วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

การประยุกต์ใช้เอกสาร Spread Sheet การเช็คชื่อการเข้าชั้นเรียนตรงเวลาร่วมกับระบบอีเลิร์นนิ่ง

http://elearning.yru.ac.th/elearning
    จากประสบการณ์การจัดการเรียนการสอน ปัญหาชั้นเรียนประการหนึ่งคือ การเข้าห้องเรียนสายไม่ตรงเวลา โดยเฉพาะในคาบเรียนเช้าๆ เวลา 08.00 น. จึงทดลองแก้ปัญหากับนักศึกษาปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ. 5 ปี) สาขาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในรายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ชั้นสูง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557  โดยดำเนินการด้วยมาตรการ ดังนี้

1. กำหนดตกลงร่วมกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน คือ การอธิบายรายละเอียด มคอ.3 โดยเฉพาะการวัดพฤติกรรมที่แสดงออกถึงคุณธรรมจริยธรรมด้านการตรงต่อเวลา ซึ่งเป็นปัญหาหลักๆ ของนักศึกษา มรย. ที่มีความเคยชินกับการมาสาย ไม่ตรงเวลา คือ เวลาเรียน 08.00-12.00 น. กำหนดเวลาในการเรียกชื่อเข้าชั้นเรียน 08.10 น. นักศึกษาคนใดมาก่อนเวลาหรือทันเวลา ประเมินคะแนนจิตพิสัย 2 คะแนน นักศึกษาคนใดมาสายหลัง 08.10 น. ประเมินคะแนน 1 คะแนน นักศึกษาคนใดลากิจ ลาป่วยมีเหตุผลน่าเชื่อถือได้ ประเมิน 1 คะแนน และสำหรับนักศึกษาที่ไม่มาเรียน ประเมิน 0 คะแนน


2. ครูผู้สอนปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง  หมายถึง ผู้สอนปฏิบัติตนเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่ผู้เรียน โดยต้องมาถึงห้องสอนก่อนเวลา  08.00 น. แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสมกับความเป็นครู และเตรียมการเรียนการสอนให้พร้อมก่อน 08.10 น. จากนั้นให้ดำเนินการสอนเต็มเวลาและอย่างจริงจัง โดยให้นักศึกษาพัก 15 นาที ในเวลา 10.30-10.45 น.


3. บันทึกคะแนนออนไลน์ผ่าน Google Spread Sheet คือ สร้างแผ่นเอกสารด้วย Google Spread Sheet แสดงคะแนนและการคำนวณคะแนนจิตพิสัย ซึ่งกำหนดคะแนนเต็มไว้ 10 คะแนน ลิงก์เชื่อมโยงกับระบบอีเลิร์นนิ่ง โดยนักศึกษาสามารถเปิดดูคะแนนตนเองแบบออนไลน์ได้ตลอดเวลา เชื่อมโยงจากระบบอีเลิร์นนิ่งของรายวิชา (http://elearning.yru.ac.th/elearning)


4. ชี้ให้เห็นประโยชน์ของการตรงต่อเวลา คือ ผู้สอนเน้นย้ำเรื่องของการปฏิบัติตนในการรักษาเวลา การตรงต่อเวลา เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ที่จะออกไปประกอบวิชาชีพครูในอนาคต

     กระบวนการทดลองแก้ปัญหาดังกล่าว จะได้สรุปผลการดำเนินงานและรายงานให้ท่านที่สนใจในโอกาสต่อไป ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นงานวิจัยชั้นเรียนเล็กๆ แต่มีคุณค่าในการสร้างลักษณะนิสัยที่ดีให้แก่ผู้เรียนหรือนักศึกษา ที่จะออกไปทำหน้าที่หรือประกอบวิชาชีพครูต่อไปในอนาคต

วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ร่วมกิจกรรมและวิทยกรแนะนำทิศทางการพัฒนาด้าน ICT ของ มรย.

เล่าสู่กันฟัง...เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 และวันที่ 1 สิงหาคม 2557 ฝ่ายพัฒนานักศึกษา มรย. ให้โอกาสเชิญเป็นวิทยากรให้ความรู้ความเข้าใจ "เกี่ยวกับนโยบายและทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา" ให้แก่นักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2557 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จำนวนกว่า 2,000 คน และร่วมเป็นวิทยากรในกิจกรรมปฐมนิเทศผู้ปกครองนักศึกษาใหม่ เมื่อวันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม 2557  ณ หอประชุมใหญ่ มรย. มี ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดี ให้เกียรติเป็นประธานและพบปะให้โอวาทแก่นักศึกษาและผู้ปกครอง 
    ทั้งสองกิจกรรมมีนักศึกษาและผู้ปกครองให้ความร่วมมือเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก โดยให้ความสนใจต่อการทิศทางการพัฒนาด้าน ICT ของ มรย.เป็นอย่างดี โดยเฉพาะนโยบายสนับสนุนการเรียนรู้โดยใช้ ICT เน้นที่โครงการจัดหา Smart Phone, Tablet เงินผ่อนแก่นักศึกษาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง ซึ่งในปีงบประมาณ 2557 นี้ มรย. ตั้งเป้าพัฒนาอาจารย์มีความรู้และทักษะการจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่งร้อยละ 50 ซึ่งผลการดำเนินงานในโครงการขณะนี้ มีอาจารย์สร้างรายวิชาอีเลิร์นนิ่งกว่า 150 ท่าน  (กลุ่มใหม่และกลุ่มเก่า) จากอาจารย์ทั้งหมดประมาณ 260 คน ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายตามตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2557 และจะผลักดันต่อในปีงบประมาณ 2558 ให้เพิ่มจำนวนมากขึ้น รวมถึงพัฒนาศักยภาพด้าน ICT ให้แก่อาจารย์ให้เกิดความเชี่ยวชาญมากขึ้น

วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ขอเชิญร่วมสัมมนาวิชาการนานาชาติ ICTechEd2014

 
Scope and Topics :
The conference will focus on fields of vocational and technical education which scopes and topics are as follows:
  • Dual Vocational and Higher Education
  • Digital Media Design (e-Learning, m-Learning, Computer Based Training )
  • Curriculum Development and Learning
  • Development of Vocational Qualification Framework
  • Recognized Prior Learning: RPL
  • Learning Technology and Innovation
  • Educational Technology
  • Vocational Administration
  • Industrial Business Administration
  • Competency Based Learning
  • Work Integrated Learning (Cooperative Education)
  • Technical Education Management
  • Knowledge Management
  • Mechanical Engineering and Education
  • Electrical Engineering and Education
  • Civil Engineering and Education
  • Other Relevant Engineering and Technology in Engineering Education

วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ขอเชิญร่วมสัมมนาวิชาการนานาชาติ The 5th TCU International e-Learning Conference : Overcome the Uncertainty of Technology in Education

ขอเชิญร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติ  The 5th TCU International e-Learning Conference : Overcome the Uncertainty of Technology in Education ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ระหว่างวันที่ 5-6 สิงหาคม 2557 นี้ ณ ศูนย์ประชุมอิมแพค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี 
  ในปีนี้มีหัวข้อการจัดสัมมนาที่น่าสนใจมากมายภายใต้ 
Conference Theme
 
Overcome the Uncertainty of Technology in Education.
 
Conference Sub-Themes
 
  1. Uncertainty of Technology in Education
  2. Trends and Directions of Technology in Education
  3. MOOCs
  4. Diversity of Technology in Education
  5. M-Learning
  6. Social Learning and Social Media
  7. Emerging Technology for Online Education
  8. Virtual Reality Applications
  9. Educational Cloud "Develop Infrastructure"
  10. Learning Analytics
  11. Game-Based Education
  12. Quality Assurance in Distance Online Education
ผู้สนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์  http://iec2014.thaicyberu.go.th 

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ร่วมประชุมกรรมการ The 1st Deep South Youth Congress Meeting

วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เวลา 09.00-12.00 น. ดร.ศิริชัย นามบุรี ได้รับเกียรติเชิญจากสมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง) เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการสภาเพื่อการพัฒนาเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในฐานะผู้แทนจากหน่วยงานการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมประชุม The 1st Deep South Youth Congress Meeting ณ โรงแรมซีเอส จังหวัดปัตตานี โดยร่วมกิจกรรมกับผู้แทนเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ที่ทำงานเพื่อส่งเสริมกิจกรรมเด็กและเยาวชน ทั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อร่วมมือดำเนินงานในด้านป้องกัน ส่งเสริม แก้ไข และพัฒนาคุณภาพของเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีคุณภาพ คิดเชิงสร้างสรรค์ ร่วมทำหรือขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อความสงบและสันติสุขให้เกิดในพื้นที่อย่างยั่งยืนต่อไป ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก
องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID)




วันอังคารที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2557

นำเสนองานโครงการวิจัยระบบชี้แนะออนลไน์ (Coaching Online) แก้ปัญหาการพัฒนาครูในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้

วันที่ 21 มีนาคม 2557 เวลา 09.00-16.00 น. สถาบันรามจิตติ จัดกิจกรรมประชุมรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัยความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ ณ โรงแรมบุรีศรีภูบูติคโฮเต็ล อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา  ในกิจกรรมครั้งนี้ คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ดร.ศิริชัย นามบุรี ได้มีโอกาสนำเสนอข้อเสนอโครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาระบบชี้แนะออนไลน์ (Online Coaching) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือเพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการแก้ปัญหาการพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะวิชาชีพครูในสถานการณ์ความไม่สงบ รวมทั้งแก้ปัญหาเรื่องภาระงานสอนมากไม่สามารถเข้าอบรมพัฒนาตนเองได้ในเวลาปกติ และมีงบประมาณที่จำกัดในการพัฒนาบุคลากร  ซึ่งคาดหวังว่าผลการวิจัยจะสามารถพัฒนาระบบการให้คำชี้แนะออนไลน์แก่ครูผู้สอนในระดับประถมศึกษา สร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญและครูผู้สอน รวมทั้งครูผู้สอนด้วยกันเองทั้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) และต่างพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน และมีผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ต่อไป โปรดติดตามผลงานวิจัยในโครงการนี้ต่อไป

วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557

เว็บบล็อก: เครื่องมือจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสำหรับครูยุคใหม่

เว็บบล็อก (Weblog หรือ Web Blog) เป็นสื่อสังคมออนไลน์ในโลกสังคมดิจิตอลประเภทหนึ่งในปัจจุบันซึ่งได้รับความนิยมและมีผู้นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การสร้าง การรวบรวมและจัดเก็บเรื่องราว องค์ความรู้ ของบุคคล องค์กร รวมถึงเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการเผยแพร่ได้สะดวก สามารถค้นคืนและนำข้อมูลหรือสารสนเทศกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทั้งนี้ เนื่องจากเว็บบล็อกมีคุณสมบัติเฉพาะหลายประการ ได้แก่ การให้บริการฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย สร้างและพัฒนาง่าย ไม่ต้องมีความรู้ในการพัฒนาเว็บไซต์ เผยแพร่ข้อมูลได้สะดวกอย่างเป็นระบบ สามารถส่งข้อมูลไปเผยแพร่หรือแชร์ต่อในสื่อสังคมออนไลน์ที่เป็นที่นิยมสูง เช่น Facbook, Google+ ได้สะดวก
     ในปัจจุบัน ก็มีองค์กร หน่วยงาน หรือบริษัทต่างๆ ให้บริการองค์ความรู้ เรื่องราวขององค์กรในรูแบบเว็บบล็อกอยู่มากมาย ทั้งเว็บบล็อกประเภทให้ใช้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และคิดค่าใช้จ่ายเมื่อต้องการใช้ความสามารถและพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลที่มากขึ้น สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพครูยุคใหม่หรือเรียกว่ายุคสังคมออนไลน์ ตัวเว็บบล็อกเองก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน จัดการเรียนรู้ และใช้สำหรับรวบรวมประวัติส่วนบุคคลได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุผลหลายประการ ได้แก่ สะดวกต่อการสร้างและการดูแล สะดวกในการแลกเปลี่ยน  ส่งเสริมทักษะการคิด ส่งเสริมทักษะการเขียน ฝึกทักษะการเขียน (พิมพ์) อย่างเป็นระบบ เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ฝึกทักษะการเขียนอย่างเป็นระบบระเบียบ ซึ่งต่างจากเครื่องมือเครือข่ายสังคมอื่นๆ เช่น Facebook, Twitter และ Google+ ที่เน้นกระบวนการสื่อสารของสมาชิกมากกว่า การรวบรวมและการเผยแพร่เรื่องราวอย่างเป็นทางการ

ตัวอย่างเว็บบล็อกของครูผู้สอน เช่น
  • http://krutao.wordpress.com  ครูพรรณภา โพธิ์หลำ ซึ่งใช้บริหารของเว็บไซต์ Wordpress (www.wordpress.org) เป็นเครื่องมือในการพัฒนา
  • http://narasikkalaithai.blogspot.com คุณครูหยาดฝน  ส่าหีม โรงเรียนนราสิกขาลัย ที่พัฒนาเว็บบล็อกสำหรับสอนภาษาไทย เรื่อง การเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ ใช้ Blogger (www.blogger.com) เป็นเครื่องมือ
  • http://kruumuu.blogspot.com/ ครูเผชิญ สร้อยศิลา ร.ร.โพธิ์ทองพิทยาคม ใช้ Blogger เป็นเครื่องมือเช่นกัน
         สำหรับตัวอย่างการพัฒนาเว็บบล็อกให้เป็นเครื่องมือสำหรับจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ดูตัวอย่างเพิ่มเติมได้ที่ http://thai3p.blogspot.com
เอกสารอ้างอิง

วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลารับสมัครทุนศึกษาต่อปริญญาโท ปริญญาเอกสำหรับบุคคลภายนอก

   มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เปิดรับผู้สนใจเข้ารับทุนการศึกษาสำหรับบุคคลภายนอก เพื่อศึกษาต่อปริญญาโท ปริญญาเอก ใน สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียหรือสาขาเกี่ยวข้อง รวมทั้งสาขาอื่นๆ อีกจำนวนมากหลายหลักสูตร เมื่อผู้รับทุนสำเร็จการศึกษาแล้ว จะต้องกลับมาปฏิบัติหน้าที่ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.yru.ac.th หรือที่ลิงก์  http://www.yru.ac.th/web54/news/detail/1704/readnews-001704.html

วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2557

เสนอ (ร่าง) ข้อเสนอโครงการเรื่องระบบ Online Coaching เพื่อการพัฒนาครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 16 มีนาคม 2557 เวลา 09.00-16.00 น. ณ โรงแรมเซาท์เทิร์นวิว จ.ปัตตานี ดร.ศิริชัย นามบุรี เป็นตัวแทนทีมงาน เข้าร่วมกิจกรรมประชุมติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความเคลื่อนไหวงานวิจัยและพิจารณาข้อเสนอโครงการใหม่ ภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ ระหว่าง สกว. และภาคี สถาบันรามจิตติ ( www.ramajitti.com ) นำโดย ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ และ ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียร ในกิจกรรมนี้ ได้มีโอกาสนำเสนอแนวคิดโครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาระบบ Online Coaching เพื่อการพัฒนาครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อร่วมพิจารณาสนับสนุนให้ดำเนินการวิจัยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อร่วมพัฒนาครูในสามจังหวัดชายแดนใต้ โดยใช้ ICT เป็นเครื่องมือ แก้ปัญหาการพัฒนาครูในพื้นที่ในด้านขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ มีปัญหาความปลอดภัยในการเดินทาง ขาดแคลนงบประมาณในการเข้ารับการฝึกอบรม รวมทั้งสร้างลักษณะนิสัยการเรียนรู้ตลอดชีวิต การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มสนใจเรื่องเดียวกัน การดูแลซึ่งกันและกันของครูและผู้เชี่ยวชาญทั้งในและนอกพื้นที่ โปรดติดตามความคืบหน้าของโครงการในโอกาสต่อไป

      สำหรับในกิจกรรมครั้งนี้ ผศ.เกสรี ลัดเลีย คณบดี คณะครุศาสตร์ และ ผศ.ประยูร ดำรงรักษ์ อาจารย์ประจำสาขาเคมี คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเข้าร่วมกิจกรรมให้ข้อเสนอแนะโครงการวิจัย  และนำนักศึกษาสนับสนุนเสนอโครงการวิจัยร่วมพิจารณาในโครงการความร่วมมือทางวิชาการครั้งนี้ด้วย ได้แก่ งานวิจัยในประเด็น เช่น การจัดการขยะในชุมชน การจัดการเถ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวล  การใช้สีสกัดจากธรรมชาติจากชุมชนจากพัฒนาสื่อการเรียนในโรงเรียน [ภาพเพิ่มเติม...]

วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ขอเชิญร่วมงานสัมมนาวิชาการระดับชาติ "A day of future with e-Learning"


ขอเชิญผู้สนใจร่วมกิจกรรมสัมมนาวิชการด้านอีเลิร์นนิ่งระดับชาติ วันที่ 11 มีนาคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต [รายละเอียดเพิ่มเติม]

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ผลงานของนักเรียนชั้น ม.2 ในโครงการวิจัยโดยใช้เว็บบล็อกสอนภาษาไทย เรื่อง การเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์


http://kroojisatit.blogspot.com
ตัวอย่างการใช้เว็บบล็อกเพื่อจัดการเรียนการสอน วิชาภาษาไทย ระดับชัั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สำหรับครูผู้สอนในสามจังหวัดชายแดนใต้ นับเป็นการประยุกต์ใช้เว็บบล็อกและเครื่องมือในเครือข่ายสังคมออนไลน์ จัดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเครือข่ายครูผู้สอนและผู้เรียน  ซึ่งผลงานเรียงความเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เป็นเรื่องราวด้านศาสนสถาน ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต แหล่งท่องเที่ยวหรืออื่นๆ ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ จะได้นำเสนอผ่านเว็บบล็อกของครูผู้สอน ครูผู้สอนทำหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะและข้อแนะนำในการปรับปรุงผลงาน สิ่งที่ทั้งผู้สอนและผู้เรียนจะได้รับจากการสอนผ่านเว็บบล็อก คือ ทักษะการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้  การใช้ ICT ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนต้องกระตือรือร้น มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง นอกจากนั้น เรื่องราวต่างๆ ที่ผู้เรียนเผยแพร่ ยังเป็นผลงานที่สามารถบอกเรื่องราวดีๆ ในพื้นที่ของสามจังหวัดชายแดนใต้อีกด้วย ท่านที่สนใจ ดูตัวอย่างเพิ่มเติมได้ที่ http://kroojisatit.blogspot.com  

การเสวนาและประชุมเชิงปฏิบัติการระดับชาติ ด้านอีเลิร์นนิง ปี 2557 การเรียนรู้อย่างชาญฉลาดด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่

http://itsc.cmu.ac.th/elearningday2014
     มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดประชุมการ 9th National e-Learning Seminar and Workshop 2014 Smart Learning with Innovative Technologies มีกิจกรรมการเสวนาและประชุมเชิงปฏิบัติการระดับชาติ ด้านอีเลิร์นนิง ปี 2557 การเรียนรู้อย่างชาญฉลาดด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2557 ณ สานักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ค่าลงทะเบียนบุคคลภายนอกท่านละ 500 บาท มีหัวเรื่องเสวนาและประชุมปฏิบัติการที่น่าสนใจดังนี้

Session 1: Smart Media and Mobile Learning: การเรียนการสอนด้วยสื่อใหม่และแอพการศึกษา
Session 2: Smart Media with Powtoon
Session 3: Smart Classroom Technology
Session 4: Smart Learning with CMU Online (Moodle Version 2.5): การจัดการเรียนการสอนด้วย  
                 ระบบ e-Learning ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้สนใจโปรดอ่านรายละเอียดและลงทะเบียนได้ที่ http://itsc.cmu.ac.th/elearningday2014  รับจำนวนจำกัดเพียง 250 ท่านเท่านั้น