วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

ห้องเรียนกลับทิศ ผนวกการเรียนการสอนแบบกลุ่ม ผ่านการเรียนรู้แบบผสมผสานแบบอีเลิร์นนิ่งและห้องเรียนปกติ


วิธีสอน (จัดการเรียนรู้) เปลี่ยน ผลลัพธ์เปลี่ยน ผู้สอนเปลี่ยนตัวเองก่อน จึงจะส่งผลถึงผู้เรียน

การทดลองจัดการเรียนรู้ในรายวิชา เว็บช่วยสอน (Web-based Instruction: WBI) ของหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์ศึกษา) หลักสูตร 5 ปี ของสาขาคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (โครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ได้ทดลองจัดการเรียนการสอนโดยเน้น Teach Less Learn More, Flipped Classroom, e-Learning, Group-based Learning โดยเน้นลักษณะการการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) เพื่อเสริมทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21 ในทุกๆ ด้านให้แก่ผู้เรียน ซึ่งเป็นวาระสำคัญการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
     ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้หนึ่ง ไดเแก่ กิจกรรมการเรียนการสอนโดย การมอบหมายงานกลุ่ม (Group Assignment)  สมาชิกกลุ่มละ 6 คน คละตามความสามารถของผู้เรียน) ไว้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง (http://elearning.yru.ac.th) ให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเนื้อหามาจากบ้าน ส่วนหนึ่งผู้สอนเตรียมเนื้อหาและทรัพยากรการเรียนเรียนไว้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง
รายละเอียดงานมอบหมายในระบบอีเลิร์นนิ่ง
   
รายละเอียดการบ้านที่มอบหมายให้ทำในห้องเรียน
สำหรับ กิจกรรมมอบหมายงานหรือการบ้าน (Assignment) ในระบบอีเลิร์นนิ่ง ผู้สอนอธิบายขอบเขตและขั้นตอนของการปฏิบัติงาน รวมทั้งเกณฑ์การประเมินผลไว้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง ส่งข่าวสารให้ผู้เรียนรับรู้รับทราบก่อนเข้าชั้นเรียนผ่านชุมชนการเรียนรู้ Google+ และอีเมล และให้แต่ละกลุ่มมาทำกิจกรรมในชั้นเรียน เน้นการใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือ โดยผู้สอนอธิบายและให้คำปรึกษาเพิ่มเติมในขณะทำกิจกรรม เมื่อทำกิจกรรมเสร็จ
    เมื่อผู้เรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมการบ้านเสร็จเรียบร้อย ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอหน้าชั้นเรียน กลุ่มละ 15 นาที โดยทุกคนในกลุ่มตั้งมีส่วนร่วม (ฝึกฝนทักษะการนำเสนอและการใช้ภาษาไทย) ผลงานสไลด์นำเสนอให้เผยแพร่ผ่านกลุ่ม https://plus.google.com/u/0/communities/113770790066290262562 และเขียนในเว็บบล็อกของสมาชิกในกลุ่มแต่ละคนตามความสนใจ
    ข้อสังเกตเบื้องต้นจากการจัดการเรียนรู้ตามสถานการณ์ข้างต้น (17 กันยายน 2558) สังเกตเห็นพฤติกรรมของผู้เรียนที่มีความกระตือรือร้นมาก มีรอยยิ้มและมีความสุขตลอดเวลาในขณะทำกิจกรรม เกิดความสัมพันธ์และความสามัคคีระหว่างสมาชิกในกลุ่มมากขึ้น จากการคละกลุ่มที่มีสมาชิกจากผู้เรียนทุกระดับความสามารถ ต่างจากการให้ผู้เรียนเลือกกลุ่มอิสระ ผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะนี้  จะได้นำมาเสนอในโอกาสต่อไป

[ติดตามดูผลงานของกลุ่มจากการทำกิจกรรมในชั้นเรียน...https://plus.google.com/u/0/communities/113770790066290262562



ไม่มีความคิดเห็น: