วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2558

แนวทางการใช้อีเลิร์นนิ่งและ Google App ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21

    การจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติส่วนภูมิภาค โดยคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร (มรย.) ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้จัดขึ้นทุกปี โดยในปี พ.ศ. 2558 การจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 18-20 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ร่วมกับการจัดงาน "มรย.วิชาการ 58 คลังปัญญาชายแดนใต้สู่สากล" ซึ่งจัดงานระหว่างวันที่ 17-21 สิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา 
             คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร จัดกิจกรรมขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเยาวชนให้สนใจศึกษาต่อทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องตลอดมากว่า 19 ปี ซึ่งมีกิจกรรมจัดนิทรรศการวิชาการของหลักสูตร กิจกรรมประกวดแข่งขันด้านวิชาการ โครงงาน กิจกรรมสาธิตและแสดง Science Show ซึ่งได้รับความสนใจจากโรงเรียนและประชาชนในพื้นที่ด้วยดีตลอดมา แต่มีกิจกรรมหนึ่งที่ขาดไม่ได้และมีมาอย่างต่อเนื่องกว่า 19 ปี คือ การจัดทำวารสารวิชาการเนื่องในวาระพิเศษ คือ "วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏยะลา" เพื่อเป็นเวทีเผยแพร่ผลงานวิชาการของอาจารย์ นักศึกษา และบุคลากร ซึ่งขณะนี้มหาวิทยาลัยฯ มีโครงการพัฒนาวารสารฉบับดังกล่าวให้เป็นวารสารวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เป็นไปเกณฑ์มาตรฐานของ TCI  โดยจะเริ่มเผยแพร่ฉบับแรกในกลางปี พ.ศ. 2559 จึงเชิญชวนนักวิจัย คณาจารย์ นักศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ส่งผลงานต้นฉบับร่วมตีพิมพ์ได้ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการ โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เทคโนโลยีสารสนเทศ  คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
          สำหรับในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติในภูมิภาคปีนี้  ผู้เขียนได้นำเสนอบทความวิชาการ (Article Review) ที่ได้จากประสบการณ์จริงในการจัดการเรียนรู้ยุคศตวรรษที่ 21 เรื่อง อีเลิร์นนิ่งและ Google App: แนวทางการจัดการเรียนรู้เสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้แก่ผู้เรียนด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี. เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้สนใจการจัดการเรียนรู้หรือการวิจัยเพื่อพัฒนาในยุคศตวรรษที่ 21 โดยใช้ไอซีทีเป็นฐาน หรืออ่านเพิ่มเติมที่ลิงก์ http://ict-bl.blogspot.com/p/blog-page_5985.html 

    วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

    ศูนย์อีเลิร์นนิ่งและนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยไอซีที มรย.จัดอบรมพัฒนาทักษะการสอนในศตวรรษที่ 21

    ดูภาพประกอบเพิ่มเติม...
    ในงาน มรย.วิชาการ 58 ระหว่างวันที่ 17-21 สิงหาคม 2558 (http://www.yru.ac.th/academic58) ในงานนี้ ศูนย์อีเลิร์นนิ่งและนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยไอซีที (http://elearning.yru.ac.th/center) จัดกิจกรรมอบรมสัมมนาปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยไอซีทีในศตวรรษที่ 21 โดยในวันแรก วันที่ 17 สิงหาคม 2558 ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข อาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เป็นวิทยากรให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การใช้ไอซีทีประยุกต์ใช้จัดการเรียนรู้ โดยเน้นการประยุกต์ใช้กับเทคนิคการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) ผู้เข้าอบรมได้แก่ คณาจารย์จาก มรย. ครูผู้สอนจากโรงเรียนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ และนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ. 5 ปี) สาขาคอมพิวเตอร์ สาขาคณิตศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป จำนวนกว่า 80 คน [เอกสารประกอบการบรรยาย...]
       สำหรับในวันที่ 18 สิงหาคม 2558 เป็นการแบ่งกลุ่มลงมือปฏิบัติโดยแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ  1) การใช้ Google App for Education จัดการเรียนรู้  2) Multimedia กับการพัฒนาทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน  [Download สไลด์ประกอบการบรรยาย]

    วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558

    ผู้สอนยุคใหม่ในระบบ YRU e-Learning : การพัฒนาผู้สอนส่งเสริมการสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21

    การจัดการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอน (ผู้จัดการเรียนรู้) จะต้องปฏิรูปตัวเอง ปฏิรูปวิธีการจัดการเรียนรู้ กล่าวได้ว่าต้องเรียนรู้และออกแบบสถานการณ์เพื่อจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 สำหรับบัณฑิตในยุคนี้ นอกเหนือจากการสอนเนื้อหาสาระในวิชา โดยเฉพาะทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะชีวิตและการทำงาน ทักษะด้านสื่อ สารสนเทศ และเทคโนโลยี ดังน้ัน ผู้สอนเองจะต้อง
    บูรณาการทักษะเหล่านี้ ในทุกๆ รายวิชา กล่าวคือ ต้องสอนทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้พร้อมก่อนออกไปทำงาน หรือสอนให้มีทักษะในการทำงานเป็นตั้งแต่อยู่ในมหาวิทยาลัย
       ระบบจัดการการเรียนรู้อีเลิร์นนิ่ง (YRU e-Learning) เป็นเครื่องมือที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาใช้เป็นเครื่องมือหลักในการจัดการเรียนรู้ จึงกำหนดและส่งเสริมให้คณาจารย์ได้มีความรู้และทักษะในการจัดการเรียนรู้  ซึ่งในปีงบประมาณ 2558 กำหนดค่าเป้าหมายให้อาจารย์ร้อยละ 50 ต้องมีรายวิชาสอนในระบบอีเลิร์นนิ่ง และกำหนดค่าเป้าหมายในระยะ 3 ปี ข้างหน้าผู้สอนต้องมีการจัดการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่งร้อยละ 80 และมีค่าเป้าหมายในการติดตามผลการขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง รวมทั้งการสอบวัดทักษะ ICT Skill (ICT Skill Exit-Exam) บัณฑิตก่อนสำเร็จการศึกษา ก่อนออกไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์บัณฑิต "เก่งไอที" ของบัณฑิตให้เด่นชัดยิ่งขึ้นต่อไป

    กิจกรรมอบรมปฏิบัติการอีเลิร์นนิ่งขั้นพื้นฐาน อาจารย์ใหม่  มรย. วันที่ 10-11 สิงหาคม 2558

    อ่านข้อมูลเพิ่มเติม: