจัดการด้วย Moodle ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก พบว่า การจัดการชั้นเรียนในระบบอีเลิร์นนิ่งมีองค์ประกอบหลักๆ ในการจัดการเรียนการสอนตามแผนของผู้สอนแต่ละครั้ง (บท) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ทรัพยากรการเรียนรู้ (Resources) และกิจกรรมการเรียนรู้ (Activities)  พร้อมจัดเครื่องมือสนับสนุนการติดต่อสื่อสารให้กับผู้เรียน  แหล่งเรียนรู้ที่นิยมใช้ ได้แก่ การสร้างลิงก์ไปยัง เอกสารประเภท PDF, สไลด์ประกอบการสอน, เอกสารบนเว็บ และสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เช่น ภาพนิ่ง คลิปวิดีโอ เป็นต้น ส่วนกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้สอนนิยมสร้างขึ้นในการจัดการเรียนเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบ (Quiz) แบบตัวเลือก  การมอบหมายงานหรือการบ้าน (Assignment) การสร้างอภิธานศัพท์ (Glossary) การแลกเปลี่ยนในการดานเสวนา (Forum) และการสื่อสารผ่านอีเมล
    การสร้างแหล่งเรียนรู้และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านระบบ Moodle ดังกล่าว ผู้สอนสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง  โดยในที่นี้ ผู้เขียนเองนับว่าประสบการณ์ ความรู้และทักษะในการจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่งอยู่ใน ระดับดี เนื่องจากมีประสบกาณณ์สอนมากกว่า 7 ปี  สามารถประเมินการใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่งได้ ดังนี้

ตารางที่ 1 การใช้เวลาในการสร้างรายวิชาและสร้างแหล่งเรียนรู้ (เนื้อหา 1 บท)
แหล่งเรียนรู้
เวลาที่ใช้
(ชั่วโมง/นาที)
หมายเหตุ
การสร้างโครงสร้างรายวิชาและ
ส่วนนำของรายวิชา
30 นาที
สร้างเมื่อเริ่มจัดการเรียนรู้ครั้งแรก
การสร้างไฟล์ PDF และลิงก์
30 นาที
ผู้สอนมีไฟล์ประเภท MS Word
ในรูปแบบเอกสารประกอบการสอน
การสร้างไฟล์สไลด์นำเสนอ
120 นาที
เนื้อหาจากเอกสารประกอบการสอน
การสร้างเว็บเพจหรือค้นหาแหล่งเรียนรู้
และสร้างลิงก์ไปยังเนื้อหาในเว็บ
60 นาที
ค้นหา WBI หรือ Social Media
รวมเวลาในการสร้าง  1 บทเรียน
300 นาที
(หรือ 5 ชั่วโมง)
 1 รายวิชามีเนื้อหาประมาณ
8 บท ต้องใช้เวลาในการพัฒนา
แหล่งเรียนรู้ประมาณ 40 ชั่วโมง

    จากตารางที่ 1 แสดงรายละเอียดโดยเบื้องต้นในการเวลาสำหรับสร้างรายวิชาใหม่ สร้างแหล่งเรียนรู้เบื้องต้น โดยประมาณเวลาจากการสร้างเนื้อหาเรียนรู้ จำนวน 1 บท เวลาบทละ 5 ชั่วโมง จำนวน 8 บท รวม 40 ชั่วโมง ในการเตรียมเนื้อหาและทรัพยากรการเรียนรู้

ตารางที่ 2 การใช้เวลาในการสร้างกิจกรรมและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละบทเรียน
กิจกรรมการเรียนรู้
เวลาที่ใช้สร้าง
กิจกรรมการเรียนรู้
(ชั่วโมง/นาที)
เวลาที่ใช้ตอบ/ให้ผลย้อนกลับ
(Feedback) ต่อผู้เรียน 1 คน
แบบทดสอบแบบตัวเลือก (10 ข้อ)
50 นาที 
ไม่มี (ตรวจคะแนนอัตโนมัติ)
การบ้านหรือการมอบหมายงาน
(Assignment) ตอบคำถามออไลน์หรือ
แนบไฟล์
30 นาที
5 นาที (เปิดอ่าน ให้ข้อเสนอแนะ
ประเมินให้คะแนน)
อภิธานศัพท์ (Glossary)
15 นาที
5 นาที (เปิดอ่าน และประเมินให้
คะแนน)
กระดานเสวนา (Forum)
5 นาที
5 นาที (เปิดอ่าน ให้ข้อเสนอแนะ
และให้คะแนน)
รวมเวลาที่ใช้ต่อนักเรียน 1 คน
ต่อ 1 บทเรียน 
100 นาที
จำนวน 8 บท
คิดเป็น 800 นาที
หรือประมาณ
13.33 ชั่วโมง
15 นาที/คน/บทเรียน
(กรณีห้องละ 30 คน รวม 450 นาที
หรือ 7.5 ชั่วโมง และมีทั้งหมด
8 บท รวมเป็น 60 ชั่วโมง

     จากตารางที่ 2  สามารถประมาณการเวลาที่ผู้สอนใช้สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ 8 บทเรียน รวม 13 ชั่วโมง และผู้สอนต้องใช้เวลาในการตรวจประเมินคะแนน ให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้เรียนแต่ละคน โดยประมาณการ กลุ่มเรียนละ 30 คน รวม 60 ชั่วโมง
    ดังนั้น อาจสามารถประมาณการได้ว่า ผู้สอนจะต้องใช้เวลาในการเตรียมการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่งในหนึ่งวิชา ที่มีเนื้อหาจำนวน 8 บท โดยมีเนื้อหาหรือแหล่งเรียนรู้ ประกอบด้วยสื่อการเรียนรู้แบบง่ายๆ ได้แก่ ไฟล์ PDF, สไลด์ประกอบการบรรยาย เอกสารในเว็บหรือสื่อในสังคมออนไลน์ ต้องใช้เวลาประมาณ 40 ชัั่วโมง
    ส่วนการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้และการให้ผลย้อนกลับแก่ผู้เรียน ประกอบด้วย แบบทดสอบ การบ้านหรือมอบหมายงาน อภิธานศัพท์ กระดานเสวนา จัดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักศึกษาจำนวน 30 คนต่อกลุ่ม ต้องใช้เวลาสร้างกิจกรรมประมาณ 13 ชั่วโมง และใช้เวลาในการทำกิจกรรมการสอนประมาณ 60 ชั่วโมง
     ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่ง ผู้สอนต้องใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ทั้งรายวิชา ประมาณ 40+13+60 = 113 ชั่วโมง รวมทั้งเวลาในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนปกติ อีกบทละ 2 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง  รวมสรุปได้ว่า การจัดการเรียนการสอนผสมผสานระหว่างชั้นเรียนอีเลิร์นนิ่งร่วมกับชั้นเรียนปกติ 1 วิชา ผู้สอนต้องใช้เวลารวมทั้งสิ้นประมาณ 129-130 ชั่วโมง ซึ่งต้องใช้เวลาเป็น 2 เท่าของ
ของการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนปกติเพียงอย่างเดียวถึง 2 เท่า ซึ่งรายวิชา 3 หน่วยกิต ปกติจัดการเรียนการสอน 15 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง รวม 60 ชั่วโมง
     จากข้อมูลเบื้องต้นจะเห็นว่า การจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง ผู้สอนจะต้องมีความตั้งใจ มีความอดทน มีความรู้และทักษะด้านการจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่งโดยใช้ ICT เป็นเครื่องมือ ซึ่งหมายความว่าผู้สอนไม่ได้สบายดังที่หลายท่านเข้าใจ ทั้งนี้ เนื่องจากการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่งสนับสนนให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่และทุกเวลา การให้ผลย้อนกลับ การตอบสนองแก่ผู้เรียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
     อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ทราบภาระการสอนของผู้สอนในระบบอีเลิร์นนิ่งให้ชัดเจน ควรมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมจากกลุ่มตัวอย่างผู้สอนในระบบอีเลิร์นนิ่งเพิ่มเติม เพื่อนำผลวิจัยที่ได้ไปประกอบการประเมินภาระงานของผู้สอนยุคใหม่ในระบบอีเลิร์นนิ่ง

ไม่มีความคิดเห็น: