บทบาทหน้าที่สำคัญของครูยุคใหม่ คือ การออกแบบสร้างสถานการณ์การเรียนรู้ในชีวิตจริง การประกอบอาชีพจริงในอนาคตให้แก่ผู้เรียน และเพื่อฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ มากกว่าการท่องจำและความเข้าใจเท่านั้น รวมทั้งเพื่อฝึกทักษะการใช้ไอซีทีสำหรับสร้างทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ได้แก่ ความรู้ด้านสารสนเทศ ความรู้เกี่ยวกับสื่อ ความรู้ด้านเทคโนโลยี
ตัวอย่างการจัดสถานการณ์การเรียนรู้สำหรับนักศึกษา สาขาคอมพิวเตอร์ (ค.บ.5 ปี) http://comedu.yru.ac.th เปิดสอนในโครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (http://ict.yru.ac.th) ในรายวิชาการจัดการสารสนเทศทางการศึกษา ในกิจกรรมการเรียน บทที่ 2 ระบบสารสนเทศ ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นหลักการและข้อเท็จจริง (Fact) ผู้เรียนจึงสามารถศึกษาด้วยการอ่านด้วยตนเองได้เป็นส่วนใหญ่ เนื้อหาประกอบด้วย ความหมายของระบบสารสนเทศ องค์ประกอบระบบสารสนเทศ ประโยชน์ของสารสนเทศ ประเภทของระบบสารสนเทศและตัวอย่าง
การจัดการเรียนรู้ในรายวิชา เน้นการใช้ไอซีทีโดยใช้ ระบบอีเลิร์นนิ่ง (http://elearning.yru.ac.th) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นหลัก ร่วมกับซอฟต์แวร์ผ่านเทคโนโลยีคลาวน์คอมพิวเตอร์ เครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อฝึกทักษะการคิดวิเคราะและสังเคราะห์ และฝึกทักษะแห่งการเรียนในศตวรรษที่ 21 ด้วย มีขั้นตอนการสร้างสถานการณ์การเรียนรู้ ดังนี้
- สร้างบทเรียนใน ระบบอีเลิร์นนิ่ง ในลักษณะของ e-Book แบบง่ายๆ ด้วยเครื่องมือใน Moodle LMS แล้วเผยแพร่เป็นบทเรียนมาตรฐานเป็น SCORM Package
บทเรียน e-Book เป็น SCORM Package สำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้หลักในบทเรียน - กำหนด งานมอบหมาย(Assignment) มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเองผ่าน e-Book ที่ผู้สอนจัดเตรียมเนื้อหาไว้ให้ หรือผู้เรียนสามารถสืบค้นจากแหล่งความรู้อื่นๆ ในอินเทอร์เน็ตเพิ่มเติมได้ โดยกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การส่งงาน และเกณฑ์การให้คะแนน
งานมอบหมาย (Assignment) ผ่านระบบอีเลิร์นนิ่ง - การบ้านกำหนดให้นักศึกษาศึกษาเนื้อหา แล้ววิเคราะห์และสังเคราะห์วาดเป็น ผังความคิด (Mind Map) ด้วยซอฟต์แวร์บนคลาวน์ คือ Cacoo ซึ่งผู้เรียนต้องติดตั้งเพิ่มใน Google Chrome เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสร้างผังความคิด (ใช้ Google Account ในการลงทะเบียน) โดยผังความคิดจะต้องมีความสัมพันธ์กันในหัวข้อหลัก หัวข้อรอง หัวข้อย่อย ( https://chrome.google.com/webstore/detail/cacoo-diagramming-real-ti/pcflmbddgcmomcfngehfhlajjapabojh?utm_source=chrome-ntp-icon)
ติดตั้ง Cacoo ค้นหาจาก Chrome Web Store
https://chrome.google.com/webstore/search/cacoo?utm_source=chrome-ntp-icon - การบ้านกำหนดให้ผู้เรียน อธิบายสรุป "ผังความคิด" ที่ได้ ไม่เกิน 10 บรรทัด เพื่อฝึก ทักษะการอ่านและสรุปความ รวมทั้ง การเขียน (พิมพ์) โดยให้พิมพ์เป็นข้อสรุปไว้ต่อจาก "ผังความคิด" ของแต่ละคนในซอฟต์แวร์ Cacoo
ตัวอย่างผลงานของนักศึกษาที่ส่งงาน - การส่งการบ้าน ทำโดยให้ Copy ลิงก์ที่แชร์ไฟล์ "ผังความคิด" จากซอฟต์แวร์ Cacoo ส่งลิงก์ไว้ในระบบอีเลิร์นนิ่งในงานที่มอบหมาย เพื่อให้ผู้สอนสามารถตรวจงานได้สะดวก (ฝึกทักษะการแชร์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม)
ตัวอย่างการส่งลิงก์ที่แชร์ผลงานที่นำเสนอไว้ในซอฟต์แวร์ Cacoo - การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มเรียน กำหนดให้ผู้เรียน Copy ลิงก์ที่แชร์ไฟล์ "ผังความคิด" จากซอฟต์แวร์ Cacoo ไปวางหรือแชร์ไว้ใน ชุมชน Google+ ของรายวิชา ซึ่งผู้สอนสร้างไว้และให้ผู้เรียนเป็นสมาชิกในชุมชนนี้ (https://plus.google.com/u/0/communities/107503200208618731454)
การเผยแพร่ผลงานผ่าน Google+ "ชุมชนรายวิชาการจัดการการสารสนเทศด้านการศึกษา"
ผลการจัดการเรียนรู้ จากการสังเกตของผู้สอน พบว่าการปฏิบัติงานในชั่วโมงปฏิบัติ 2 ชั่วโมง (มอบหมายให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหามาจากบ้าน) ของผู้เรียน เพื่อสร้างชิ้นงานส่งตามงานมอบหมาย พบว่า ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานได้และส่งงานได้ตามกำหนดทุกคน ผู้เรียนมีสมาธิจดจ่อและตั้งใจในการปฏิบัติงานส่งตามกำหนด ผู้เรียนมีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างปฏิบัติงาน โดยการปรึกษาหารือ การสอบถามกันในกลุ่มเรียนในขณะปฏิบัติงาน ห้องเรียนมีลักษณะเป็น ห้องเรียนที่มีชีวิตชีวาในการเรียนรู้ (Acitve Learning Classroom) ไม่เกิดความเบื่อหน่าย ผู้เรียนภูมิใจในผลงานที่สร้างได้ด้วยตนเอง
นอกจากนั้น ที่สำคัญ คือประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียน จากสถานการณ์การเรียนรู้ที่ผู้สอนจัดให้ จะเป็นแนวทางหรือตัวอย่างในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของ "ครูคอมพิวเตอร์" ในอนาคตของนักศึกษากลุ่มนี้ ซึ่งเรียนในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิ์ (ค.บ.5 ปี) สาขาคอมพิวเตอร์/คอมพิวเตอร์ศึกษา (Computer Education) โดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและเป้าหมายของหลักสูตร มุ่งหวังให้เป็น "ครูคอมพิวเตอร์ต้นแบบ" ที่เก่งทั้งศาสตร์ในสาขาวิชา และเก่งเทคนิคการสอนในยุคศตวรรษที่ 21 เน้นไอซีทีเป็นฐาน
อ้างอิงเพิ่มเติม:
- ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือ อย่างไร ? http://www.qlf.or.th/Home/Contents/417
- ทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่
21 http://www.vcharkarn.com/varticle/60454