วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563

ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) ในระบบอีเลิร์นนิ่ง

 ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVID-19 ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา ทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา รวมทั้งมหาวิทยาลัยอื่น ๆ จำเป็นต้องปรับตัวรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัส COVID-19  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีนโยบายโดยกำหนดรูปแบบและวิธีการสอน และการจัดการเรียนรู้ ที่จะต้องลดเวลาที่จะพบกันในชั้นเรียนปกติระหว่างอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาให้มากที่สุด โดยเลือกรูปแบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ที่มหาวิทยาลัยมีสนับสนุนให้อาจารย์อยู่แล้ว ได้แก่ระบบอีเลิร์นนิ่ง หรือ ระบบ YRU e-Learning ซึ่งนับเป็นข้อดีที่ ไม่ต้องเริ่มพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบออนไลน์ใหม่ ถือวิกฤตเป็นโอกาสที่จะพัฒนาระบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยไปสู่การจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือแบบผสมผสาน (Blended Learning: BL) ระหว่างชั้นเรียนปกติ กับ ชั้นเรียนออนไลน์ต่อไป 

      โดยทั่วไป มหาวิทยาลัยมักจะเลือกระบบอีเลิร์นนิ่งให้เป็นรูปแบบ (Platform) ใช้เป็นเครื่องมือหลักในการจัดการเรียนรู้ร่วมกันทั้งมหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลากำหนดกลยุทธ์ คือกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทุกคนจัดการเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่งที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ ที่เว็บไซต์ http://elearning.yru.ac.th ซึ่งบริหารจัดการด้วยซอฟต์แวร์ Moodle LMS นำมาปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของมหาวิทยาลัย มุ่งให้อาจารย์ผู้สอนสามารถบริหารจัดการรายวิชาของตนเอง จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในระบบได้ด้วยตนเอง โดยการฝึกอบรมทางออนไลน์ให้อาจารย์ผู้สอนอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดให้ผลการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่ง มีสัดส่วนประเมินผลการปฏิบัติงานจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านระบบอีเลิร์นนิ่ง ร้อยละ 25 โดยผู้สอนสามารถเลือกรูปแบบผสมผสาน (Blended Learning) อื่น ๆ ร่วมด้วย ทั้งเลือกเครื่องมือหรือรูปแบบ (Platform) อื่น ๆ ร่วมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ได้อีกด้วย แต่ยังคงต้องรายงานคะแนน (Greding Report) ผ่านทางระบบอีเลิร์นนิ่ง เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันความสำเร็จ







     สำหรับรายวิชา ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ (Online Learning Management System: OLMS) หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาคอมพิวเตอร์ ศึกษา (http://sceince.yru.ac.th/computer) สังกัด คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร
ผู้สอนได้นำกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้แบบ โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) มาเป็นแนวทาง จัดการเรียนรู้ร่วมกับระบบอีเลิร์นนิ่งที่มีข้อดี ได้แก่ เรียนรู้ได้ตลอดเวลา ทุกหนทุกแห่ง มีเครื่องมือสนับสนุนออนไลน์หลากหลาย สอดคล้องกับทักษะของนักศึกษาที่เป็นคนในยุค Gen Z ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนปกติ ลดเวลาการพบกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้แก่ผู้เรียน ซึ่ง PjBL ซึ่งมีข้อดี (พิมพลักษณ์ โมรา. 2561, น. 47) หลายประการ ได้แก่