ปฏิบัติงานด้วยตนเอง โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Instruction: PjBL) และบูรณาการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาในด้านการจัดการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยเฉพาะการจัดการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่นักเรียนในพื้นที่นิยมเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญและเลือกเรียนโปรแกรมวิทยาศาสตร์ แต่ปัญหาสำคัญของโรงเรียนในพื้นที่ คือ ครูวิทยาศาสตร์ ยังขาดทักษะการจัดการเรียนรู้ปฏิบัติการหรือการทดลองในห้องปฏิบัติการ อาจมาจากสาเหตุที่โรงเรียนขาดแคลนห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และวัสดุการทดลอง และที่สำคัญก็คือ บางโรงเรียนอาจมีครูสอนวิทยาศาสตร์ที่ไม่ตรงวุฒิหรือผู้สอนตรงวุฒิแต่ขาดทักษะการสอนการทดลอง ขาดทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ทันสมัย เนื่องจากหลักสูตรที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีล้าสมัย หลักสูตรไม่ได้มุ่งเน้นการฝึกทักษะการทดลองเป็นรายบุคคล หรือครูผู้สอนบางคนสอนมาเป็นระยะเวลานาน ขาดการอบรม ทบทวนในขั้นตอนหรือวิธีการทดลอง หรือขาดประสบการณ์ในการทดลองบางสาระในเนื้อหาวิชา เป็นต้น
ปัญหาดังกล่าว ผู้สอนและผู้เรียนในรายวิชา WBI เห็นความสำคัญของปัญหาร่วมกัน และหาแนวทางที่จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน (นอกเหนือจากวิธีการอบรม) และเผยแพร่ให้แก่ครูและผู้เรียนที่สนใจพัฒนาทักษะการทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ คือ การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งสอนการทดลองในห้องปฏิบัติการ ด้วยโปรแกรม eXeLearning (http://www.exelearning.org) ซึ่งเน้นเนื้อหาเป็นข้อความ ภาพนิ่ง และวิดีทัศน์ โดยเน้นการใช้ "วิธีการสอนแบบสาธิตขั้นตอนการทดลอง" ในวิชาเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยบูรณาการร่วมกับโรงเรียนในโครงการพัฒนาห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program: SMP) ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ดำเนินการร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่ และโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการอีก 9 โรงเรียน (http://smp-blogspot.com) โดยให้ครูผู้สอนในโรงเรียน SMP เป็นครูผู้สอนหรือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา นักศึกษาในรายวิชา WBI เป็นผู้พัฒนาบทเรียน นักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการ SMP เป็นผู้สนับสนุนทีมพัฒนา และมีผู้สอน และคณาจารย์จากสาขาด้านวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
สำหรับบทเรียนอีเลิร์นนิ่งต้นแบบในการจัดทำครั้งนี้ กำหนดเนื้อหาการทดลองหรือปฏิบัติการในรายวิชา เคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี 4 จำนวน 7 เรื่อง โดยใช้หลักสูตรที่ปรับใช้ร่วมกันของโรงเรียนในเครือข่าย SMP ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ รายวิชาเพิ่มเติม เคมีเล่ม ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖ กลุ่มสามารถการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศีกษาธิการ (สสวท.) โดยจัดทำเนื้อหารวม 7 เรื่อง ดังนี้
1) เครื่องแก้วและอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ
2) การแยกสายการกลั่นธรรมดา
3) การละลายของสารประกอบไอออนิกในน้ำ
4) การเกิดปฏิกิริยาของสายประกอบไอโอนิก
5) การแยกสารด้วยเทคนิคโครมาโตกราฟี
6) สมบัติคอลลิเกทีฟของสารละลาย
7) การแยกสายด้วยกรวยแยก
ซึ่งผลของการดำเนินการพัฒนาบทเรียนต้นแบบ จะได้เผยแพร่และนำเสนอในเว็บไซต์ของโครงการ SMP (http://smp-yru.blogspot) ต่อไป และหากเป็นแนวทางที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี ทั้งครูผู้สอน และผู้เรียนในโรงเรียน SMP จะได้กำหนดให้เป็นกิจกรรมหลักในการพัฒนาสื่อบทเรียนอีเลิร์นนิ่งให้ครอบคลุมวิชาเคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 สำหรับใช้จัดการเรียนรู้ในโครงการ SMP และโรงเรียนอื่นๆ ที่สนใจต่อไป รวมทั้งการวิจัยรูปแบบการพัฒนา ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการวิจัยต่อไป โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ ส่งเสริมให้ครู นักเรียน ได้ลงมือปฏิบัติจริงตามขั้นตอนการสาธิต การลงมือทำและเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน และเผยแพร่เป็นสื่อการสอนในระบบออนไลน์ในระบบอีเลิร์นนิ่ง หรือในระบบ MOOC ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และในระบบออนไลน์ช่องทางอื่นๆ ต่อไป
1 ความคิดเห็น:
สล็อต ทดลอง เล่น ระบบใหม่ปัจจุบันที่ได้สะสมเกมทดสอบเล่นสล็อตค่าย PG SLOT ที่ทดสอบ เล่นสล็อตฟรีสปิน ทดสอบเล่นได้ก่อนผู้ใคร ไม่ต้องสมัคร ไม่ต้องฝาก ทดลองเล่นสล็อตฟรี
แสดงความคิดเห็น